ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยอิสราเอลศึกษาซากมัมมี่เพื่อค้นหาต้นตอการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่


Hungarian Mummies
Hungarian Mummies

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tel Aviv กำลังค้นคว้าประวัติด้านการวิวัฒนาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่จากคลังตัวอย่างเนื้อเยื่อที่เก็บได้จากมัมมี่ในฮังการี่

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:34 0:00
Direct link

มะเร็งลำไส้ใหญ่เกี่ยวข้องกับความอ้วน การขาดการออกกำลังกายและอาหารแปรรูป นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งชนิดนี้

คุณ Rina Arbesfeld นักจุลชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Tel Aviv ศึกษามัมมี่ที่ค้นพบในโบสถ์ที่ฮังการี เพื่อค้นหาคำตอบแก่ปริศนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งชนิดนี้

เธอกล่าวว่าทีมวิจัยต้องการศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่มีปัจจัยอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางวิถีชีวิต อากาศที่เราหายใจ หรืออาหารที่เรารับประทาน หรือวิถีการใช้ชีวิตในปัจจุบัน

หรือว่าการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ว่านี้เกิดขึ้นหรือไม่ในอดีต?หรือเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิวัฒนาการตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว?

นักชีววิทยามองว่าการศึกษามัมมี่จากโบสถ์ในฮังการีเป็นโอกาสดีที่หายากมาก เพราะมัมมี่จากฮังการีต่างจากมัมมี่จากอียิปต์ซึ่งใช้สารพิเศษเพื่อช่วยให้ซากมัมมี่แห้งอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2 ถึง 3 เดือน

แต่มัมมี่ในฮังการี่ถูกปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาติ ของเหลวในร่างกายแห้งลงอย่างช้าๆตามธรรมชาติ ช่วยคงสภาพของเนื้อเยื่อที่ช่วยให้นักวิจัยนำไปศึกษาวิเคราะห์หาหลักฐานของโรคมะเร็งได้

คุณ Abesfeld และทีมนักวิจัยได้แยกตัวอย่างดีเอ็นเอจากมัมมี่ 22 ตัว และร่างแผนที่ยีนเพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมเพื่อมองหาการกลายพันธุ์ หลังจากพยายามหลายรอบ ทีมนักวิจัยค้นพบการกลายพันธุ์ชนิดหนึ่งในยีนที่เรียกว่า APC ที่รู้กันดีในปัจจุบันว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

คุณ Abesfeld ตั้งสมมุติฐานว่า หากบรรพบุรุษของคนเราที่มีการกลายพันธุ์ของยีนที่ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีชีวิตยืนกว่านั้น ก็เป็นไปได้ว่าพวกเขาก็จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เช่นเดียวกับคนในปัจจุบัน

คุณ Abesfeld นักวิจัยกล่าวว่าในการศึกษาขั้นต่อไป ทีมนักวิจัยจะทำการร่างแผนที่ยีนของตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ได้จากแหล่งอื่นๆ เพื่อทำการศึกษาติดตามผลที่ใหญ่ขึ้น เธอกล่าวว่าการเข้าใจประวัติของยีนจะช่วยให้สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและช่วยในการคาดเดาถึงอนาคตได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตมากกว่า 700,000 รายทั่วโลกทุกปี แต่เป็นมะเร็งที่มีโอกาสรักษาให้หายได้หากพบเเต่เนิ่นๆ

ผลการศึกษาของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tel Aviv ประเทศอิสราเอลนี้ ตีพิมพ์ในวารสาร Plos ONE เมื่อเร็วๆ นี้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG