เป็นไปได้ว่าในอนาคต นักวิทยาศาสตร์จะสามารถบำบัดอาการติดสารเสพติดในคนได้ด้วยการกระตุ้นสมองส่วนหน้าให้กลับไปทำงานได้เป็นปกติ
เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ให้หนูทดลองกลุ่มหนึ่งกินโคเคนจนหนูเกิดอาการติดโคเคน แต่ในอีกสี่วันต่อมา ทุกครั้งที่หนูทดลองพยายามกดคันบังคับเพราะกินโคเคนในปริมาณมากขึ้น จะถูกกระเเสไฟฟ้าอ่อนๆ ช็อตที่เท้า
คุณแอนโธเนลโล บอนชี่ ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน US National Institute on Drug Abuse และนักวิจัยในทีมงานที่ทำการศึกษาทดลองนี้ กล่าวว่าหลังจากถูกกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ช็อตหลายครั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ของหนูทดลองทั้งหมดหยุดพฤติกรรมเสาะหายาโคเคน แต่ยังมีที่เหลืออีก 30 เปอร์เซ็นต์ที่ยังแสดงอาการอยากเสพยาโคเคนถึง แม้จะถูกกระเเสไฟฟ้าอ่อนๆ ช็อตที่เท้าก็ตาม
ทีมนักวิจัยทำการเปรียบเทียบลักษณะการส่งกระเเสไฟฟ้าของระบบเซลล์ประสาทในหนูทดลองทั้งสองกลุ่มด้วยการตรวจดูเซลล์จากสมองในส่วนหน้าที่เรียกว่า prefrontal cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ความคิด การตัดสินใจความยับยั้งชั่งใจและพฤติกรรม
ทีมนักวิจัยพบว่าสมองส่วนหน้าของหนูที่ติดยาโคเคน มีการส่งกระแสประสาทในระดับต่ำกว่าปกติแสดงว่าระบบควบคุมตัวเองบกพร่อง ไม่สามารถยับยั้งความอยากเสพโคเคนได้ เมื่อพบความบกพร่องนี้ ทีมวิจัยจึงวางแผนกระตุ้นความสามารถในการควบคุมตัวเองของหนูทดลอง ทีมงานเริ่มต้นด้วยการฉีดเชื้อไวรัสที่มีโปรตีนไวต่อแสงและที่ไม่เป็นอันตรายเข้าไปในสมองส่วนหน้าของหนูทดลอง
หลายสัปดาห์หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยได้ใช้อุปกรณ์ไฟเบอร์ออปติกขนาดจิ๋วสอดเข้าไปในสมองส่วนหน้าของหนูทดลองและทำการปล่อยแสงเลเซอร์เข้าไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนนี้ คุณบอนชี่กล่าวว่าผลการทดลองที่ได้น่าทึ่งมาก
เขากล่าวกับผู้ืสื่อข่าววีโอเอว่าเมื่อทำการกระตุ้นให้สมองส่วนหน้าทำงานตามปกติ ปรากฏว่าหนูที่ติดโคเคนหายจากอาการอยากเสพยา
คุณบอนชี่กล่าวว่าทีมนักวิจัยยังได้ทดลองใช้เทคนิคเดียวกันนี้ในทางกลับกันโดยนำไปปรับให้หนูทดลองที่ไม่อยากเสพยาหลังจากถูกกระเเสไฟฟ้าช็อตที่เท้า ให้กลายเป็นหนูที่ติดโคเคนและอยากเสพยาโดยลดการส่งกระเเสประสาทในสมองส่วนหน้าของหนูลง
คุณบอนชี่กล่าวว่าขณะนี้ทีมวิจัยกำลังออกแบบการทดลองบำบัดอาการเสพติดยาในคนโดยกำลังออกแบบอุปกรณ์การแพทย์ภายนอกร่างกายที่จะช่วยกระตุ้นให้สมองส่วนหน้าทำงานเป็นปกติเพื่อลดอาการอยากเสพยาลง
เขากล่าวว่าทีมงานมุ่งหวังที่จะทดลองบำบัดอาการเสพติดยาในคนด้วยการกระตุ้นให้สมองส่วนนี้ทำงานอย่างเป็นปกติ ไปช่วยลดความอยากเสพยาโคเคนลง
ผลการศึกษาเรื่องการกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้าเพื่อบำบัดอาการติดยาโคเคนโดยคุณแอนโธเนลโล บอนชี่ และทีมงานที่มหาวิทยาลัย University of California San Francisco ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อเร็วๆ นี้
เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ให้หนูทดลองกลุ่มหนึ่งกินโคเคนจนหนูเกิดอาการติดโคเคน แต่ในอีกสี่วันต่อมา ทุกครั้งที่หนูทดลองพยายามกดคันบังคับเพราะกินโคเคนในปริมาณมากขึ้น จะถูกกระเเสไฟฟ้าอ่อนๆ ช็อตที่เท้า
คุณแอนโธเนลโล บอนชี่ ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน US National Institute on Drug Abuse และนักวิจัยในทีมงานที่ทำการศึกษาทดลองนี้ กล่าวว่าหลังจากถูกกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ช็อตหลายครั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ของหนูทดลองทั้งหมดหยุดพฤติกรรมเสาะหายาโคเคน แต่ยังมีที่เหลืออีก 30 เปอร์เซ็นต์ที่ยังแสดงอาการอยากเสพยาโคเคนถึง แม้จะถูกกระเเสไฟฟ้าอ่อนๆ ช็อตที่เท้าก็ตาม
ทีมนักวิจัยทำการเปรียบเทียบลักษณะการส่งกระเเสไฟฟ้าของระบบเซลล์ประสาทในหนูทดลองทั้งสองกลุ่มด้วยการตรวจดูเซลล์จากสมองในส่วนหน้าที่เรียกว่า prefrontal cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ความคิด การตัดสินใจความยับยั้งชั่งใจและพฤติกรรม
ทีมนักวิจัยพบว่าสมองส่วนหน้าของหนูที่ติดยาโคเคน มีการส่งกระแสประสาทในระดับต่ำกว่าปกติแสดงว่าระบบควบคุมตัวเองบกพร่อง ไม่สามารถยับยั้งความอยากเสพโคเคนได้ เมื่อพบความบกพร่องนี้ ทีมวิจัยจึงวางแผนกระตุ้นความสามารถในการควบคุมตัวเองของหนูทดลอง ทีมงานเริ่มต้นด้วยการฉีดเชื้อไวรัสที่มีโปรตีนไวต่อแสงและที่ไม่เป็นอันตรายเข้าไปในสมองส่วนหน้าของหนูทดลอง
หลายสัปดาห์หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยได้ใช้อุปกรณ์ไฟเบอร์ออปติกขนาดจิ๋วสอดเข้าไปในสมองส่วนหน้าของหนูทดลองและทำการปล่อยแสงเลเซอร์เข้าไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนนี้ คุณบอนชี่กล่าวว่าผลการทดลองที่ได้น่าทึ่งมาก
เขากล่าวกับผู้ืสื่อข่าววีโอเอว่าเมื่อทำการกระตุ้นให้สมองส่วนหน้าทำงานตามปกติ ปรากฏว่าหนูที่ติดโคเคนหายจากอาการอยากเสพยา
คุณบอนชี่กล่าวว่าทีมนักวิจัยยังได้ทดลองใช้เทคนิคเดียวกันนี้ในทางกลับกันโดยนำไปปรับให้หนูทดลองที่ไม่อยากเสพยาหลังจากถูกกระเเสไฟฟ้าช็อตที่เท้า ให้กลายเป็นหนูที่ติดโคเคนและอยากเสพยาโดยลดการส่งกระเเสประสาทในสมองส่วนหน้าของหนูลง
คุณบอนชี่กล่าวว่าขณะนี้ทีมวิจัยกำลังออกแบบการทดลองบำบัดอาการเสพติดยาในคนโดยกำลังออกแบบอุปกรณ์การแพทย์ภายนอกร่างกายที่จะช่วยกระตุ้นให้สมองส่วนหน้าทำงานเป็นปกติเพื่อลดอาการอยากเสพยาลง
เขากล่าวว่าทีมงานมุ่งหวังที่จะทดลองบำบัดอาการเสพติดยาในคนด้วยการกระตุ้นให้สมองส่วนนี้ทำงานอย่างเป็นปกติ ไปช่วยลดความอยากเสพยาโคเคนลง
ผลการศึกษาเรื่องการกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้าเพื่อบำบัดอาการติดยาโคเคนโดยคุณแอนโธเนลโล บอนชี่ และทีมงานที่มหาวิทยาลัย University of California San Francisco ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อเร็วๆ นี้