ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ยานเทียนเวิ่น-1 ของจีน เข้าสู่ "วงโคจรพักรอ" ของดาวอังคาร


FILE - The Tianwen-1 probe en route to Mars. China said on Feb. 24, 2021, that its Tianwen-1 spacecraft has entered a temporary parking orbit around Mars in anticipation of landing a rover on the red planet in the coming months.
FILE - The Tianwen-1 probe en route to Mars. China said on Feb. 24, 2021, that its Tianwen-1 spacecraft has entered a temporary parking orbit around Mars in anticipation of landing a rover on the red planet in the coming months.

เมื่อวันพุธ สื่อทางการของจีนรายงานว่า ยานเทียนเวิ่น-1 ของจีน เข้าสู่ “วงโคจรพักรอ” รอบดาวอังคารแล้ว โดยยานจะอยู่ที่วงโคจรนี้ราวสามเดือนก่อนจะส่งยานสำรวจลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคาร

องค์กรอวกาศแห่งชาติของจีน หรือ CNSA ระบุว่า ยานเทียนเวิ่น-1 ย้ายเข้าสู่วงโคจรดังกล่าวเมื่อช่วงเช้าของวันพุธ ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงปักกิ่ง

อุปกรณ์ของยานดังกล่าวประกอบไปด้วย ยานขนส่งอวกาศ ยานอวกาศสำหรับลงจอด และยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร โดยในขณะที่อยู่ในวงโคจรนั้น ยานเทียนเวิ่น-1 จะทำแผนที่พื้นผิวของดาวอังคารและเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ที่จะส่งยานสำหรับลงจอด

ตัน จือยุน รองหัวหน้าผู้ออกแบบยานเทียนเวิ่น-1 กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีว่า ยานลำนี้จะถ่ายภาพบริเวณที่น่าจะลงจอดได้ และวิเคราะห์ข้อมูลของภูมิประเทศ ความเป็นไปได้ของการเกิดพายุฝุ่น และปัจจัยอื่น ๆ เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เตรียมนำยานลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารได้อย่างปลอดภัยในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน

ยานเทียนเวิ่น-1 เริ่มโคจรรอบดาวอังคารเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ หลังเดินทางออกจากโลกได้ราวเจ็ดเดือน โดยก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ยานขนส่งอวกาศจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เดินทางถึงวงโคจรดาวอังคาร และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยานสำรวจเพอร์เซเวอแรนซ์ (Persevarance) ขององค์การนาซาของสหรัฐฯ ก็ลงจอดบนดาวอังคารเป็นผลสำเร็จ

ภารกิจสำรวจดาวอังคารทั้งสามโครงการเริ่มขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยใช้ประโยชน์จากช่วงที่ดาวอังคารโคจรมาอยู่ใกล้โลก ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้งในทุกสองปี

ทั้งนี้ โครงการยานเทียนเวิ่น-1 ของจีน เป็นโครงการอวกาศที่เกี่ยวข้องกับกองทัพครั้งใหญ่ที่สุดของจีน โดยโครงการนี้นำนักบินอวกาศขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2003 และเมื่อปีที่แล้ว ก็นำหินจากดวงจันทร์มายังพื้นโลกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 และเมื่อปีค.ศ. 2019 จีนยังเป็นประเทศแรกที่ส่งยานสำรวจลงจอดในพื้นที่ห่างไกลบนดวงจันทร์ที่ไม่มีการสำรวจมาก่อน

XS
SM
MD
LG