เฮอริเคน Sandy ทิ้งความเสียหายอย่างหนักให้กับรัฐนิวยอร์คและนิวเจอร์ซี่ย์ โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดคำถามตามมาด้วยว่า ดินฟ้าอากาศที่ดูมีความเข้มข้นรุนแรงขึ้นมากนี้ สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก หรือเป็นผลของวัฏจักรธรรมชาติของโลก
Elwyn Grainger-Jones ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ ของ International Fund for Agricultural Development (IFAD) หรือกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร บอกว่าสำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว กฎทางฟิสิคส์ระบุไว้ชัดเจนว่า ถ้าบรรยากาศโลกร้อนขึ้น ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่า ในขณะที่น้ำทะเลร้อนขึ้น พายุจะมีความเข้มข้นรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย แม้จำนวนพายุจะไม่เพิ่มขึ้น และว่า สิ่งหนึ่งที่เฮอริเคน Sandy บ่งบอกก็คือแนวโน้มของลักษณะพายุในอนาคต
โมเดลที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลก ระบุว่าอุณหภูมิของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกจะสูงขึ้นระหว่างสองถึงหกองศาเซลเซียสในช่วงศตวรรษนี้ ซึ่งฟังดูแล้วไม่มากนัก แต่นักวิทยาศาสตร์ของ IFAD บอกว่าเป็นการเพิ่มอย่างมากทีเดียว
Elwyn Grainger-Jones ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ ของกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือ IFAD บอกว่า องค์กรของเขาทำงานกับชาวไร่ชาวนารายย่อย ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้นนี้เป็นอย่างมาก เพราะอาจไม่มีฝนตกตามฤดูกาล น้ำในแม่น้ำลดลง หรืออากาศร้อนขึ้นมากจนเมล็ดพืชที่หว่านลงไปไม่เป็นผล
ส่วนประเทศที่ร่ำรวยก็จะได้รับผลกระทบจากการที่ราคาอาหารสูงขึ้น พายุที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลทวีความรุนแรงมากขึ้น และบริเวณใกล้ฝั่งทะเลประสบปัญหาระดับน้ำทะเลสูงขึ้นง แต่อย่างน้อยประเทศเหล่านี้มีสมรรถนะและเงินทุนที่จะปรับเปลี่ยน หรือลงทุนในโครงสร้างสำหรับป้องกันตัวได้
ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศของ IFAD บอกต่อไปว่า นับตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงขณะนี้ อุณหภูมิของบรรยากาศห่อหุ้มโลกเพิ่มขึ้นไปแล้วหนึ่งองศาเซลเซียส และนักวิทยาศาสตร์บางรายบอกว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบบรรยากาศโลกในเวลานี้
เจ้าหน้าที่ของ IFAD ผู้นี้บอกว่า ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นกระทบกระเทือนชุมชนที่ทางองค์กรร่วมมือทำงานด้วย อย่างใน Senegal หรือดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำโขง เพราะคนยากจนเป็นจำนวนมากตั้งรกรากอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบติดทะเล
สำหรับคำถามที่ว่าความเข้มข้นรุนแรงของดินฟ้าอากาศที่เห็นกันเวลานี้ เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก หรือเป็นผลของวัฏจักรธรรมชาติของโลกนั้น Elwyn Grainger-jones บอกว่าคงจะโต้เถียงกันต่อไปอย่างไม่มีที่จบสิ้น แต่ที่สำคัญกว่าคืออัตราความเร็วและความเข้มข้นของการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เห็นว่า เกินกว่าความสามารถในปัจจุบันของมนุษย์ที่จะปรับตัวรับมือได้ จึงจะต้องเรียนรู้เพื่อปรับการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนไปให้ได้
เขาให้ความเห็นส่งท้ายว่า การจะแก้ปัญหานี้อย่างได้ผลจริงจัง ก็จะต้องมีการทำความตกลงระดับโลกในเรื่องบรรยากาศโลกกันให้ได้
Elwyn Grainger-Jones ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ ของ International Fund for Agricultural Development (IFAD) หรือกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร บอกว่าสำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว กฎทางฟิสิคส์ระบุไว้ชัดเจนว่า ถ้าบรรยากาศโลกร้อนขึ้น ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่า ในขณะที่น้ำทะเลร้อนขึ้น พายุจะมีความเข้มข้นรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย แม้จำนวนพายุจะไม่เพิ่มขึ้น และว่า สิ่งหนึ่งที่เฮอริเคน Sandy บ่งบอกก็คือแนวโน้มของลักษณะพายุในอนาคต
โมเดลที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลก ระบุว่าอุณหภูมิของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกจะสูงขึ้นระหว่างสองถึงหกองศาเซลเซียสในช่วงศตวรรษนี้ ซึ่งฟังดูแล้วไม่มากนัก แต่นักวิทยาศาสตร์ของ IFAD บอกว่าเป็นการเพิ่มอย่างมากทีเดียว
Elwyn Grainger-Jones ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ ของกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือ IFAD บอกว่า องค์กรของเขาทำงานกับชาวไร่ชาวนารายย่อย ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้นนี้เป็นอย่างมาก เพราะอาจไม่มีฝนตกตามฤดูกาล น้ำในแม่น้ำลดลง หรืออากาศร้อนขึ้นมากจนเมล็ดพืชที่หว่านลงไปไม่เป็นผล
ส่วนประเทศที่ร่ำรวยก็จะได้รับผลกระทบจากการที่ราคาอาหารสูงขึ้น พายุที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลทวีความรุนแรงมากขึ้น และบริเวณใกล้ฝั่งทะเลประสบปัญหาระดับน้ำทะเลสูงขึ้นง แต่อย่างน้อยประเทศเหล่านี้มีสมรรถนะและเงินทุนที่จะปรับเปลี่ยน หรือลงทุนในโครงสร้างสำหรับป้องกันตัวได้
ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศของ IFAD บอกต่อไปว่า นับตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงขณะนี้ อุณหภูมิของบรรยากาศห่อหุ้มโลกเพิ่มขึ้นไปแล้วหนึ่งองศาเซลเซียส และนักวิทยาศาสตร์บางรายบอกว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบบรรยากาศโลกในเวลานี้
เจ้าหน้าที่ของ IFAD ผู้นี้บอกว่า ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นกระทบกระเทือนชุมชนที่ทางองค์กรร่วมมือทำงานด้วย อย่างใน Senegal หรือดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำโขง เพราะคนยากจนเป็นจำนวนมากตั้งรกรากอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบติดทะเล
สำหรับคำถามที่ว่าความเข้มข้นรุนแรงของดินฟ้าอากาศที่เห็นกันเวลานี้ เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก หรือเป็นผลของวัฏจักรธรรมชาติของโลกนั้น Elwyn Grainger-jones บอกว่าคงจะโต้เถียงกันต่อไปอย่างไม่มีที่จบสิ้น แต่ที่สำคัญกว่าคืออัตราความเร็วและความเข้มข้นของการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เห็นว่า เกินกว่าความสามารถในปัจจุบันของมนุษย์ที่จะปรับตัวรับมือได้ จึงจะต้องเรียนรู้เพื่อปรับการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนไปให้ได้
เขาให้ความเห็นส่งท้ายว่า การจะแก้ปัญหานี้อย่างได้ผลจริงจัง ก็จะต้องมีการทำความตกลงระดับโลกในเรื่องบรรยากาศโลกกันให้ได้