ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาแขนเทียมที่เคลื่อนไหวได้คล่องและมือเทียมที่รับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสได้


Bionic Hand
Bionic Hand

ทีมนักวิจัยกำลังพัฒนาแขนและมือเทียมที่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนแขนจริงและที่สามารถรับรู้ทางประสาทสัมผัสได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00
Direct link

มีการผลิตมือเทียมที่ดูเหมือนมือจริงออกมาใช้กันมาพักหนึ่งแล้ว แต่ตอนนี้ทีมนักวิจัยกำลังพัฒนาแขนและมือเทียมที่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนแขนจริงและที่สามารถรับรู้ทางประสาทสัมผัสได้

อุปกรณ์เทียมชิ้นแรกเป็นแขนเทียม พัฒนาโดยทีมนักวิจัยชาวสวีเดน แขนเทียมนี้ใช้ติดเข้ากับกระดูกแขนที่หลงเหลืออยู่ ตัวอิเลคโทรดที่ฝังไว้ใต้ผิวหนังผู้ใส่แขนเทียมจะเป็นตัวรับคลื่นไฟฟ้าจากสมองแล้วแปลงเป็นการเคลื่อนไหวต่างๆ

คุณ Max Ortiz Catalan วิศวกรด้านชีวการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัย Chalmers University of Technology ในเมือง Gothenburg ใน Sweden มีส่วนช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์แขนเทียมที่ทำงานเหมือนแขนจริงนี้ เขากล่าวว่าผู้ป่วยยังมีกล้ามเนื้อแขนและเซลล์ประสาทเหลืออยู่และเซลล์ปราสาทจะเป็นตัวรับสัญญาณคำสั่งจากสมองเพื่อควบคุมแขนให้ทำงานตามต้องการ

ในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Translational Medicine คุณ Catalan กับทีมงานอธิบายว่าได้ทดลองใช้แขนเทียมกับชายขับรถบรรทุกผู้หนึ่งที่สูญเสียแขนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ทีมนักวิจัยรายงานว่าก่อนหน้าการฝังอิเลคโทรดเข้าไปใต้ผิวหนัง ชายผู้นี้สามารถควบคุมแขนเทียมได้ไม่คล่องนักเพราะใช้วิธีติดตัวอิเลคโทรดบนผิวหนัง แต่มาถึงขณะนี้ ชายผู้นี้ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนได้คล่องแคล่วและใช้งานได้

คุณ Catalan กล่าวว่าผู้ป่วยใช้แขนเทียมทำกิจกรรมในชีวิต ประจำวัน เล่นกับลูกๆได้ ทำงานบ้านได้และยังไปทำงานขับรถด้วย เขาสามารถพัฒนาการควบคุมแขนเทียมได้ดีขึ้นจาก 50 เปอร์เซ็นต์เป็น 100 เปอร์เซ็นต์และเขาสามารถสวมแขนเทียมได้ทั้งวัน

ทีมงานของคุณ Catalan หวังว่าจะสามารถเริ่มใช้แขนเทียมนี้ได้กับผู้ป่วยที่สูญเสียแขนทั่วไปได้ภายในต้นปีหน้า

ส่วนมือเทียมชิ้นที่สองที่เป็นผลงานของทีมวิจัยอีกทีมหนึ่ง มือเทียมนี้รับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสได้

คุณ Dustin Tyler และทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัย Case Western Reserve University ในเมือง Cleveland รัฐ Ohio อธิบายในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Translational Medicine ว่าทีมงานฝังตัวอิเลคโทรดเพื่อกระตุ้นการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั่วทั้งมือ

คุณ Tyler กล่าวว่าแม้จะเป็นมือเทียมแต่ผู้สวมจะรู้สึกว่าเป็นมือจริงเพราะสามารถรับรู้ความรู้สึกได้ ทีมงานได้ใช้เทคนิคการกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับเส้นประสาทโดยตรงและทำงานเหมือนตัวเซ็นเซ่อร์ในมือมนุษย์

อุปกรณ์มือเทียมที่รับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสได้นี้ยังอยู่ระหว่างการทดลอง คุณ Tyler กล่าวว่าทีมงานกำลังพัฒนาตัวอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกในมือเทียมให้พกพาได้ด้วยการฝังเข้าเข้าไปที่หน้าอกของผู้สวมมือเทียม เขาชี้ว่าเป็นไปได้ที่จะนำเทคโนโลยีมือเทียมนี้ไปรวมเข้ากับเทคโนโลยีแขนเทียมที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยจากสวีเดนที่ควบคุมด้วยคลื่นสมองเพื่อให้มือเทียมทำงานได้เหมือนมือมนุษย์จริงๆยิ่งขึ้นไปอีก

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG