วิลเลี่ยม แดนเดรีย ศึกษาว่าอุณหภูมิของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ในบทความที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Geology รองศาสตราจารย์แห่งศูนย์ Lamont-Doherty Earth Observatory ที่มหาวิทยาลัย Columbia University ได้ทำบันทึกประวัติระดับอุณหภููมิของโลกในแถบขั้วโลกเหนือย้อนไปนาน 1,800 ปี โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างตะกอนสั่งสมของซากพืชและซากสัตว์ที่ได้จากทะเลสาปในหมู่เกาะสวาลบาร์ดในประเทศนอร์เวย์
เขากล่าวว่าตลอดช่วง 1,800 ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศในบริเวณหมู่เกาะสวาลบาร์ดไม่เคยอุ่นขึ้นเลยจนกระทั่งเมื่อราว 20 ปีที่ผ่านมานี้ รองศาสตราจารย์แดนเดรียและทีมงานได้จำลองสภาพอากาศในประวัติศาสตร์ด้วยการศึกษาร่องรอยของสาหร่าย (algae) ที่พบในซากพืชและสัตว์ในก้อนตะกอนจากก้นทะเลสาปมานานช่วงเวลาหนึ่งพันปี ทีมนักวิทยาศาสตร์รู้ดีว่าสาหร่ายที่โตในน้ำที่อุณหภูมิเย็นกว่าจะผลิตไขมันชนิดไม่อิ่มตัวปริมาณมาก ส่วนในน้ำที่อุ่นขึ้น สาหร่ายจะผลิตไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณน้อย รองศาสตราจารย์แดนเดรียสามารถค้นหาระดับอุณหภููมิของโลกย้อนกลับไปนานหลายพันปีด้วยการวัดหาระดับไขมันไม่อิ่มตัวในซากสาหร่ายที่พบในตัวอย่างตะกอนจากก้นทะเลสาปในขั้วโลกเหนือแห่งนี้
เขากล่าวว่าสิ่งที่พบในตัวอย่างตะกอนเทียบได้กับตัวปรอทวัดอุณหภูมิ โดยสาหร่ายเป็นตัวสร้างขึ้นมาแล้วทิ้งร่องรอยเอาไว้ในตัวอย่างซากตะกอนที่เกิดจากการสั่งสมของซากพืชซากสัตว์ รองศาสตราจารย์แดนเดรียกล่าวว่าเมื่อเรารู้ชัดเจนถึงบันทึกระดับอุณหภููมิของโลกในอดีต เราจะสามารถคาดเดาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลกในอนาคตได้ถูกต้องมากขึ้น
มาถึงผลการศึกษาชิ้นที่สอง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change เป็นการศึกษาว่าปลาตอบสนองอย่างไรต่ออุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น คุณวิลเลี่ยม ฉาง หัวหน้าทีมวิจัยเรื่องนี้และทีมงานที่ภาควิชาการประมง มหาวิทยาลัย British Columbia University ใช้วิธีการจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านขนาดตัวปลาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ โดยศึกษาปลาถึงมากกว่าหกร้อยสายพันธุ์
คุณวิลเลี่ยม ฉาง กล่าวว่าทีมวิจัยพบว่าปลาทุกสายพันธุ์ที่ศึกษาและอยู่ในมหาสุมทรแปซิฟิก อินเดีย และแอตแลนติก จะลดขนาดตัวลงเฉลี่ย 14 ถึง 24 เปอร์เซ็นต์ภายในอีก 38 ปีข้างหน้า
ในขณะที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากแก็สเรือนกระจกจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน อาคารบ้านเรือน และควันเสียรถยนตร์ ที่ปล่อยออกไปในชั้นบรรยากาศและในทะเล คุณฉางหัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าในสภาวะที่น้ำทะเลอุ่นขึ้น ปริมาณอ็อกซิเจนในน้ำจะลดลง มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลา
เขากล่าวว่าพอถึงจุดหนึ่ง ปลาจะหยุดโตเพราะได้รับปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอแก่การเสริมสร้างการเจริญเติบโต นอกเหนือจากที่นำไปใช้คงความสามารถในการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย
การศึกษาชิ้นนี้เป็นการศึกษาชิ้นแรกที่พยากรณ์ว่าน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นทำให้ปลาตัวเล็กลงในอนาคตไม่กี่สิบปีข้างหน้า การศึกษานี้ยังชี้ด้วยว่าภาวะโลกร้อนจะยิ่งสร้างความเสียหายแก่ประชากรปลาในทะเล นอกเหนือจากที่ได้รับผลกระทบจากการประมงมากเกินพอดี มลพิษในทะเลและการสูญเสียแหล่งอาศัยของปลา
เขากล่าวว่าตลอดช่วง 1,800 ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศในบริเวณหมู่เกาะสวาลบาร์ดไม่เคยอุ่นขึ้นเลยจนกระทั่งเมื่อราว 20 ปีที่ผ่านมานี้ รองศาสตราจารย์แดนเดรียและทีมงานได้จำลองสภาพอากาศในประวัติศาสตร์ด้วยการศึกษาร่องรอยของสาหร่าย (algae) ที่พบในซากพืชและสัตว์ในก้อนตะกอนจากก้นทะเลสาปมานานช่วงเวลาหนึ่งพันปี ทีมนักวิทยาศาสตร์รู้ดีว่าสาหร่ายที่โตในน้ำที่อุณหภูมิเย็นกว่าจะผลิตไขมันชนิดไม่อิ่มตัวปริมาณมาก ส่วนในน้ำที่อุ่นขึ้น สาหร่ายจะผลิตไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณน้อย รองศาสตราจารย์แดนเดรียสามารถค้นหาระดับอุณหภููมิของโลกย้อนกลับไปนานหลายพันปีด้วยการวัดหาระดับไขมันไม่อิ่มตัวในซากสาหร่ายที่พบในตัวอย่างตะกอนจากก้นทะเลสาปในขั้วโลกเหนือแห่งนี้
เขากล่าวว่าสิ่งที่พบในตัวอย่างตะกอนเทียบได้กับตัวปรอทวัดอุณหภูมิ โดยสาหร่ายเป็นตัวสร้างขึ้นมาแล้วทิ้งร่องรอยเอาไว้ในตัวอย่างซากตะกอนที่เกิดจากการสั่งสมของซากพืชซากสัตว์ รองศาสตราจารย์แดนเดรียกล่าวว่าเมื่อเรารู้ชัดเจนถึงบันทึกระดับอุณหภููมิของโลกในอดีต เราจะสามารถคาดเดาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลกในอนาคตได้ถูกต้องมากขึ้น
มาถึงผลการศึกษาชิ้นที่สอง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change เป็นการศึกษาว่าปลาตอบสนองอย่างไรต่ออุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น คุณวิลเลี่ยม ฉาง หัวหน้าทีมวิจัยเรื่องนี้และทีมงานที่ภาควิชาการประมง มหาวิทยาลัย British Columbia University ใช้วิธีการจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านขนาดตัวปลาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ โดยศึกษาปลาถึงมากกว่าหกร้อยสายพันธุ์
คุณวิลเลี่ยม ฉาง กล่าวว่าทีมวิจัยพบว่าปลาทุกสายพันธุ์ที่ศึกษาและอยู่ในมหาสุมทรแปซิฟิก อินเดีย และแอตแลนติก จะลดขนาดตัวลงเฉลี่ย 14 ถึง 24 เปอร์เซ็นต์ภายในอีก 38 ปีข้างหน้า
ในขณะที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากแก็สเรือนกระจกจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน อาคารบ้านเรือน และควันเสียรถยนตร์ ที่ปล่อยออกไปในชั้นบรรยากาศและในทะเล คุณฉางหัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าในสภาวะที่น้ำทะเลอุ่นขึ้น ปริมาณอ็อกซิเจนในน้ำจะลดลง มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลา
เขากล่าวว่าพอถึงจุดหนึ่ง ปลาจะหยุดโตเพราะได้รับปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอแก่การเสริมสร้างการเจริญเติบโต นอกเหนือจากที่นำไปใช้คงความสามารถในการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย
การศึกษาชิ้นนี้เป็นการศึกษาชิ้นแรกที่พยากรณ์ว่าน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นทำให้ปลาตัวเล็กลงในอนาคตไม่กี่สิบปีข้างหน้า การศึกษานี้ยังชี้ด้วยว่าภาวะโลกร้อนจะยิ่งสร้างความเสียหายแก่ประชากรปลาในทะเล นอกเหนือจากที่ได้รับผลกระทบจากการประมงมากเกินพอดี มลพิษในทะเลและการสูญเสียแหล่งอาศัยของปลา