ก่อนที่สหรัฐจะดำเนินมาตรการลงโทษพม่าทางการค้า มากกว่าครึ่งหนึ่งของสิ่งทอที่ผลิตในพม่า ส่งออกไปยังสหรัฐ และในขณะนี้ แม้บรรดาผู้ผลิตเครื่องนุ่มห่มในพม่าจะกำลังมองการณ์กันว่า คำสั่งซื้อจากสหรัฐหลังการยกเลิกมาตรการลงโทษดังกล่าว จะกลับมาช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศฟื้นตัวขึ้นได้ แต่ก็มีหลายคนที่วิตกกังวลว่า มาตรฐานทางด้านแรงงานและความปลอดภัยในการผลิตจะทำให้การฟื้นตัวดังกล่าวชลอตัวลง
Aung Win รองนายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มของพม่าบอกว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของโรงงานสิ่งทอ 300 แห่งของพม่าต้องปิดตัวลง หลังจากที่สหรัฐดำเนินมาตรการลงโทษพม่าทางการค้า ซึ่งทำให้มีคนว่างงานนับหมื่นๆคน
ส่วนโรงงานที่ยังดำเนินการผลิตอยู่ต่อไปนั้น คำสั่งซื้อที่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่น มีปริมาณน้อย ในขณะที่กำหนดแบบหรือ style หลากหลาย เพราะฉะนั้นในตอนนี้ ทุกคนกำลังรอคอยคำสั่งซื้อจากสหรัฐ เพราะจะมีปริมาณสูงและโรงงานจะทำกำไรได้มากขึ้น
Park Choong Youl เจ้าของบริษัท World Apparel ในย่างกุ้งบอกว่า ถ้าสหรัฐยกเลิกมาตรการลงโทษพม่า จะมีการยกระดับธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม แต่ Aung Win รองนายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มของพม่าเตือนว่า การปรับระดับของโรงงานและการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐานตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสหรัฐอาจต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งปี และจะมีค่าใช้จ่ายสูงทีเดียว รวมทั้งการซื้อเครื่องปั่นไฟ เพราะไฟฟ้าในพม่าดับบ่อย และค่าซื้อวัตถุดิบจากจีน ซึ่งจะทำให้กำไรของผู้ผลิตรายเล็กลดลง
แต่ Tun Tun ผู้จัดการบริษัท Pricess Power Manufacturing ยืนยันว่า จะต้องปรับตัวกันให้ได้ เพราะทุกคนอยากให้บริษัทธุรกิจของสหรัฐไปลงทุน และอยากให้มีการถ่ายโอนความรู้ในการบริหารงานและเทคโนโลยีด้วย เขาเชื่อว่า ถ้ายกระดับปรับตัวกันได้ จะมีคำสั่งซื้อจากสหรัฐอย่างแน่นอน
ในอีกด้านหนึ่ง Machut Shishak เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจของสถานทูตสหรัฐในย่างกุ้ง เชื่อว่าบริษัทธุรกิจอเมริกันก็อยากจะกลับไปลงทุนในพม่าด้วย เพราะเป็นการกระจายแหล่งผลิตออกไปจากจีนและกัมพูชา ซึ่งดีกว่าการพึ่งพาอาศัยแหล่งผลิตน้อยแห่ง
และเมื่อมองต่อไปข้างหน้าอีกสักหน่อย บรรดาผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มในพม่าบอกว่า ปัญหาที่จะต้องประสบกันอย่างแน่นอนเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากสหรัฐ คือเรื่องค่าแรงงานที่จะเพิ่มสูงขึ้น และการแข่งขันกันหาแรงงานที่มีฝีมือ
Aung Win รองนายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มของพม่าบอกว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของโรงงานสิ่งทอ 300 แห่งของพม่าต้องปิดตัวลง หลังจากที่สหรัฐดำเนินมาตรการลงโทษพม่าทางการค้า ซึ่งทำให้มีคนว่างงานนับหมื่นๆคน
ส่วนโรงงานที่ยังดำเนินการผลิตอยู่ต่อไปนั้น คำสั่งซื้อที่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่น มีปริมาณน้อย ในขณะที่กำหนดแบบหรือ style หลากหลาย เพราะฉะนั้นในตอนนี้ ทุกคนกำลังรอคอยคำสั่งซื้อจากสหรัฐ เพราะจะมีปริมาณสูงและโรงงานจะทำกำไรได้มากขึ้น
Park Choong Youl เจ้าของบริษัท World Apparel ในย่างกุ้งบอกว่า ถ้าสหรัฐยกเลิกมาตรการลงโทษพม่า จะมีการยกระดับธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม แต่ Aung Win รองนายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มของพม่าเตือนว่า การปรับระดับของโรงงานและการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐานตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสหรัฐอาจต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งปี และจะมีค่าใช้จ่ายสูงทีเดียว รวมทั้งการซื้อเครื่องปั่นไฟ เพราะไฟฟ้าในพม่าดับบ่อย และค่าซื้อวัตถุดิบจากจีน ซึ่งจะทำให้กำไรของผู้ผลิตรายเล็กลดลง
แต่ Tun Tun ผู้จัดการบริษัท Pricess Power Manufacturing ยืนยันว่า จะต้องปรับตัวกันให้ได้ เพราะทุกคนอยากให้บริษัทธุรกิจของสหรัฐไปลงทุน และอยากให้มีการถ่ายโอนความรู้ในการบริหารงานและเทคโนโลยีด้วย เขาเชื่อว่า ถ้ายกระดับปรับตัวกันได้ จะมีคำสั่งซื้อจากสหรัฐอย่างแน่นอน
ในอีกด้านหนึ่ง Machut Shishak เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจของสถานทูตสหรัฐในย่างกุ้ง เชื่อว่าบริษัทธุรกิจอเมริกันก็อยากจะกลับไปลงทุนในพม่าด้วย เพราะเป็นการกระจายแหล่งผลิตออกไปจากจีนและกัมพูชา ซึ่งดีกว่าการพึ่งพาอาศัยแหล่งผลิตน้อยแห่ง
และเมื่อมองต่อไปข้างหน้าอีกสักหน่อย บรรดาผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มในพม่าบอกว่า ปัญหาที่จะต้องประสบกันอย่างแน่นอนเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากสหรัฐ คือเรื่องค่าแรงงานที่จะเพิ่มสูงขึ้น และการแข่งขันกันหาแรงงานที่มีฝีมือ