ชาวพม่านับแสนอพยพหนีการสู้รบและการปราบปรามของรัฐบาลมาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในภาคเหนือของประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว และแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่า แต่ชาวกะเหรี่ยงจากพม่ายังไม่แน่ใจว่า ปลอดภัยพอที่จะกลับบ้านได้หรือยัง
ที่พรมแดนไทย-พม่า ยังมีผู้ลี้ภัยชาวพม่า 120,000 คนพำนักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่ง รวมทั้งที่แม่สอด ซึ่งเป็นค่ายใหญ่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
ส่วนใหญ่ของผู้ลี้ภัยเป็นชาวกะเหรี่ยง ที่หลบหนีการสู้รบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่บ้านเกิดของตน ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลากว่าหกสิบปีแล้ว
Moe So Fah หนุ่มชาวกะเหรี่ยงวัย 19 ปี บอกว่าเมื่อก่อนได้รับการปันข้าวเพียงพอ เวลานี้ถูกลดปริมาณข้าวลง แต่จะออกไปหางานทำช่วยตนเองนอกค่ายไม่ได้ เพราะถ้าถูกตำรวจจับ จะถูกปรับเป็นเงินพันหรือสองพันบาท
สาเหตุมาจากการที่ประเทศและองค์กรนานาชาติที่บริจาคเงินช่วยเหลือ เช่น The Border Consortium ลดความช่วยเหลือ เพราะเห็นว่าพม่าเปิดประเทศแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบถึงปริมาณข้าวที่ปันส่วนให้กับผู้ลี้ภัยด้วย
Sally Thompson ผู้บริหารองค์กรการกุศลนี้ บอกว่า การลดเงินช่วยเหลือเกิดขึ้นในจังหวะที่ไม่ดีเลย
เจ้าหน้าที่ของ The Border Consortium ผู้นี้บอกว่าถ้ายังลดเงินช่วยเหลือต่อไปอีก อาจส่งผลเสียต่อโครงสร้างของค่าย ในเวลาที่อยากให้ผู้คนมารวมตัวกันเพื่อเตรียมตัวสำหรับอนาคต
อย่างไรก็ตาม การพำนักอาศัยอยู่ในค่ายยังให้ความรู้สึกว่ามีเสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัยแก่ผู้ลี้ภัยเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพการณ์ภายนอก Ma Yel Pel ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงในค่ายที่แม่สอดให้ความเห็นว่า
ถ้าต้องกลับไปพม่า ก็ควรจะมีการจัดสรรที่ดินให้ และรับประกันว่าจะไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีก
และในขณะที่ยังรอคอยการปฏิรูปทางการเมืองของพม่ากันอยู่นี้ อนาคตของชนเผ่าต่างๆในพม่าก็ยังคงไม่มีความแน่นอนอยู่ต่อไป ในขณะที่คนรุ่นใหม่กำลังเติบโตขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัยติดกับพรมแดนของประเทศบ้านเกิดของตนเอง
ที่พรมแดนไทย-พม่า ยังมีผู้ลี้ภัยชาวพม่า 120,000 คนพำนักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่ง รวมทั้งที่แม่สอด ซึ่งเป็นค่ายใหญ่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
ส่วนใหญ่ของผู้ลี้ภัยเป็นชาวกะเหรี่ยง ที่หลบหนีการสู้รบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่บ้านเกิดของตน ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลากว่าหกสิบปีแล้ว
Moe So Fah หนุ่มชาวกะเหรี่ยงวัย 19 ปี บอกว่าเมื่อก่อนได้รับการปันข้าวเพียงพอ เวลานี้ถูกลดปริมาณข้าวลง แต่จะออกไปหางานทำช่วยตนเองนอกค่ายไม่ได้ เพราะถ้าถูกตำรวจจับ จะถูกปรับเป็นเงินพันหรือสองพันบาท
สาเหตุมาจากการที่ประเทศและองค์กรนานาชาติที่บริจาคเงินช่วยเหลือ เช่น The Border Consortium ลดความช่วยเหลือ เพราะเห็นว่าพม่าเปิดประเทศแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบถึงปริมาณข้าวที่ปันส่วนให้กับผู้ลี้ภัยด้วย
Sally Thompson ผู้บริหารองค์กรการกุศลนี้ บอกว่า การลดเงินช่วยเหลือเกิดขึ้นในจังหวะที่ไม่ดีเลย
เจ้าหน้าที่ของ The Border Consortium ผู้นี้บอกว่าถ้ายังลดเงินช่วยเหลือต่อไปอีก อาจส่งผลเสียต่อโครงสร้างของค่าย ในเวลาที่อยากให้ผู้คนมารวมตัวกันเพื่อเตรียมตัวสำหรับอนาคต
อย่างไรก็ตาม การพำนักอาศัยอยู่ในค่ายยังให้ความรู้สึกว่ามีเสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัยแก่ผู้ลี้ภัยเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพการณ์ภายนอก Ma Yel Pel ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงในค่ายที่แม่สอดให้ความเห็นว่า
ถ้าต้องกลับไปพม่า ก็ควรจะมีการจัดสรรที่ดินให้ และรับประกันว่าจะไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีก
และในขณะที่ยังรอคอยการปฏิรูปทางการเมืองของพม่ากันอยู่นี้ อนาคตของชนเผ่าต่างๆในพม่าก็ยังคงไม่มีความแน่นอนอยู่ต่อไป ในขณะที่คนรุ่นใหม่กำลังเติบโตขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัยติดกับพรมแดนของประเทศบ้านเกิดของตนเอง