ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ ASEAN หรือสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี ค.ศ. 2008
ปีนั้นเป็นปีที่พายุไซโคลน Nargis เข้าไปก่อความเสียหายร้ายแรงในพม่า และทำให้มีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 138,000 คน พม่าปฏิเสธที่จะรับความช่วยเหลือจากนานาชาติในชั้นต้น แต่หลังการหารือฉุกเฉินกับ ASEAN ทางการพม่ายินยอมให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต่างประเทศ เดินทางเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนของตนได้
ดร. สุรินทร์เชื่อว่า บทบาทของ ASEAN ในเรื่องนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพม่า อย่างที่ได้เห็นกันในช่วงปีกว่าๆที่ผ่านมา
อดีตรมต. กระทรวงการต่างประเทศไทยและเลขาธิการ ASEAN ผู้นี้ กล่าวว่า การติดต่อผูกพันทำงานกับพม่าในครั้งนั้น ทำให้คณะผู้นำของพม่าเกิดความไว้วางใจว่า โลกภายนอกเต็มใจจะให้ความช่วยเหลือและร่วมมือทำงานกับพม่า ซี่งนำไปสู่การเปิดประตูต้อนรับการเปลี่ยนแปลง
ดร. สุรินทร์บอกว่า เป็นประสบการณ์ที่เป็นความซาบซึ้งใจมากที่สุดในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
เลขาธิการ ASEAN ยังได้ทำงานอย่างไม่ลดละที่จะผลักดันให้ชาติภาคี ASEAN เปิดกว้าง โปร่งใสมากขึ้น และเชื่อว่าได้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับของ ASEAN ในเวทีนานาชาติด้วย
นายปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธุ์ นักวิเคราะห์การเมืองที่มหาวิทยาลัย Kyoto เห็นด้วยว่า บทบาทของ ASEAN ในกรณีพายุ Nargis เป็นผลงานเด่นของดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ แต่ให้ความเห็นว่า หลังจากนั้นแล้วเลขาธิการ ASEAN ผู้นี้ ไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องอื่นใดอีก
นักวิเคราะห์การเมืองผู้นี้บอกว่า ดร. สุรินทร์ทำงานได้อย่างดียิ่งในช่วงปีแรกหรือสองปีแรก โดยแสดงความเป็นผู้นำในการช่วยเชื่อมสพานระหว่างพม่ากับโลกภายนอก แต่ก็เป็นผลงานเพียงชิ้นเดียวที่ดร.สุรินทร์ทำสำเร็จ
นายปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธุ์กล่าวต่อไปว่า ดร.สุรินทร์พยายามปรับตัวจากนักการเมือง มาเป็นผู้บริหาร แต่เขาไม่แน่ใจว่าทำได้สำเร็จ โดยเฉพาะในการทำงานกับรมต. ต่างประเทศของชาติภาคี ASEAN ด้วยกัน
นักวิเคราะห์ผู้นี้ให้ความเห็นว่า ดร. สุรินทร์มีคุณสมบัติสูงกว่าตำแหน่งเลขาธิการ ASEAN และมักจะวางตัวเสมือนว่ายังเป็นรมต. ต่างประเทศ มากกว่าเลขาธิการ ASEAN ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกับรมต. ต่างประเทศคนอื่นๆใน ASEAN
นักวิเคราะห์การเมืองที่มหาวิทยาลัย Kyoto ผู้นี้ยกตัวอย่างกรณีที่นายกรมต. Kevin Rudd ของออสเตรเลียเสนอที่จะให้จัดตั้ง Asia Pacific Community ขึ้นมา ซึ่งดร. สุรินทร์สนับสนุน แต่ชาติสมาชิกของ ASEAN อื่นๆไม่เห็นด้วย ทำให้ดร.สุรินทร์ต้องเปลี่ยนทีท่าในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ศจ. Carlyle Thayer แห่งมหาวิทยาลัย New South Wales ในออสเตรเลีย เห็นว่า ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณทำงานในฐานะเลขาธิการ ASEAN ได้เป็นอย่างดี และกระตุ้นหนุนให้ ASEAN ก้าวหน้าไปได้อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ทำให้ ASEAN มีความเป็นอิสระมากขึ้น โดยไม่แทรกแซงในกิจการของผู้อื่น
ผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ ASEAN คนต่อไปในวันที่ 1 มกราคม ศกหน้า คือนาย Le Luong Minh อดีตผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติของเวียตนาม
