ผลการวิจัยสุขภาพชิ้นล่าสุดชี้ว่าการชักนำให้เจ็บท้องคลอดด้วยฮอร์โมนออกซิโทซิน เพื่อให้ทารกคลอดเร็วขึ้นในกรณีที่มารดาคลอดลูกยาก อาจไปเพิ่มความเสี่ยงให้ทารกเกิดความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองประเภทออติสซึ่มได้
ราวหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของเด็กในสหรัฐมีความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองแบบอออติสซึ่ม ซึ่งมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการสื่อสารและการเข้าสังคของตัวเด็กเอง ผลการศึกษาเรื่องนี้บางชิ้นพบว่าความบกพร่องนี้เกี่ยวพันกับปัจจัยของการเกิด อาทิ อายุของมารดา และ เด็กอาจคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม สาเหตุของออติสซึ่มยังเป็นปริศนาอยู่
คุณไซมอน เกร็กกอรี่ นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Duke University และทีมงานต้องการค้นหาว่าออติสซึ่มเกี่ยวข้องกับการทำคลอดด้วยการชักนำใช้เจ็บท้องคลอดหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีใช้ฮอร์โมนเร่งการหดตัวของมดลูกเพื่อกระตุ้นให้ทารกคลอดเร็วขึ้น
ทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลของการทำคลอดทารกหกหมื่นรายในรัฐนอร์ทแคโรไลน่า แล้วนำไปเทียบกับข้อมูลของโรงเีรียนเกี่ยวกับเด็กแต่ละคนเพื่อดูว่าเด็กคนไหนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออติสซึ่ม
คุณเกร็กกอรี่ นักวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเนื่องจากมีการเกิดจำนวนมาก มีเด็กเป็น
โรคออติสซึ่มจำนวนมาก ทีมนักวิจัยจึงต้องการมองหาปััจจัยอื่นๆนอกเหนือจากปัจจัยหลักๆทั่วไปที่อาจเป็นปัจจัยให้เด็กเป็นออติสซึ่ม รวมทั้งวิธีการทำคลอดด้วยการชักนำให้เจ็บท้องคลอดไม่ว่าจะเป็นการใช้ฮอร์โมนเร่งคลอด
ทีมนักวิจัยพบว่าเด็กที่คลอดด้วยวิธีการเร่งคลอดเป็นออติสซึ่มมากกว่าเด็กที่คลอดปกติ แต่นักวิจัยไม่รู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คุณเกร็กกอรี่กล่าวว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เรียกว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่ให้เเก่หญิงท้องเพื่อทำให้มดลูกหดตัวเพื่อให้ทารกคลอดเร็วขึ้น นักวิจัยกล่าวว่าฮอร์โมนชนิดนี้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางสังคมที่พบในเด็กที่เป็นออติสซึ่ม
มีข้อมูลอย่างหนึ่งจากการศึกษานี้ที่น่าสนใจมาก นั่นก็คือความเสี่ยงเป็นออติสซึ่มจากการชักนำให้เจ็บท้องคลอดจะสูงขึ้นหากทารกเป็นเด็กชาย
คุณเกร็กกอรี่ นักวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมงานพบว่าทารกชายมีความเสี่ยงต่อการเป็นออติสซึ่มมากกว่าทารกหญิง หากทำคลอดด้วยวิธีชักนำให้มารดาเจ็บท้องคลอดด้วยการใช้ฮอร์โมนเร่งให้มดลูกบีบตัว เขาพบว่านี่เป็นหนึ่งในข้อมูลจากการวิจัยที่น่าสนใจมากเนื่องจากเป็นการเน้นข้อมูลเดิมที่มีอยู่เเล้วว่าเด็กชายมักเสี่ยงเป็นออติสซึ่มมากกว่าเด็กหญิง
แม้ผลการศึกษาจะชี้ถึงความเสี่ยงนี้ คุณเกร็กกอรี่ นักวิจัยกล่าวว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรปฏิเสธวิธีชักนำให้เจ็บท้องคลอด หากสูติแพทย์ผู้ทำคลอดเห็นสมควร
เขากล่าวว่าแพทย์ผู้ทำคลอดมักแนะนำวิธีทำคลอดเเบบใช้ฮอร์โมนเพื่อให้มดลูกหดตัว ก็ต่อเมื่อเห็นว่าชีวิตของมารดาหรือทารกกำลังตกอยู่ในอันตราย เขาย้ำว่าการรักษาชีวิตของมารดาและทารกสำคัญมากที่สุด สำคัญมากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มในเด็ก ที่อาจจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากการชักนำให้เจ็บท้องคลอดด้วยการใช้ฮอร์โมนออกซิโทซิน
ราวหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของเด็กในสหรัฐมีความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองแบบอออติสซึ่ม ซึ่งมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการสื่อสารและการเข้าสังคของตัวเด็กเอง ผลการศึกษาเรื่องนี้บางชิ้นพบว่าความบกพร่องนี้เกี่ยวพันกับปัจจัยของการเกิด อาทิ อายุของมารดา และ เด็กอาจคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม สาเหตุของออติสซึ่มยังเป็นปริศนาอยู่
คุณไซมอน เกร็กกอรี่ นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Duke University และทีมงานต้องการค้นหาว่าออติสซึ่มเกี่ยวข้องกับการทำคลอดด้วยการชักนำใช้เจ็บท้องคลอดหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีใช้ฮอร์โมนเร่งการหดตัวของมดลูกเพื่อกระตุ้นให้ทารกคลอดเร็วขึ้น
ทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลของการทำคลอดทารกหกหมื่นรายในรัฐนอร์ทแคโรไลน่า แล้วนำไปเทียบกับข้อมูลของโรงเีรียนเกี่ยวกับเด็กแต่ละคนเพื่อดูว่าเด็กคนไหนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออติสซึ่ม
คุณเกร็กกอรี่ นักวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเนื่องจากมีการเกิดจำนวนมาก มีเด็กเป็น
โรคออติสซึ่มจำนวนมาก ทีมนักวิจัยจึงต้องการมองหาปััจจัยอื่นๆนอกเหนือจากปัจจัยหลักๆทั่วไปที่อาจเป็นปัจจัยให้เด็กเป็นออติสซึ่ม รวมทั้งวิธีการทำคลอดด้วยการชักนำให้เจ็บท้องคลอดไม่ว่าจะเป็นการใช้ฮอร์โมนเร่งคลอด
ทีมนักวิจัยพบว่าเด็กที่คลอดด้วยวิธีการเร่งคลอดเป็นออติสซึ่มมากกว่าเด็กที่คลอดปกติ แต่นักวิจัยไม่รู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คุณเกร็กกอรี่กล่าวว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เรียกว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่ให้เเก่หญิงท้องเพื่อทำให้มดลูกหดตัวเพื่อให้ทารกคลอดเร็วขึ้น นักวิจัยกล่าวว่าฮอร์โมนชนิดนี้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางสังคมที่พบในเด็กที่เป็นออติสซึ่ม
มีข้อมูลอย่างหนึ่งจากการศึกษานี้ที่น่าสนใจมาก นั่นก็คือความเสี่ยงเป็นออติสซึ่มจากการชักนำให้เจ็บท้องคลอดจะสูงขึ้นหากทารกเป็นเด็กชาย
คุณเกร็กกอรี่ นักวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมงานพบว่าทารกชายมีความเสี่ยงต่อการเป็นออติสซึ่มมากกว่าทารกหญิง หากทำคลอดด้วยวิธีชักนำให้มารดาเจ็บท้องคลอดด้วยการใช้ฮอร์โมนเร่งให้มดลูกบีบตัว เขาพบว่านี่เป็นหนึ่งในข้อมูลจากการวิจัยที่น่าสนใจมากเนื่องจากเป็นการเน้นข้อมูลเดิมที่มีอยู่เเล้วว่าเด็กชายมักเสี่ยงเป็นออติสซึ่มมากกว่าเด็กหญิง
แม้ผลการศึกษาจะชี้ถึงความเสี่ยงนี้ คุณเกร็กกอรี่ นักวิจัยกล่าวว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรปฏิเสธวิธีชักนำให้เจ็บท้องคลอด หากสูติแพทย์ผู้ทำคลอดเห็นสมควร
เขากล่าวว่าแพทย์ผู้ทำคลอดมักแนะนำวิธีทำคลอดเเบบใช้ฮอร์โมนเพื่อให้มดลูกหดตัว ก็ต่อเมื่อเห็นว่าชีวิตของมารดาหรือทารกกำลังตกอยู่ในอันตราย เขาย้ำว่าการรักษาชีวิตของมารดาและทารกสำคัญมากที่สุด สำคัญมากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มในเด็ก ที่อาจจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากการชักนำให้เจ็บท้องคลอดด้วยการใช้ฮอร์โมนออกซิโทซิน