เด็กๆส่วนมากเรียนรู้ถึงค่าของเงินด้วยการใช้จ่ายเงินพิเศษที่ได้รับจากพ่อแม่ เงินพิเศษที่เด็กๆได้รับช่วยให้เด็กๆวางแผนการใช้จ่ายของตนและได้เรียนรู้ความผิดพลาดในการใช้จ่ายเงินตั้งแต่เยาว์วัย
จำนวนเงินที่พ่อแม่ให้แก่ลูกใช้ตามใจชอบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัว พ่อแม่ต้องพิจารณาด้วยว่าควรให้เงินเป็นประจำทุกรอบสัปดาห์หรือเดือนละครั้ง เด็กบางคนได้รับเงินพิเศษทุกสัปดาห์ บางคนได้รับเดือนละหน
พ่อแม่ควรระบุให้ชัดเจนว่าลูกสามารถใช้เงินซื้ออะไรได้บ้าง ตอนแรกๆ เด็กเล็กอาจจะรีบใช้เงินไปหมดภายในเวลารวดเร็ว เมื่อเงินหมดไปอย่างรวดเร็ว เด็กๆจะได้บทเรียนว่าควรใช้เงินตามงบประมาณที่มีอยู่ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพ่อแม่ต้องไม่ใจอ่อน ต้องไม่ยอมให้เงินลูกเพิ่มจนกว่าจะครบกำหนดให้เงินรอบต่อไป นี่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องคามจำเป็นในการตั้งงบประมาณว่าจะใช้เท่าไหร่และจะเก็บออมเท่าไหร่ เด็กที่อยู่ในวัยโตกว่าอาจจะมีความรับผิดชอบมากกว่าในการออมเงินให้ได้ตามเ้ป้าเพื่อซื้อเสื้อผ้าหรือข้าวของจำพวกอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์
นักเขียนหลายคนที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้แสดงความคิดเห็นว่าพ่อแม่ไม่ควรว่าจ้างให้ลูกทำงานบ้านเพราะงานบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตครอบครัว อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการว่าจ้างลูกให้ทำงานบ้านที่เป็นงานพิเศษนอกเหนือจากงานบ้านปกติทั่วไป เป็นความคิดที่ดี เพราะจะช่วยให้เด็กเข้าใจว่าอะไรคือความรับผิดชอบร่วมกันในครอบครัวและอะไรคือธุรกิจ
เงินพิเศษช่วยให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าสามารถใช้เงินทำอะไรได้บ้าง อาจจะนำไปซื้อของขวัญให้คนที่รักหรืออาจจะบริจาคแก่องค์การกุศล บางคนอาจจะเอาไว้ใช้จ่ายซื้อข้าวของที่ตนเองอยากได้ บางคนอาจจะเก็บออมเอาไว้ หรือบางคนอาจจะนำไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ
การเก็บออมช่วยให้เด็กๆเข้าใจถึงการตัดลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อเก็บหอมรอมริบให้ได้ตามเป้าที่ตั้งเอาไว้ การส่งเสริมให้เด็กเก็บออมส่วนหนึ่งของเงินพิเศษที่ได้รับจากพ่อแม่เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้การจัดการการเงินของตน
มีธนาคารจำนวนมากที่ให้บริการต่างที่ช่วยให้เด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นเรียนรู้ในเรื่องนี้ การเปิดบัญชีออมทรัพย์เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากประเภทออมทรัพย์ในปัจจุบันอาจจะต่ำ แต่ในระยะยาว ดอกเบี้ยที่ได้รับแต่ละปีจะกลายเป็นเงินต้นที่จะได้รับดอกเบี้ย เงินออมจะค่อยๆงอกเงยมากขึ้นที่ละน้อยอย่างช้าๆ
จำนวนเงินที่พ่อแม่ให้แก่ลูกใช้ตามใจชอบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัว พ่อแม่ต้องพิจารณาด้วยว่าควรให้เงินเป็นประจำทุกรอบสัปดาห์หรือเดือนละครั้ง เด็กบางคนได้รับเงินพิเศษทุกสัปดาห์ บางคนได้รับเดือนละหน
พ่อแม่ควรระบุให้ชัดเจนว่าลูกสามารถใช้เงินซื้ออะไรได้บ้าง ตอนแรกๆ เด็กเล็กอาจจะรีบใช้เงินไปหมดภายในเวลารวดเร็ว เมื่อเงินหมดไปอย่างรวดเร็ว เด็กๆจะได้บทเรียนว่าควรใช้เงินตามงบประมาณที่มีอยู่ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพ่อแม่ต้องไม่ใจอ่อน ต้องไม่ยอมให้เงินลูกเพิ่มจนกว่าจะครบกำหนดให้เงินรอบต่อไป นี่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องคามจำเป็นในการตั้งงบประมาณว่าจะใช้เท่าไหร่และจะเก็บออมเท่าไหร่ เด็กที่อยู่ในวัยโตกว่าอาจจะมีความรับผิดชอบมากกว่าในการออมเงินให้ได้ตามเ้ป้าเพื่อซื้อเสื้อผ้าหรือข้าวของจำพวกอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์
นักเขียนหลายคนที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้แสดงความคิดเห็นว่าพ่อแม่ไม่ควรว่าจ้างให้ลูกทำงานบ้านเพราะงานบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตครอบครัว อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการว่าจ้างลูกให้ทำงานบ้านที่เป็นงานพิเศษนอกเหนือจากงานบ้านปกติทั่วไป เป็นความคิดที่ดี เพราะจะช่วยให้เด็กเข้าใจว่าอะไรคือความรับผิดชอบร่วมกันในครอบครัวและอะไรคือธุรกิจ
เงินพิเศษช่วยให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าสามารถใช้เงินทำอะไรได้บ้าง อาจจะนำไปซื้อของขวัญให้คนที่รักหรืออาจจะบริจาคแก่องค์การกุศล บางคนอาจจะเอาไว้ใช้จ่ายซื้อข้าวของที่ตนเองอยากได้ บางคนอาจจะเก็บออมเอาไว้ หรือบางคนอาจจะนำไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ
การเก็บออมช่วยให้เด็กๆเข้าใจถึงการตัดลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อเก็บหอมรอมริบให้ได้ตามเป้าที่ตั้งเอาไว้ การส่งเสริมให้เด็กเก็บออมส่วนหนึ่งของเงินพิเศษที่ได้รับจากพ่อแม่เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้การจัดการการเงินของตน
มีธนาคารจำนวนมากที่ให้บริการต่างที่ช่วยให้เด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นเรียนรู้ในเรื่องนี้ การเปิดบัญชีออมทรัพย์เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากประเภทออมทรัพย์ในปัจจุบันอาจจะต่ำ แต่ในระยะยาว ดอกเบี้ยที่ได้รับแต่ละปีจะกลายเป็นเงินต้นที่จะได้รับดอกเบี้ย เงินออมจะค่อยๆงอกเงยมากขึ้นที่ละน้อยอย่างช้าๆ