ปีนั้นเป็นปีที่พายุไซโคลน Nargis เข้าไปก่อความเสียหายร้ายแรงในพม่า และทำให้มีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 138,000 คน พม่าปฏิเสธที่จะรับความช่วยเหลือจากนานาชาติในชั้นต้น แต่หลังการหารือฉุกเฉินกับ ASEAN ทางการพม่ายินยอมให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต่างประเทศ เดินทางเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนของตนได้
ดร. สุรินทร์เชื่อว่า บทบาทของ ASEAN ในเรื่องนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพม่า อย่างที่ได้เห็นกันในช่วงปีกว่าๆที่ผ่านมา
อดีตรมต. กระทรวงการต่างประเทศไทยและเลขาธิการ ASEAN ผู้นี้ กล่าวว่า การติดต่อผูกพันทำงานกับพม่าในครั้งนั้น ทำให้คณะผู้นำของพม่าเกิดความไว้วางใจว่า โลกภายนอกเต็มใจจะให้ความช่วยเหลือและร่วมมือทำงานกับพม่า ซี่งนำไปสู่การเปิดประตูต้อนรับการเปลี่ยนแปลง
ดร. สุรินทร์บอกว่า เป็นประสบการณ์ที่เป็นความซาบซึ้งใจมากที่สุดในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
เลขาธิการ ASEAN ยังได้ทำงานอย่างไม่ลดละที่จะผลักดันให้ชาติภาคี ASEAN เปิดกว้าง โปร่งใสมากขึ้น และเชื่อว่าได้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับของ ASEAN ในเวทีนานาชาติด้วย
นายปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธุ์ นักวิเคราะห์การเมืองที่มหาวิทยาลัย Kyoto เห็นด้วยว่า บทบาทของ ASEAN ในกรณีพายุ Nargis เป็นผลงานเด่นของดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ แต่ให้ความเห็นว่า หลังจากนั้นแล้วเลขาธิการ ASEAN ผู้นี้ ไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องอื่นใดอีก
นักวิเคราะห์การเมืองผู้นี้บอกว่า ดร. สุรินทร์ทำงานได้อย่างดียิ่งในช่วงปีแรกหรือสองปีแรก โดยแสดงความเป็นผู้นำในการช่วยเชื่อมสพานระหว่างพม่ากับโลกภายนอก แต่ก็เป็นผลงานเพียงชิ้นเดียวที่ดร.สุรินทร์ทำสำเร็จ
นายปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธุ์กล่าวต่อไปว่า ดร.สุรินทร์พยายามปรับตัวจากนักการเมือง มาเป็นผู้บริหาร แต่เขาไม่แน่ใจว่าทำได้สำเร็จ โดยเฉพาะในการทำงานกับรมต. ต่างประเทศของชาติภาคี ASEAN ด้วยกัน
นักวิเคราะห์ผู้นี้ให้ความเห็นว่า ดร. สุรินทร์มีคุณสมบัติสูงกว่าตำแหน่งเลขาธิการ ASEAN และมักจะวางตัวเสมือนว่ายังเป็นรมต. ต่างประเทศ มากกว่าเลขาธิการ ASEAN ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกับรมต. ต่างประเทศคนอื่นๆใน ASEAN
นักวิเคราะห์การเมืองที่มหาวิทยาลัย Kyoto ผู้นี้ยกตัวอย่างกรณีที่นายกรมต. Kevin Rudd ของออสเตรเลียเสนอที่จะให้จัดตั้ง Asia Pacific Community ขึ้นมา ซึ่งดร. สุรินทร์สนับสนุน แต่ชาติสมาชิกของ ASEAN อื่นๆไม่เห็นด้วย ทำให้ดร.สุรินทร์ต้องเปลี่ยนทีท่าในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ศจ. Carlyle Thayer แห่งมหาวิทยาลัย New South Wales ในออสเตรเลีย เห็นว่า ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณทำงานในฐานะเลขาธิการ ASEAN ได้เป็นอย่างดี และกระตุ้นหนุนให้ ASEAN ก้าวหน้าไปได้อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ทำให้ ASEAN มีความเป็นอิสระมากขึ้น โดยไม่แทรกแซงในกิจการของผู้อื่น
ผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ ASEAN คนต่อไปในวันที่ 1 มกราคม ศกหน้า คือนาย Le Luong Minh อดีตผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติของเวียตนาม