ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ฐานขุดเจาะน้ำมันขนาดยักษ์ของจีนในทะเลจีนใต้อาจทำให้เกิดการประจัญหน้าครั้งใหม่


FILE - Ships and an oil rig, center, which China calls Haiyang Shiyou 981, and Vietnam refers to as Hai Duong 981, is seen in the South China Sea, off the shore of Vietnam, May 14, 2014.
FILE - Ships and an oil rig, center, which China calls Haiyang Shiyou 981, and Vietnam refers to as Hai Duong 981, is seen in the South China Sea, off the shore of Vietnam, May 14, 2014.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:26 0:00

สื่อมวลชนของคณะกรรมการกลางด้านการเมืองและกิจการกฎหมายของจีนรายงานว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันขนาดใหญ่ซึ่งมีความสูงเท่าตึก 10 ชั้นรุ่น Haiyang Shiyou 982 กำลังพร้อมใช้งานในทะเลจีนใต้ เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันที่อยู่ลึกใต้พื้นทะเลลงไปถึง 9,000 เมตร

เมื่อห้าปีที่แล้ว เรือของจีนกับเวียดนามพุ่งเข้าชนกันหลังจากที่จีนอนุญาตให้บริษัทสำรวจน้ำมันแห่งหนึ่งติดตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมัน Haiyang Shiyou 981 ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้า ในเขตทะเลที่เป็นกรณีพิพาทอยู่กับเวียดนาม

และในครั้งนี้ นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคง อย่างเช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อลัน ชอง จากสถาบัน S. Rajaratnam School of International Studies ในสิงคโปร์ เชื่อว่าคงจะมีปฏิกิริยาโต้กลับแน่นอน เพราะทะเลจีนใต้นั้นไม่ใช่ท้องทะเลที่มีความสงบเยือกเย็นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

สื่อมวลชนของจีนรายงานเมื่อต้นปีที่แล้วว่า มีการส่งมอบแท่นขุดเจาะน้ำมันขนาดยักษ์รุ่นที่หกนี้ และสื่อมวลชนก็ได้รับเชิญให้ขึ้นไปสังเกตการณ์ด้วย โดยถึงแม้จะไม่มีการระบุตำแหน่งที่ตั้งอย่างแน่นอน แต่รายงานก็แจ้งว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันใต้ทะเลดังกล่าวอยู่ห่างจากเมืองซันยาทางใต้ของจีนไปราวหนึ่งชั่วโมงด้วยการเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์

สำนักงานข้อมูลด้านพลังงานของสหรัฐประมาณว่า ขณะนี้มีแหล่งน้ำมันดิบใต้ทะเลจีนใต้อยู่ราว 11,000 ล้านบาร์เรล รวมทั้งแหล่งก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 190 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรด้วย

และขณะที่ประเทศอื่นๆ ซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของพื้นที่ในทะเลจีนใต้ เช่น บรูไนมาเลเซีย ไต้หวัน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ใช้วิธีจ้างบริษัทสำรวจแหล่งน้ำมันให้เป็นผู้ดำเนินการนั้น แต่จีนได้สร้างและใช้แท่นขุดเจาะน้ำมันของตนเอง

สำหรับเวียดนาม บางครั้งรัฐบาลกรุงฮานอยใช้วิธีทำสัญญาร่วมงานกับบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัท Repsol ของสเปนและ ONGC Videsh ของอินเดีย เพื่อสำรวจหาแหล่งน้ำมันแต่จีนไม่พอใจที่ต่างชาติเข้าไปมีอิทธิพลในบริเวณดังกล่าว และได้พยายามกดดันเวียดนามให้ยุติการทำสัญญาร่วมทุนกับต่างชาติ

อาจารย์อลัน ชอง ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลจีนใต้ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่จีนสร้างและติดตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลจีนใต้นั้น นอกจากจะเป็นความพยายามเพื่อควบคุมพื้นที่ซึ่งเป็นกรณีพิพาทแล้ว เรื่องนี้อาจมองได้ว่าเป็นความพยายามของจีนเพื่อสร้างแนวต้านชั้นที่สองต่อบทบาทอิทธิพลของสหรัฐด้วย

เพราะกองทัพเรือสหรัฐมักส่งเรือรบแล่นผ่านน่านน้ำในทะเลจีนใต้ โดยอ้างเหตุผลเรื่องเสรีภาพของการเดินเรือ แต่จีนมักตำหนิว่าการเดินเรือของสหรัฐเป็นความพยายามก้าวก่ายแทรกแซงจากต่างชาติ

XS
SM
MD
LG