ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงพนมเปญที่เพิ่งจบไปเมื่อวันอังคาร แม้ที่ประชุมจะยังไม่มีความคืบหน้ามากนักในการจัดการปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ รวมทั้งยังถูกวิจารณ์เรื่องการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่ายังไม่ได้ตามมาตรฐานสากล แต่เลขาธิการอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้ออกมาปกป้องความสำคัญของสมาคมอาเซียน และชี้ว่ามีความคืบหน้าอยู่บ้างในการประชุมที่เพิ่งผ่านไป
ปฏิญญาว่าด้วยกรอบปฏิบัติในทะเลจีนใต้หรือ DOC คือแนวทางอย่างกว้างๆในการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี ซึ่งจะระบุรายละเอียดชัดเจนลงไปเป็น Code of Conduct หรือระเบียบปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ แต่การจัดทำเอกสารที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองจนเกือบนำไปสู่ความแตกแยกในสมาคมอาเซียนในการประชุมก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ค
เมื่อตอนที่ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนเมื่อ 4 ปีก่อน ร่างเอกสารข้อเสนอว่าด้วยกรอบปฏิบัติในการสร้างสันติภาพในทะเลจีนใต้นั้นมีอายุได้ 5 ปีแล้ว จนมาถึงเวลาที่ดร.สุรินทร์ใกล้หมดวาระการดำรงตำแหน่งลงในปีนี้ DOC ก็ยังไม่ก้าวหน้า ขณะที่ความขัดแย้งในพื้นที่ทะเลจีนใต้กลับรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ยอมรับว่ากระบวนการจัดทำ DOC ในช่วง 10 ปีมานี้เป็นไปอย่างล่าช้าจนน่าโมโห โดยในการประชุมที่กรุงพนมเปญครั้งนี้ที่ประชุมได้มีแถลงการณ์ร่วมเพื่อความเข้าใจตรงกันว่าความพยายามร่าง DOC นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ 10 ปีก่อน ซึ่งเป็น 10 ปีที่สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ได้เปลี่ยนจากความกังวลมาเป็นความตึงเครียดอยู่ในปัจจุบัน แต่ DOC ก็ยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจรจาเรื่องการแก้ไขปัญหาในทะเลจีนใต้ไม่ว่าจะในเวทีไหน
เลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า หากอาเซียนไม่มีเป้าหมายในเรื่องปฏิญญาว่าด้วยกรอบปฏิบัติในทะเลจีนใต้หรือ DOC การเจรจาในเวทีการประชุมต่างๆที่ผ่านมาคงยิ่งซับซ้อนวุ่นวายกว่านี้ ดังนั้นตนเชื่อว่า DOC ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีต่อไป
ในขณะที่ยังไม่มีการกำหนดเงื่อนเวลาที่แน่นอน ว่าจีนและประเทศสมาชิกในสมาคมอาเซียนจะตกลงกันเรื่อง DOC นี้ได้เมื่อไร ก็มีเสียงวิจารณ์ดังขึ้นเรื่อยๆว่าอาเซียนทำงานล่าช้าเกินไป ลังเล และไม่กล้าสร้างความเปลี่ยนแปลง ส่วนประเทศสมาชิกก็ไม่กล้าตำหนิกันและกันตรงๆ แต่ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ แย้งว่าที่ผ่านมาประเทศในอาเซียนได้ปรับตัวไปมากพอสมควร
ดร.สุรินทร์ ยกตัวอย่างประเด็นเรื่องความปรองดองในพม่า โดยผู้นำอาเซียนที่ร่วมประชุมได้ตั้งคำถามในลักษณะว่า พม่ามีอะไรจะพูดหรือเปล่า? เกิดอะไรขึ้นบ้างในพม่า? ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนคำถามเหล่านี้คงไม่เกิดขึ้น เพราะสมาชิกแต่ละประเทศถือคติว่าจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และในที่สุดประเด็นเรื่องความขัดแย้งทางเชื้อชาติในรัฐยะไข่ของพม่าก็ได้บรรจุอยู่ในแถลงการณ์สรุปการประชุมของผู้นำอาเซียนในครั้งนี้ด้วย
