โครงการขยายพันธุ์หมีแพนด้าของรัฐบาลจีนภายในเขตสงวนที่กำหนดไว้นั้นกำลังประสบความสำเร็จด้วยดี หลังจากมีลูกหมีแพนด้าเกิดใหม่ในสวนสัตว์หลายแห่งทั่วโลกที่จีนส่งหมีแพนด้าไปให้เพื่อเป็นฑูตพิเศษทางวัฒนธรรม แต่ทางนักอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและนักนิเวศน์วิทยาหลายคนกลับเห็นว่า โครงการดังกล่าวกำลังล้มเหลว เนื่องจากไม่สามารถทำให้หมีแพนด้ากลับไปใช้ชีวิตอยู่ในป่าอย่างปกติได้
หมีแพนด้ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในมณฑลเสฉวน ชานสีและกานซู่ ทางใต้ของจีน ความพยายามขยายพันธุ์หมีแพนด้าของรัฐบาลจีนเริ่มขึ้นเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและเขตสงวนพันธุ์หมีแพนด้าขึ้นที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน โดยเริ่มจากหมีแพนด้ายักษ์ 6 ตัว โครงการที่ว่านี้ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งจนทำให้ปัจจุบันจีนมีแพนด้าอยู่ที่เขตดังกล่าวและกระจายอยู่ตามสวนสัตว์ต่างๆทั่วโลกมากกว่า 300 ตัว และคาดว่ามีหมีแพนด้าอยู่ในป่าราว 1,600 – 2,000 ตัว
ดร. Hou Rong นักวิจัยที่มูลนิธิหมีแพนด้าในเมืองเฉิงตู ชี้ว่าความสำเร็จของโครงการขยายพันธุ์หมีแพนด้านั้นเห็นได้จากจำนวนหมีแพนด้าที่เพิ่มขึ้น โดยขั้นต่อไปคือการปล่อยให้หมีแพนด้าที่เกิดในศูนย์ควบคุมพันธุ์สัตว์เหล่านั้นสามารถกลับไปอาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยปัญหาสำคัญคือ แพนด้าเหล่านั้นอาศัยอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมานานถึง 5 รุ่น แม่หมีแพนด้าจึงไม่รู้จักวิธีใช้ชีวิตอยู่ในป่าตามธรรมชาติ
โครงการปล่อยแพนด้ากลับสู่ป่าเคยถูกยกเลิกไปเมื่อ 7 ปีก่อน หลังจากที่หมีแพนด้าเพศผู้ตัวหนึ่งชื่อ Xiang Xiang ที่ถูกปล่อยกลับเข้าป่าไป แต่กลับถูกแพนด้ายักษ์ในป่าทำร้ายจนตาย อย่างไรก็ตาม ดร. George Schaller นักนิเวศน์วิทยาแห่งองค์กร Wildlife Conservation Society เชื่อว่า โครงการดังกล่าวควรจะต้องดำเนินต่อไปแม้จะเกิดกรณีอย่าง Xiang Xiang ขึ้นก็ตาม เพราะถึงอย่างไรบรรดาหมีแพนด้าในศูนย์ขยายพันธุ์ก็ควรกลับไปอยู่ในป่ามากกว่าในกรงขัง เพื่อให้ขยายเผ่าพันธุ์หมีแพนด้าในป่าธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น
หมีแพนด้ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในมณฑลเสฉวน ชานสีและกานซู่ ทางใต้ของจีน ความพยายามขยายพันธุ์หมีแพนด้าของรัฐบาลจีนเริ่มขึ้นเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและเขตสงวนพันธุ์หมีแพนด้าขึ้นที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน โดยเริ่มจากหมีแพนด้ายักษ์ 6 ตัว โครงการที่ว่านี้ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งจนทำให้ปัจจุบันจีนมีแพนด้าอยู่ที่เขตดังกล่าวและกระจายอยู่ตามสวนสัตว์ต่างๆทั่วโลกมากกว่า 300 ตัว และคาดว่ามีหมีแพนด้าอยู่ในป่าราว 1,600 – 2,000 ตัว
ดร. Hou Rong นักวิจัยที่มูลนิธิหมีแพนด้าในเมืองเฉิงตู ชี้ว่าความสำเร็จของโครงการขยายพันธุ์หมีแพนด้านั้นเห็นได้จากจำนวนหมีแพนด้าที่เพิ่มขึ้น โดยขั้นต่อไปคือการปล่อยให้หมีแพนด้าที่เกิดในศูนย์ควบคุมพันธุ์สัตว์เหล่านั้นสามารถกลับไปอาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยปัญหาสำคัญคือ แพนด้าเหล่านั้นอาศัยอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมานานถึง 5 รุ่น แม่หมีแพนด้าจึงไม่รู้จักวิธีใช้ชีวิตอยู่ในป่าตามธรรมชาติ
โครงการปล่อยแพนด้ากลับสู่ป่าเคยถูกยกเลิกไปเมื่อ 7 ปีก่อน หลังจากที่หมีแพนด้าเพศผู้ตัวหนึ่งชื่อ Xiang Xiang ที่ถูกปล่อยกลับเข้าป่าไป แต่กลับถูกแพนด้ายักษ์ในป่าทำร้ายจนตาย อย่างไรก็ตาม ดร. George Schaller นักนิเวศน์วิทยาแห่งองค์กร Wildlife Conservation Society เชื่อว่า โครงการดังกล่าวควรจะต้องดำเนินต่อไปแม้จะเกิดกรณีอย่าง Xiang Xiang ขึ้นก็ตาม เพราะถึงอย่างไรบรรดาหมีแพนด้าในศูนย์ขยายพันธุ์ก็ควรกลับไปอยู่ในป่ามากกว่าในกรงขัง เพื่อให้ขยายเผ่าพันธุ์หมีแพนด้าในป่าธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น