ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่สหรัฐคิดว่า พวกตนพัฒนาวิธีตรวจว่าผู้ใดเป็นโรคออทิซึม (Autism)ได้แล้ว


Được cứu khỏi bị tuyệt chủng, cá sấu Mỹ hiện đang phát triển nhanh trong môi trường quen thuộc: các đầm lầy và đất ngập nước miền đông nam nước Mỹ. (Ảnh của Mark Glass)
Được cứu khỏi bị tuyệt chủng, cá sấu Mỹ hiện đang phát triển nhanh trong môi trường quen thuộc: các đầm lầy và đất ngập nước miền đông nam nước Mỹ. (Ảnh của Mark Glass)

นักวิทยาศาสตร์รู้สึกพิศวงงงงวยมานานแล้วเกี่ยวกับเรื่องที่ว่ายังไม่มีวิธีตรวจทางชีววิทยาที่บ่งชี้ว่าผู้ใดเป็นโรคออทิซึมได้อย่างแม่นยำโดยปราศจากข้อสงสัย ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์อเมริกันคิดว่า ตนพัฒนาวิธีตรวจโรคนั้นได้แล้วโดยการใช้วิธีตรวจสมอง MRI เป็นเครื่องมือ

ขณะนี้ แพทย์วินิจฉัยเกี่ยวกับคนซึ่งโดยปรกติแล้วมักเป็นเด็กๆว่าเป็นโรคออทิซึม (Autism)หรือไม่โดยใช้วิธีการสังเกตความประพฤติและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นหลัก นักวิจัยพยายามหาวิธีตรวจทางชีววิทยาที่ดีกว่านั้นมานานแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

นักวิจัย นิโคลาส แลง (Nicholas Lange) และคณะนักวิจัยที่คณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดตัดสินใจตรวจหาความผิดปรกติในวงจรซึ่งเชื่อมโยงโครงสร้างของสมองที่ทำหน้าที่ต่างๆนั้นเข้าด้วยกัน นักวิจัย นิโคลาส แลง กล่าวเปรียบเทียบให้ฟังอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างกับเรามีเส้นสปาเกตตีดิบอยู่ห่อหนึ่ง เรามองเห็นได้อย่าชัดเจนว่าเส้นสปาเกตตีนั้นเหยียดตรงดี แต่พอนำไปต้มแล้ว เส้นสปาเกตตีในชามอ่างจะพันกันอิรุงตุงนังเหมือนเส้นสปาเกตตีอย่างไงอย่างงั้นเลย และการเชื่อมโยงของสมองส่วนต่างๆก็สามารถยุ่งเหยิงหรือเป็นระเบียบเรียบร้อยดียิ่งก็ได้

จากการใช้วิธี Magnetic Resonance ImagingหรือMRIตรวจสมองนักวิจัยสามารถกำหนดได้ว่าการเชื่อมต่อของบริเวณในสมองสองบริเวณซึ่งควบคุมระบบการใช้ถ้อยคำภาษาและการปฎิบัติตนในสังคมนั้นเป็นระเบียบเรียบร้อยแค่ไหน?

ตามรายงานผลของการวิจัยที่ลงพิมพ์ทางวารสาร Journal “Autism Research“ นักวิจัยพบว่า พวกเขาสามารถกำหนดลงไปได้ว่าใครเป็นโรคออทิซึมนั้นได้อย่างแม่นยำถึงเก้าสิบสี่เปอร์เซ็นต์ นักวิจัย นิโคลาส แลง กล่าวด้วยว่า การศึกษาวิจัยที่ทำในเวลาต่อมายืนยันว่าข้อเท็จจริงที่ได้มานั้นแม่นยำยิ่งกว่าเดิมเสียอีก ทำให้วิธีตรวจดังกล่าวเป็นวิธีตรวจทางชีววิทยาที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาสำหรับโรคออทิซึม ถึงแม้วิธีตรวจดังกล่าวเป็นประโยชน์สำหรับนักวิจัยก็ตาม แต่นักวิจัย นิโคลาส แลง กล่าวว่า จะต้องหาหลักฐานมาสนับสนุนให้มากกว่านี้ก่อนที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับวินิจฉัยโรคออทิซึมได้ ในท้ายที่สุด เขากล่าวแนะว่า การยืนยันว่าผู้ใดเป็นโรคออทิซึมนั้นสามารถทำได้ก่อนอายุสามขวบ ในขณะนี้ การวินิจฉัยว่าใครเป็นโรคออทิซึมนั้นจะต้องทำตอนที่ผู้นั้นอายุตั้งแต่สามขวบเป็นอย่างน้อย

สำหรับผู้ที่สนใจนั้นจะเข้าไปอ่านรายงานโปรดเข้าไปที่ http://onlinelibrary.wiley.com/journal/10.1002/%281SSN%291939-3806/earlyview

XS
SM
MD
LG