ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จีนเริ่มใช้ระบบศาลอัจฉริยะสำหรับคดีพิพาทออนไลน์


A virtual judge hears litigants in a case before a Chinese "internet court" in Hangzhou, China. (Courtesy: AFP/YouTube video)
A virtual judge hears litigants in a case before a Chinese "internet court" in Hangzhou, China. (Courtesy: AFP/YouTube video)
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:19 0:00

ในความพยายามเพื่อลดปริมาณงานสำหรับมนุษย์และเพิ่มประสิทธิภาพรวมทั้งความเร็วของกระบวนการในศาล จีนเริ่มนำระบบศาลออนไลน์หรือที่เรียกว่าศาลอัจฉริยะมาใช้ที่กรุงปักกิ่งและเมืองกวางโจวหลังจากที่ได้ทดลองใช้เมืองหางโจวเมื่อปี 2560 จากการที่เมืองหางโจวเป็นศูนย์กลางของบริษัทเทคโนโลยีของจีน

โดยในสมาร์ทคอร์ทหรือศาลอัจฉริยะที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้าช่วยนี้ ผู้ร้องทุกข์สามารถลงทะเบียนคำร้องของตนทางอินเทอร์เน็ตและเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนออนไลน์ ซึ่งศาลจะสื่อสารเรื่องราวและคำวินิจฉัยต่างๆ ให้กับคู่กรณีด้วยการส่งข้อมูลทางอุปกรณ์ดิจิทัล

นับตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงตุลาคมปีนี้ มีชาวจีนเข้าใช้บริการศาลออนไลน์รวมแล้วกว่า 3 ล้าน 1 แสนครั้งและมีชาวจีนกว่า 1 ล้านคนพร้อมทั้งนักกฎหมายอีกกว่า 7 หมื่น 3 พันคนที่ลงทะเบียนร่วมใช้บริการเช่นกัน

ในการสาธิตระบบดังกล่าวต่อสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ศาลออนไลน์ที่เมืองหางโจวแสดงกระบวนการไต่สวนซึ่งคู่กรณีสื่อสารกับผู้พิพากษาเสมือนจริงที่ทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยผู้พิพากษาเสมือนจริงได้ถามโจทก์ว่าจำเลยมีข้อคัดค้านใดในหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์ยื่นให้ศาลพิจารณาหรือไม่ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้ผู้พิพากษาเสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ก็ตามแต่ก็ยังมีผู้พิพากษาที่เป็นคนจริงคอยสังเกตกระบวนการและตรวจสอบคำวินิจฉัยที่สำคัญอยู่

ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบศาลออนไลน์หรือสมาร์ทคอร์ทของจีนก็คือระบบศาลดังกล่าวสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์โดยไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะเวลาราชการ และการยื่นคำร้องหรือการส่งเอกสารหลักฐานก็สามารถทำได้ออนไลน์โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงศาลด้วย

อย่างไรก็ตามตอนนี้ศาลออนไลน์ที่เมืองหางโจวรับพิจารณาเฉพาะคดีความเกี่ยวกับระบบดิจิทัลเท่านั้น เช่น ข้อพิพาทเรื่องการค้าทางระบบอินเทอร์เน็ต การละเมิดลิขสิทธิ์ หรือข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการจ่ายเงินออนไลน์ เป็นต้น และการนำระบบศาลออนไลน์มาใช้ที่เมืองจีนนี้ส่วนหนึ่งเป็นการตอบสนองต่อความเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและการจ่ายเงินแบบ e-payment ของจีน รวมทั้งจากการที่ netizen หรือชาวเน็ตในเมืองจีนมีจำนวนมากถึง 850 ล้านคนในขณะนี้

XS
SM
MD
LG