สำหรับในเรื่องปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีเสียงวิจารณ์ว่ายังไม่ได้ตามมาตรฐานสากล แต่เลขาธิการอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ชี้ว่าหากเป็นเมื่อ 5 ปีก่อน การหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารืออย่างเปิดเผยก็คงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เช่นกัน
ปฏิญญาว่าด้วยกรอบปฏิบัติในทะเลจีนใต้หรือ DOC คือแนวทางอย่างกว้างๆในการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี ซึ่งจะระบุรายละเอียดชัดเจนลงไปเป็น Code of Conduct หรือระเบียบปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ แต่การจัดทำเอกสารที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองจนเกือบนำไปสู่ความแตกแยกในสมาคมอาเซียนในการประชุมก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ค
เมื่อตอนที่ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนเมื่อ 4 ปีก่อน ร่างเอกสารข้อเสนอว่าด้วยกรอบปฏิบัติในการสร้างสันติภาพในทะเลจีนใต้นั้นมีอายุได้ 5 ปีแล้ว จนมาถึงเวลาที่ดร.สุรินทร์ใกล้หมดวาระการดำรงตำแหน่งลงในปีนี้ DOC ก็ยังไม่ก้าวหน้า ขณะที่ความขัดแย้งในพื้นที่ทะเลจีนใต้กลับรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ยอมรับว่ากระบวนการจัดทำ DOC ในช่วง 10 ปีมานี้เป็นไปอย่างล่าช้าจนน่าโมโห โดยในการประชุมที่กรุงพนมเปญครั้งนี้ที่ประชุมได้มีแถลงการณ์ร่วมเพื่อความเข้าใจตรงกันว่าความพยายามร่าง DOC นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ 10 ปีก่อน ซึ่งเป็น 10 ปีที่สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ได้เปลี่ยนจากความกังวลมาเป็นความตึงเครียดอยู่ในปัจจุบัน แต่ DOC ก็ยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจรจาเรื่องการแก้ไขปัญหาในทะเลจีนใต้ไม่ว่าจะในเวทีไหน
เลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า หากอาเซียนไม่มีเป้าหมายในเรื่องปฏิญญาว่าด้วยกรอบปฏิบัติในทะเลจีนใต้หรือ DOC การเจรจาในเวทีการประชุมต่างๆที่ผ่านมาคงยิ่งซับซ้อนวุ่นวายกว่านี้ ดังนั้นตนเชื่อว่า DOC ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีต่อไป
ในขณะที่ยังไม่มีการกำหนดเงื่อนเวลาที่แน่นอน ว่าจีนและประเทศสมาชิกในสมาคมอาเซียนจะตกลงกันเรื่อง DOC นี้ได้เมื่อไร ก็มีเสียงวิจารณ์ดังขึ้นเรื่อยๆว่าอาเซียนทำงานล่าช้าเกินไป ลังเล และไม่กล้าสร้างความเปลี่ยนแปลง ส่วนประเทศสมาชิกก็ไม่กล้าตำหนิกันและกันตรงๆ แต่ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ แย้งว่าที่ผ่านมาประเทศในอาเซียนได้ปรับตัวไปมากพอสมควร
ดร.สุรินทร์ ยกตัวอย่างประเด็นเรื่องความปรองดองในพม่า โดยผู้นำอาเซียนที่ร่วมประชุมได้ตั้งคำถามในลักษณะว่า พม่ามีอะไรจะพูดหรือเปล่า? เกิดอะไรขึ้นบ้างในพม่า? ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนคำถามเหล่านี้คงไม่เกิดขึ้น เพราะสมาชิกแต่ละประเทศถือคติว่าจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และในที่สุดประเด็นเรื่องความขัดแย้งทางเชื้อชาติในรัฐยะไข่ของพม่าก็ได้บรรจุอยู่ในแถลงการณ์สรุปการประชุมของผู้นำอาเซียนในครั้งนี้ด้วย
สำหรับในเรื่องปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีเสียงวิจารณ์ว่ายังไม่ได้ตามมาตรฐานสากล แต่เลขาธิการอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ชี้ว่าหากเป็นเมื่อ 5 ปีก่อน การหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารืออย่างเปิดเผยก็คงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เช่นกัน