ลิ้งค์เชื่อมต่อ

พันธมิตรกุมขมับ! เมื่อทรัมป์ลดบทบาทสหรัฐฯ ในฐานะ "ผู้นำโลกเสรี"


Hong Kong Chief Executive Carrie Lam, center, and other officials attend the flag raising ceremony for the celebration of China's National Day at the Golden Bauhinia Square, in Hong Kong.
Hong Kong Chief Executive Carrie Lam, center, and other officials attend the flag raising ceremony for the celebration of China's National Day at the Golden Bauhinia Square, in Hong Kong.

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวปฏิเสธแผนที่จะถอนสหรัฐฯ ออกจากองค์การการค้าโลก (WTO) แต่ในขณะเดียวกันก็ยืนยันว่า สหรัฐฯ ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมจาก WTO

คำกล่าวล่าสุดของผู้นำสหรัฐฯ มีขึ้นขณะที่กำลังเกิดความกังวลต่อบทบาทของสหรัฐฯ บนเวทีโลก หลังจากตั้งแต่ ปธน.ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่ง ดูเหมือนสหรัฐฯ มักเผชิญหน้ากับประเทศพันธมิตรและองค์กรระหว่างประเทศ มากกว่าการทำให้เกิดความร่วมมือ ซึ่งรวมถึงการมีความเห็นที่ขัดแย้งกับสหภาพยุโรป กลุ่ม G-7 องค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) และ WTO

โดย ปธน.ทรัมป์ มักเน้นย้ำอยู่เสมอว่า สหรัฐฯ ควรจะเจรจาการค้าและยุทธศาสตร์ต่างๆ เป็นรายประเทศ มากกว่าจะเข้าร่วมทำสนธิสัญญาแบบรวมกลุ่ม

FILE - People are pictured in the headquarters of the World Trade Organization (WTO) in Geneva, Switzerland, April 12, 2017.
FILE - People are pictured in the headquarters of the World Trade Organization (WTO) in Geneva, Switzerland, April 12, 2017.

อเล็กซานเดอร์ เวอร์ชโบว์ นักวิเคราะห์ที่ Atlantic Council และอดีตรองเลขาธิการ NATO กล่าวกับ VOA ว่า

"แทนที่จะทำหน้าที่ผู้นำเสรีเหมือนประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนก่อนๆ ดูเหมือนว่า ปธน.ทรัมป์ กลับพยายามประกาศสงครามกับประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการบ่อนทำลายบทบาทของกลุ่ม G-7 และ WTO การทำให้เกิดคำถามต่อการสนับสนุนของสหรัฐฯ ต่อองค์การนาโต้ในการต่อต้านรัสเซีย รวมทั้งการประกาศอย่างผิดๆ ว่าสหภาพยุโรปถูกสร้างขึ้นมาเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์จากสหรัฐฯ"

ในช่วงสองสัปดาห์นี้ ปธน.ทรัมป์ จะเดินทางไปร่วมประชุมประจำปีขององค์การนาโต้ที่ยุโรป และมีกำหนดจะเดินทางเยือนอังกฤษ เพื่อหารือนายกฯ อังกฤษ เธเรซ่า เมย์ ก่อนที่จะประชุมสุดยอดร่วมกับประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ในเดือนกรกฏาคมนี้ ที่ฟินแลนด์

นักวิเคราะห์เวอร์ชโบว์ ผู้เคยดำรงตำแหน่งทูตสหรัฐฯ ประจำรัสเซีย เชื่อว่า "ปธน.ปูติน คงไม่สามารถคาดหวังสิ่งที่ดีไปกว่านี้ เพราะการประชุมระหว่างปูตินกับทรัมป์ จะเป็นสร้างสัมพันธ์ใหม่ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจะสร้างผลเสียต่อพันธมิตรของสหรัฐฯ เอง"

FilE - German Chancellor Angela Merkel watches as President Donald Trump talks with IMF Managing Director Christine Lagarde during the Gender Equality Advisory Council breakfast during the G-7 summit, June 9, 2018, in Charlevoix, Canada.
FilE - German Chancellor Angela Merkel watches as President Donald Trump talks with IMF Managing Director Christine Lagarde during the Gender Equality Advisory Council breakfast during the G-7 summit, June 9, 2018, in Charlevoix, Canada.

ความสัมพันธ์ที่ง่อนแง่นกับชาติพันธมิตร

เมื่อวันศุกร์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาคร็อง ถูกผู้สื่อข่าวถามว่า "เป็นเรื่องจริงหรือไม่ที่ ปธน.ทรัมป์ แนะนำให้ฝรั่งเศสออกจากสหภาพยุโรป?"

