ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติช่วงโควิดระบาด


องค์กรสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้ประเทศในเอเชียเร่งช่วยเหลือในด้านความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานข้ามชาติที่กำลังตกอยู่ในสภาวะยากลำบากหลังการระบาดของโควิด-19 หลังมีรายงานว่านายจ้างในบางประเทศใช้วิธีกักขังและทอดทิ้งแรงงานข้ามชาติเหล่านี้เพื่อป้องกันการระบาดของโคโรนาไวรัส

Asian Migrant Workers Corinavirus
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:11 0:00



สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานสถานการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานข้ามชาติในหลายประเทศของเอเชียที่กำลังตกอยู่ในสภาวะยากลำบากอย่างมาก หลังการกลับมาระบาดใหญ่อีกครั้งของโรคโควิด-19\

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คนงานชาวเมียนมาร์กว่าสิบคนถูกนายจ้างนำมาทิ้งไว้ริมถนน ที่จังหวัดสมุทรปราการ หลังทางการไทยมีคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ เข้าและออกจากบางพื้นที่เนื่องจากการระบาดของ COVID-19

A medical worker performs a nose swab on a migrant boy at a seafood market, amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak, in Samut Sakhon province, in Thailand, December 19, 2020. REUTERS/Panumas Sa
A medical worker performs a nose swab on a migrant boy at a seafood market, amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak, in Samut Sakhon province, in Thailand, December 19, 2020. REUTERS/Panumas Sa

ขณะที่ในสิงคโปร์ แรงงานข้ามชาติจำนวนมาก ยังถูกจำกัดบริเวณให้อยู่แต่ภายในหอพักคนงาน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นจุดแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา แม้ในสถานการณ์ปัจจุบันสิงคโปร์ได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดลงบ้างแล้ว

ฟิล โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคเอเชีย องค์กรด้านสิทธิมนุษชน 'ฮิวแมนไรต์ วอตช์' กล่าวว่า เห็นได้ชัดเจนว่าทั้งรัฐบาลและนายจ้าง ต่างปฏิบัติต่อคนงานข้ามชาติแบบพลเมืองชั้นสอง เพราะแทนที่รัฐบาลจะเข้ามาจัดการกับการระบาดและตรวจหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน แต่กลับทำในลักษณะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิ์ และปฏิบัติต่อกลุ่มแรงงานเหล่านี้ในลักษณะที่แตกต่างจากพลเมืองของประเทศ

ก่อนหน้านี้ทางการ สิงคโปร์ พบรายงานผู้ป่วย COVID-19 ซึ่งส่วนใหญ่พักอยู่ในหอพักคนงานทางตอนใต้ของเกาะสิงคโปร์ ราว 320,000 คน โดยรัฐบาลสิงคโปร์รับปากว่าจะสร้างหอพักคนงานแห่งใหม่ที่จะยกระดับมาตรฐานให้มีความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น แต่จนถึงขณะนี้คนงานส่วนใหญ่ยังคงถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ภายในหอพัก ยกเว้นผู้ได้รับอนุญาตให้ออกนอกบริเวณชั่วคราว หรือ มีบางคนที่ได้รับอนุญาตออกข้างนอกได้เพียงเดือนละหนึ่งครั้ง ขณะที่ในต้นปี ค.ศ.2021 จะมีเงื่อนไขให้สวมอุปกรณ์ติดตามและต้องได้รับการตรวจเชื้อบ่อยครั้งขึ้น

Migrant workers look out of windows in a dormitory, amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak in Singapore May 15, 2020. REUTERS/Edgar Su
Migrant workers look out of windows in a dormitory, amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak in Singapore May 15, 2020. REUTERS/Edgar Su

เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดเสียงคัดค้านจากกลุ่มตัวแทนกลุ่มองค์กรผู้ใช้แรงงานในสิงคโปร์

อเล็กซ์ อู (Alex Au) รองประธาน องค์กรที่ดูแลด้านสิทธิ์ของแรงงานชั่วคราวในสิงคโปร์ (Singaporean non-profit Transient Workers Count Too) บอกว่า มาตรการของทางสิงคโปร์ไม่เหมาะสม และไม่เคารพต่อสิทธิของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ที่เข้มงวดและมีข้อห้ามต่างๆมากจนเกินไป

เขาอ้างด้วยว่า คนงานข้ามชาติมากกว่าครึ่งหนึ่งที่เคยติดเชื้อโคโรนาไวรัสจากตัวเลขของทางการ ต่างมีภูมิคุ้มกันเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้คนงานส่วนใหญ่ยังได้รับการตรวจหาเชื้อบ่อยกว่าชาวสิงคโปร์ทั่วไป ซึ่งสะท้อนแนวทางของรัฐบาลสิงคโปร์ที่ถือกรรมสิทธิ์และมองคนงานเหล่านี้ในลักษณะคนที่อยู่ใต้การปกครองที่ต้องดูแลในเชิงคุณค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น

อย่างไรก็ตามทางการสิงคโปร์ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ โดยยืนยันว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติต่างได้รับการดูแลอย่างดี และจะได้รับวัคซีนฟรีเหมือนกับพลเมืองชาวสิงคโปร์คนอื่นๆ

คุณตัน ซี เล็ง รองรัฐมนตรีแรงงานของสิงคโปร์ ยอมรับว่า มีโอกาสที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 อีกครั้งภายในหอพักคนงานด้าว และทางการให้ความสำคัญมาก แม้มาตรการที่ผ่านมาต่อแรงงานต่างด้าวอาจจะเข้มงวด แต่ก็เพื่อรับผิดชอบในความปลอดภัย และการดูแลความเป็นอยู่ รวมถึงสวัสดิภาพต่างๆของคนงานเหล่านี้

Migrant workers talk with the public health authorities for a COVID-19 investigation at a fresh market, amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak, in Bangkok, Thailand, December 22, 2020.
Migrant workers talk with the public health authorities for a COVID-19 investigation at a fresh market, amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak, in Bangkok, Thailand, December 22, 2020.

ขณะที่ทางการไทย ได้ระบุว่า จะอนุมัติให้มีการต่อใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวต่อไป ขณะที่แรงงานบางส่วนจะได้รับการตรวจหาเชื้อฟรี รวมทั้งเตรียมดำเนินคดีกับนายจ้างที่ทอดทิ้งแรงงานต่างด้าว

แต่ ฟิล โรเบิร์ตสัน จากฮิวแมนไรต์ วอตช์ ย้ำว่า ทางการควรให้ความสำคัญในด้านที่พักอาศัย และ ปฏิรูปกฎหมายการขอวีซ่าแรงงานที่สามารถปลดปล่อยลูกจ้างให้ไม่ต้องขึ้นอยู่กับนายจ้างเพื่อแก้ปัญหาการลอยแพลูกจ้างเหมือนที่ผ่านมา เพราะในสภาวะการที่เปราะบางของการระบาดใหญ่ ทางการจำเป็นต้องทบทวนวิธีการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติที่ต้องเท่าเทียมกับทุกคน ไม่ใช่ทำเพียงเพราะเลี่ยงไม่ได้

XS
SM
MD
LG