ลิ้งค์เชื่อมต่อ

 
ปัญหาการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้จะเป็นประเด็นใหญ่ในการประชุมอาเซียนและ ASEAN Regional Forum ที่พม่าสัปดาห์นี้

ปัญหาการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้จะเป็นประเด็นใหญ่ในการประชุมอาเซียนและ ASEAN Regional Forum ที่พม่าสัปดาห์นี้


ปัญหาการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้จะเป็นประเด็นใหญ่ในการประชุมอาเซียนและ ASEAN Regional Forum ที่พม่าสัปดาห์นี้

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:53 0:00
Direct link

รมต.ต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งของสหรัฐ จีน และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย กำลังเข้าร่วมการประชุมระดับ รมต.ของอาเซียนที่กรุงเนปิดอว์ของพม่าในสัปดาห์นี้ รวมถึงการประชุม ASEAN Regional Forum (ARF) ในวันที่ 10 ส.ค นี้ด้วย

การประชุมระดับ รมต.ของอาเซียนที่กรุงเนปิดอว์ของพม่าในสัปดาห์นี้ มีขึ้นขณะที่อาเซียนกำลังเตรียมเปิดตัวประชาคมทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ AEC ในปีหน้า ซึ่งหมายถึงการลดกำแพงภาษีการค้าและข้อจำกัดด้านแรงงานต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิก

และแม้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในอาเซียน เกิดจากแรงผลักดันด้านการตลาดและเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันดูเหมือนประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศก็กำลังสร้างความแตกแยกในสมาคมอาเซียน นั่นคือเรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ซึ่งสมาชิกของอาเซียนหลายประเทศกำลังมีอยู่กับจีน

Spratly Islands, China Sea Territorial Claims
Spratly Islands, China Sea Territorial Claims

ผู้ช่วยรมต. ต่างประเทศสหรัฐฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก Daniel Russel ระบุว่าเหตุการณ์เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่แล้ว ที่จีนตั้งแท่นสำรวจน้ำมันบริเวณหมู่เกาะพาราเซล ในพื้นที่ที่เวียดนามอ้างว่าเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามนั้น ก่อให้เกิดความตึงเครียดยิ่งขึ้นในทะเลจีนใต้ และชี้ว่าจีนเป็นประเทศใหญ่และมีอิทธิพลอย่างมากในแถบนี้ จึงจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบและความอดทนอดกลั้นมากเป็นพิเศษด้วย เพราะการใช้กำลังทางทหารใดๆ ก็ตามจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อภูมิภาคนี้

ด้าน ดร.ปณิธาน วัฒนายากร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นต่อการนำประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้ไปหารือที่การประชุมอาเซียนครั้งนี้ว่า คงจะไม่มีความคืบหน้ามากนักเมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ดร.ปณิธานชี้ว่าในอดีตนั้น ภูมิภาคนี้เต็มไปด้วยความเคลือบแคลงสงสัย ไม่ไว้ใจกันและกัน โดยเฉพาะในด้านการทหารและการเลือกเข้าข้างประเทศมหาอำนาจ ก่อให้เกิดความโกลาหลวุ่นวายเป็นเวลานานหลายสิบปี

ขณะเดียวกัน เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ไทยถูกกดดันจากประเทศตะวันตก เช่นการตัดความช่วยเหลือทางทหาร ส่งผลให้สมาชิกอาเซียนประเทศอื่นต่างกังวลว่า ไทยอาจเลือกเข้าข้างจีนมากขึ้นในข้อพิพาทเรื่องทะเลจีนใต้ ซึ่งดร.ปณิธาน ระบุว่าผู้แทนของไทยควรแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น ดร.ปณิธาน วัฒนายากร กล่าวกับ VOA ว่าไทยควรรับรองกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ว่า จะไม่เลือกยืนข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่จะใช้นโยบายที่รักษาสมดุลความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมและรอบด้าน

ปีนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พม่าได้เป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซียน แต่ยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ว่าพม่าจะทำหน้าที่ได้ดีแค่ไหนท่ามกลางรายงานเรื่องความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อย และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ถึงกระนั้นนักวิเคราะห์บางคนไม่คิดว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ จะกังวลกับปัญหาภายในของพม่าเองมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาอาเซียนมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญคือจะไม่ก้าวก่ายหรือแทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกอื่นๆ ซึ่งหลักการข้อนี้ถือเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียของอาเซียนเอง

รายงานจาก Steve Herman ห้องข่าว VOA / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล

XS
SM
MD
LG