ซึ่ง ปธน.ฝรั่งเศส ไม่ตอบ เพียงแต่บอกว่า อะไรก็ตามที่ตนสนทนากับ ปธน.ทรัมป์​ในห้องประชุมที่ทำเนียบขาว เมื่อเดือนเมษายน จะไม่ถูกนำออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชน

ต่อมาในการประชุมผู้นำประเทศกลุ่ม G-7 ที่แคนาดา เมื่อต้นเดือนนี้ ทรัมป์ได้เสนอให้กลุ่มประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของโลก 7 ประเทศ รับรัสเซียกลับเข้ากลุ่มอีกครั้ง หลังจากที่รัสเซียเคยถูกขับออกไปเมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งในหนึ่งในมาตรการลงโทษที่รัสเซียควบรวมแคว้นไครเมียเป็นของตัวเอง

ข้อเสนอของทรัมป์ถูกปฏิเสธจากประเทศพันธมิตรอื่นๆ และยิ่งเป็นการสร้างความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากความขัดแย้งเรื่องที่สหรัฐฯ เพิ่มภาษีนำเข้าสำหรับเหล็กกล้าและอลูมิเนียมจากหลายประเทศ รวมทั้งยุโรป

FILE - President Harry S. Truman signs a proclamation declaring into effect the 12-nation Atlantic Pact binding North America and Western Europe in a common defense alliance, Aug, 24, 1949. Witnessing the signing (L-R): Hoyar Miller of the United Kingdom; Ambassador Henrik De Kauffmann of Denmark; Canadian Embassy Counselor W.D. Matthews; Secretary of Defense Louis Johnson; Ambassador Wilhelm Munthe De Morgenstierne of Norway; Ambassador Henri Bonnet of France; Baron Silvercruys, Ambassador of Belgium, Ambassador Pedro Pereira of Portugal; Secretary of State Dean Acheson; Netherlands Minister Jonkheer O. Reuchlin, and Italian Embassy Counselor Mario Lucioli.
FILE - President Harry S. Truman signs a proclamation declaring into effect the 12-nation Atlantic Pact binding North America and Western Europe in a common defense alliance, Aug, 24, 1949. Witnessing the signing (L-R): Hoyar Miller of the United Kingdom; Ambassador Henrik De Kauffmann of Denmark; Canadian Embassy Counselor W.D. Matthews; Secretary of Defense Louis Johnson; Ambassador Wilhelm Munthe De Morgenstierne of Norway; Ambassador Henri Bonnet of France; Baron Silvercruys, Ambassador of Belgium, Ambassador Pedro Pereira of Portugal; Secretary of State Dean Acheson; Netherlands Minister Jonkheer O. Reuchlin, and Italian Embassy Counselor Mario Lucioli.

ท่าทีสหรัฐฯ ต่อองค์การนาโต้ กำลังเปลี่ยนไป

เมื่อเร็วๆ นี้ เว็บข่าว Axios รายงานว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้กล่าวกับผู้นำกลุ่ม G-7 คนอื่นๆ ว่า "องค์การนาโต้ แย่พอๆ กับข้อตกลงการค้าเสรีแถบอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA ซึ่งล้วนสร้างผลเสียมากมายต่อสหรัฐฯ"

และเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ทรัมป์ ยังย้ำด้วยว่า เยอรมนี สเปน และฝรั่งเศส ควรจ่ายเงินให้กับนาโต้มากกว่านี้ เพื่อให้ยุติธรรมกับสหรัฐฯ

ท่าทีล่าสุดยิ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงจุดยืนที่เปลี่ยนไปของสหรัฐฯ ที่มีต่อนาโต้ หลังจากที่ ปธน.ทรัมป์ เคยกล่าวกับหนังสือพิมพ์ The New York Times เมื่อปีที่แล้วว่า สหรัฐฯ จะยืนมือเข้าช่วยเหลือพันธมิตรในนาโต้ ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นทำตามพันธะผูกพันที่ควรจะเป็น ซึ่งหมายถึงจะต้องกันงบประมาณเพื่อการทหารเป็นสัดส่วน 2% ของมูลค่าผลผลิตมวลรวม หรือ GDP ของประเทศนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม บทที่ 5 ของสนธิสัญญาการจัดตั้งองค์การนาโต้เมื่อปี 1949 ระบุไว้ว่า การโจมตีสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่ง ถือเป็นการโจมตีองค์การนาโต้โดยรวม

ถึงกระนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า สิ่งที่ประธานาธิบดีทรัมป์กำลังทำอยู่นั้น ไม่ใช่การทำลายชาติพันธมิตร แต่เป็นความพยายามจัดระเบียบโลกเสรีเสียใหม่เท่านั้น

XS
SM
MD
LG