รายงานชิ้นใหม่ของ UNESCAP ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก ในปีหน้า จะเติบโตต่ำกว่าระดับที่คาดหมายไว้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลประเทศต่างๆใช้นโยบายปกป้องภาคธุรกิจในประเทศตน ประกอบกับความไม่แน่นอนของตลาดการเงินโลก หลังจากระบบธนาคารกลางสหรัฐประกาศว่าจะเริ่มลดมาตรการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในเอเชีย
รายงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมเอเชียและแปซิฟิกของสหประชาชาติ หรือ UNESCAP ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิกในปีหน้า จะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับก่อนปี พ.ศ 2551 ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป รวมทั้งความท้าทายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเอง โดยเฉพาะเรื่องความไม่เท่าเทียมของการกระจายรายได้
รายงานชิ้นนี้ชี้ว่า จีนจะยังคงเป็นประเทศหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเอเชีย โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีหน้าจะเติบโตมากกว่าระดับ 7% เล็กน้อย ขณะที่เศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิกโดยรวม คาดว่าจะขยายตัวราว 6%
นักเศรษฐศาสตร์ของ UNESCAP เชื่อว่าการที่ระบบธนาคารสหรัฐจะค่อยๆลดการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดปริมาณเงินที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอเมริกันผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมูลค่า 85,000 ล้านดอลล่าร์ต่อเดือน จะทำให้มีเงินทุนหลั่งไหลเข้าไปยังเอเชีย-แปซิฟิกน้อยลง และจะทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศในเอเชียขยายตัวลดลงด้วย รวมทั้ง มาเลเซีย รัสเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
นอกจากนี้ คุณ Anisuzzaman Chowdhury นักเศรษฐศาสตร์ของ UNESCAP ชี้ด้วยว่า การที่ภาพรวมเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกอ่อนแอลงนี้ อาจทำให้การแก้ปัญหาบางอย่างยากขึ้น เช่นปัญหาความไม่เท่าเทียมในการกระจายรายได้ และปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยคุณ Chowdhury ชี้ว่าการแก้ปัญหาไม่เท่าเทียมทางรายได้และปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก นั่นคือเหตุผลที่ว่าเอเชีย-แปซิฟิกกำลังอยู่ในจุดพลิกผันหากมีเงินทุนเข้ามาน้อยลง
ปัจจุบันเศรษฐกิจจีนและอินเดียมีสัดส่วนรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของแถบเอเชีย-แปซิฟิก คุณ Chowdhury ระบุว่าสองประเทศนี้จะยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องไปอีกหลายปี และว่านโยบายใหม่ของทางการจีนที่เน้นกระตุ้นการบริโภคในประเทศมากขึ้น ก็จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ด้วย กล่าวคือนโยบายใหม่ๆของจีน เช่นการขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ จะทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าในหมู่ชาวจีนสูงขึ้น ผลประโยชน์จึงตกอยู่กับประเทศที่ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคไปยังประเทศจีน และจะทำให้เกิดสมดุลใหม่ขึ้น
รายงานของ UNESCAP ได้ชี้ถึงความท้าทายสำคัญที่สุด คือการที่รัฐบาลประเทศต่างๆใช้นโยบายปกป้องภาคธุรกิจในประเทศตนมากขึ้น โดยเฉพาะในสหภาพยุโรปและสหรัฐ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิก สูญเสียรายได้ปีละหลายหมื่นล้านดอลล่าร์ รายงานชิ้นนี้ยังระบุถึงเศรษฐกิจของไทยและมาเลเซียโดยตรง ว่ากำลังเผชิญกับการชะลอตัวขณะที่หนี้ภาคครัวเรือนสูงขึ้น ส่วนอินโดนีเซียและอินเดียก็มีปัญหาค่าเงินตกต่ำซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายที่ไม่แน่นอน
รายงานของ UNESCAP สรุปว่า เวลานี้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของมาตรฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับใหม่ที่ต่ำกว่ามาตรฐานเดิมเมื่อก่อนปี พ.ศ 2551 และรายงานยังเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศในแถบนี้ใช้นโยบายควบคุมความผันผวนของกระแสทุนระยะสั้น ตลอดจนสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะยาว
รายงานจาก Ron Corben / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล
รายงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมเอเชียและแปซิฟิกของสหประชาชาติ หรือ UNESCAP ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิกในปีหน้า จะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับก่อนปี พ.ศ 2551 ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป รวมทั้งความท้าทายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเอง โดยเฉพาะเรื่องความไม่เท่าเทียมของการกระจายรายได้
รายงานชิ้นนี้ชี้ว่า จีนจะยังคงเป็นประเทศหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเอเชีย โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีหน้าจะเติบโตมากกว่าระดับ 7% เล็กน้อย ขณะที่เศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิกโดยรวม คาดว่าจะขยายตัวราว 6%
นักเศรษฐศาสตร์ของ UNESCAP เชื่อว่าการที่ระบบธนาคารสหรัฐจะค่อยๆลดการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดปริมาณเงินที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอเมริกันผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมูลค่า 85,000 ล้านดอลล่าร์ต่อเดือน จะทำให้มีเงินทุนหลั่งไหลเข้าไปยังเอเชีย-แปซิฟิกน้อยลง และจะทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศในเอเชียขยายตัวลดลงด้วย รวมทั้ง มาเลเซีย รัสเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
นอกจากนี้ คุณ Anisuzzaman Chowdhury นักเศรษฐศาสตร์ของ UNESCAP ชี้ด้วยว่า การที่ภาพรวมเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกอ่อนแอลงนี้ อาจทำให้การแก้ปัญหาบางอย่างยากขึ้น เช่นปัญหาความไม่เท่าเทียมในการกระจายรายได้ และปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยคุณ Chowdhury ชี้ว่าการแก้ปัญหาไม่เท่าเทียมทางรายได้และปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก นั่นคือเหตุผลที่ว่าเอเชีย-แปซิฟิกกำลังอยู่ในจุดพลิกผันหากมีเงินทุนเข้ามาน้อยลง
ปัจจุบันเศรษฐกิจจีนและอินเดียมีสัดส่วนรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของแถบเอเชีย-แปซิฟิก คุณ Chowdhury ระบุว่าสองประเทศนี้จะยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องไปอีกหลายปี และว่านโยบายใหม่ของทางการจีนที่เน้นกระตุ้นการบริโภคในประเทศมากขึ้น ก็จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ด้วย กล่าวคือนโยบายใหม่ๆของจีน เช่นการขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ จะทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าในหมู่ชาวจีนสูงขึ้น ผลประโยชน์จึงตกอยู่กับประเทศที่ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคไปยังประเทศจีน และจะทำให้เกิดสมดุลใหม่ขึ้น
รายงานของ UNESCAP ได้ชี้ถึงความท้าทายสำคัญที่สุด คือการที่รัฐบาลประเทศต่างๆใช้นโยบายปกป้องภาคธุรกิจในประเทศตนมากขึ้น โดยเฉพาะในสหภาพยุโรปและสหรัฐ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิก สูญเสียรายได้ปีละหลายหมื่นล้านดอลล่าร์ รายงานชิ้นนี้ยังระบุถึงเศรษฐกิจของไทยและมาเลเซียโดยตรง ว่ากำลังเผชิญกับการชะลอตัวขณะที่หนี้ภาคครัวเรือนสูงขึ้น ส่วนอินโดนีเซียและอินเดียก็มีปัญหาค่าเงินตกต่ำซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายที่ไม่แน่นอน
รายงานของ UNESCAP สรุปว่า เวลานี้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของมาตรฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับใหม่ที่ต่ำกว่ามาตรฐานเดิมเมื่อก่อนปี พ.ศ 2551 และรายงานยังเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศในแถบนี้ใช้นโยบายควบคุมความผันผวนของกระแสทุนระยะสั้น ตลอดจนสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะยาว
รายงานจาก Ron Corben / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล