เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านมนุษยธรรมของ U.N. เยือนพม่าเพื่อเจรจากับประธานาธิบดีเต็งเส่งเรื่องการให้สัญชาติแก่ชาวมุสลิมโรฮิงจะ
Valerie Amos หัวหน้าสูงสุดของ U.N. ด้านมนุษยธรรมเยือนแคว้นยะไข่และคะฉิ่น และคาดว่าน่าจะผลักดันให้พม่าวางเงื่อนเวลาเรื่องการให้สัญชาติคนกลุ่มน้อย
เรื่องสัญชาติของชาวมุสลิมโรฮิงจะ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะทางการพม่านิยมเรียกคนเหล่านี้ว่าชาวเบงกาลีซึ่งแฝงนัยยะว่าพวกเขาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังคลาเทศ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว คนเหล่านี้อยู่ในพม่าหลายชั่วอายุคนแล้ว
ขณะเดียวกัน Steward Davies โฆษกของหน่วยงาน U.N. ด้านมนุษยธรรม กล่าวว่าค่ายผู้พักพิงของชาวโรฮิงจะ ต้องการความช่วยเหลือเรื่องความกินอยู่และสุขอนามัย
ขณะเดียวกัน Phil Robertson จากหน่วยงาน Human Rights Watch กล่าวว่าการมาเยือนพม่าของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ U.N. เป็นเหมือนการรับรู้ถึงปัญหาที่มาจากนโยบายของรัฐบาลพม่าที่แยกชนกลุ่มน้อยออกจากคนกลุ่มหลักของสังคม
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Daniel Schearf /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท
Valerie Amos หัวหน้าสูงสุดของ U.N. ด้านมนุษยธรรมเยือนแคว้นยะไข่และคะฉิ่น และคาดว่าน่าจะผลักดันให้พม่าวางเงื่อนเวลาเรื่องการให้สัญชาติคนกลุ่มน้อย
เรื่องสัญชาติของชาวมุสลิมโรฮิงจะ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะทางการพม่านิยมเรียกคนเหล่านี้ว่าชาวเบงกาลีซึ่งแฝงนัยยะว่าพวกเขาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังคลาเทศ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว คนเหล่านี้อยู่ในพม่าหลายชั่วอายุคนแล้ว
ขณะเดียวกัน Steward Davies โฆษกของหน่วยงาน U.N. ด้านมนุษยธรรม กล่าวว่าค่ายผู้พักพิงของชาวโรฮิงจะ ต้องการความช่วยเหลือเรื่องความกินอยู่และสุขอนามัย
ขณะเดียวกัน Phil Robertson จากหน่วยงาน Human Rights Watch กล่าวว่าการมาเยือนพม่าของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ U.N. เป็นเหมือนการรับรู้ถึงปัญหาที่มาจากนโยบายของรัฐบาลพม่าที่แยกชนกลุ่มน้อยออกจากคนกลุ่มหลักของสังคม
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Daniel Schearf /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท