ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จีนหนุนฝึกทหารต่างชาติ แผ่อิทธิพลเเข่งอังกฤษ - ทาบรัศมี “วิทยาลัยเเซนด์เฮิร์สท์"


FILE - Britain's Queen Elizabeth smiles with Prince Harry during the Sovereign's Parade at the Royal Military Academy in Sandhurst, southern England April 12, 2006.
FILE - Britain's Queen Elizabeth smiles with Prince Harry during the Sovereign's Parade at the Royal Military Academy in Sandhurst, southern England April 12, 2006.
China Military British Sandhurst Academy
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:56 0:00

เป็นเวลาราว 70 ปีแล้วที่ “วิทยาลัยทหารเเซนด์เฮิร์สท์” ของอังกฤษที่กรุงลอนดอน สร้างชื่อเสียงจากการเป็นสถาบันอันดับต้นๆของโลก ที่ประเทศต่างๆ 120 แห่ง ส่งคนในกองทัพมาเล่าเรียน รวมเเล้วประมาณ 5 พันคน

เนื่องจากความมีเชื่อเสียงและเครือข่ายในวงการทหารที่ได้จากเเซนด์เฮิร์สท์ ผู้ที่จบไปจำนวนไม่น้อยกลายเป็นผู้นำกองทัพและผู้นำประเทศของตน

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าขณะนี้ จีนเพิ่มการขยายอำนาจผ่านทุนสนับสนุนการศึกษาทางหทารสำหรับประเทศต่างๆ เช่นกัน และนั่นรวมถึงหลายประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษในทวีปแอฟริกาด้วย

องค์การวิจัย Civitas ที่กรุงลอนดอนระบุในรายงานว่า ประเทศในเเอฟริกา เช่นกานา ยูกานดา และเเทนซาเนีย ก่อตั้งโรงเรียน “การทหารและการเมือง” ภายใต้การสนับสนุนของจีนไปแล้ว

นักวิเคราะห์ของ Civitas ราโดเมียร์ ไทลิค็อต และเฮนรี โรสซานโน กล่าวว่า พัฒนาการดังกล่าวสะท้อนการเเผ่ขยายอิทธิพลของจีนในเวทีโลกที่มุ่งเป้าไปที่ประเทศกำลังพัฒนาผ่านการศึกษาวิชาทหาร

รายงานฉบับดังกล่าวเสริมว่า กรณีดังกล่าวเป็นวิธีส่งเสริมรูปแบบการปกครอง ที่สอดเเทรกอุดมการณ์ของจีน เช่น มีการเเพร่ขยายความคิดที่ว่ากองทัพเป็นส่วนหนึ่งของพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศ ซึ่งนักวิเคราะห์ทั้งสองมองว่าขัดกับระบบการเมืองแบบหลายพรรคภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตย

Britain's Queen Elizabeth II, sitting second left, is joined by Commonwealth Secretary-General
Britain's Queen Elizabeth II, sitting second left, is joined by Commonwealth Secretary-General

Civitas เสนอว่าสถาบันการเรียนวิชาทหารของอังกฤษควรหาทางฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางทหารกับประเทศในเครือจักรภพและส่งเสริมโครงสร้างการปกครองเเบบประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้น

ส่วนใหญ่ ผู้เข้ารับการอบรมจากจีน ร่วมโครงการการเรียนการสอนของวิทยาลัยทหารจีนทั้งระดับผู้บังคับบัญชาและระดับปฏิบัติการ ณ สถาบัน 20 แห่งที่เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพจีน หรือ People's Liberation Army

ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จากกองทัพประเทศต่างๆ นับร้อยประเทศ ได้รับการอบรมจากจีน ไปแล้วหลายพันคน ตามข้อมูลของ Civitas

ในอดีต ผู้นำซิมบับเวที่ล่วงลับไป นายโรเบิร์ต มูกาเบ จบการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรของจีน International College of Defense Studies และเขาดำเนินเเนวทางการปกครองประเทศแบบลัทธิมาร์คซิสต์

รัฐบาลปักกิ่ง มีเเผนปฏิบัติการที่เรียกว่า China-Africa Action Plan สำหรับปี ค.ศ. 2018-2021 ที่จัดสรรสถานที่อบรมทหารแอฟริกันจำนวน 5,000 เพิ่มจาก 2,000 ในแผนงานฉบับก่อนหน้านั้น

และสำหรับวิทยาลัยทหารเเซนด์เฮิร์สท์ ของอังกฤษ รับเจ้าหน้าที่จากต่างประเทศเข้าศึกษาเพียง 1,500 คนต่อปี

นอกจากการรับการสนับสนุนด้านการศึกษาของวิทยาลัยทหารจากจีนแล้ว หลายประเทศยังเป็นผู้รับเงินกู้และการลงทุนในระบบพื้นฐานจากโครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ Belt and Road Initiative จากจีนด้วย ซึ่งโครงการดังกล่าวถูกวิจารณ์จากสหรัฐฯ และยุโรปว่ามีเหตุผลทางการเมืองของจีนอยู่เบื้องหลังเเละเป็นการมัดมือชกทางเศรษฐกิจ

โทเบียส เอลล์วูด แห่งรัฐสภาอังกฤษ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกิจการกลาโหมกล่าวว่า ไม่เเปลกใจที่ทราบว่าการขยายอิทธิพลของจีนถูกดำเนินการผ่านการอบรมทางทหารด้วย

เขากล่าวว่าสถาบันชั้นนำของอังกฤษอย่างเเซนด์เฮิร์สท์ กำลังถูกเเทนที่โดยสถาบันทหารของจีน

ส่วน ทอม ทูเจนด์เเฮท แห่งสภาผู้เเทนราษฎรอังกฤษ ผู้ดำรงตำเเหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศกล่าวหาจีนว่ามีส่วนทำให้ประเทศบาร์เบโดส ในเครือจักรภพอังกฤษ ถอดสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ออกจากตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของตน

ทั้งนี้บาร์เบโดสได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากจีน และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road Initiative

นักการเมืองผู้นี้กล่าวว่าจีนพยายามบั่นทอนสถานภาพของอังกฤษในความสัมพันธ์กับประเทศในเเถบทะเลเเคริเบียนหลายประเทศด้วย

ในขณะเดียวกัน สื่อโกลบอล ไทมส์ ของทางการจีน กล่าวว่าการอบรมทหารต่างชาติของจีนเป็นการช่วยปรับมุมมองที่ชาติต่างๆ มีต่อจีน จากที่ผ่านมามุมมองเหล่านั้นถูกโหมประโคมโดยสื่อตะวันตกมานาน

XS
SM
MD
LG