นักวิทยาศาสตร์พบว่าแบคทีเรียในหมูที่โตในฟาร์มที่ใช้ยาปฏิชีวนะสามารถแลกเปลี่ยนพันธุกรรมดื้อยาระหว่างกันได้ นอกจากนั้นเชื้อโรคดื้อยายังสามารถพัฒนาศักยภาพจนสามารถดื้อยาได้หลายชนิด
James Tiedje จาก Michigan State University ซึ่งทำวิจัยที่ฟาร์มหมูสามแห่งในจีน กล่าวว่าคนรับเชื้อโรคดื้อยาผ่านการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือพืชผักที่ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ที่รับยาปฏิชีวนะช่วงที่ถูกเลี้ยงในฟาร์ม หรือผ่านน้ำดื่มที่มากจากแหล่งน้ำที่มีเชื้อโรคติดมาจากฟาร์มซึ่งปล่อยมูลสัตว์ลงน้ำ
ในประเทศจีนไม่มีกฎหมายตรวจตราการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเติบโตในสัตว์ แต่ คุณ Tiejee กล่าวว่าการที่ทางการจีนร่วมทำวิจัยกับคณะของเขาแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลกังวลเกี่ยวกับปัญหานี้
นักวิทยาศาสตร์บางคน เช่น Sid Thakur จาก North Carolina State University กล่าวว่าอาการดื้อยาในแบคทีเรียลดลงในบางกรณี หากมีการหยุดให้ยาปฏิชีวนะ เขาบอกอีกด้วยว่าเชื้อดื้อยาบางชนิดแทบไม่สามารถถูกกำจัดให้หมดไปได้หากว่าเชื้อเหล่านั้นอยู่ในธรรมชาติแล้ว
งานวิจัยของ คุณ Tiedje ถูกตีพิมพ์ในนิตยสารทางวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ The Proceedings of the National Academy of Sciences.
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Steve Baragona /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท
James Tiedje จาก Michigan State University ซึ่งทำวิจัยที่ฟาร์มหมูสามแห่งในจีน กล่าวว่าคนรับเชื้อโรคดื้อยาผ่านการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือพืชผักที่ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ที่รับยาปฏิชีวนะช่วงที่ถูกเลี้ยงในฟาร์ม หรือผ่านน้ำดื่มที่มากจากแหล่งน้ำที่มีเชื้อโรคติดมาจากฟาร์มซึ่งปล่อยมูลสัตว์ลงน้ำ
ในประเทศจีนไม่มีกฎหมายตรวจตราการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเติบโตในสัตว์ แต่ คุณ Tiejee กล่าวว่าการที่ทางการจีนร่วมทำวิจัยกับคณะของเขาแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลกังวลเกี่ยวกับปัญหานี้
นักวิทยาศาสตร์บางคน เช่น Sid Thakur จาก North Carolina State University กล่าวว่าอาการดื้อยาในแบคทีเรียลดลงในบางกรณี หากมีการหยุดให้ยาปฏิชีวนะ เขาบอกอีกด้วยว่าเชื้อดื้อยาบางชนิดแทบไม่สามารถถูกกำจัดให้หมดไปได้หากว่าเชื้อเหล่านั้นอยู่ในธรรมชาติแล้ว
งานวิจัยของ คุณ Tiedje ถูกตีพิมพ์ในนิตยสารทางวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ The Proceedings of the National Academy of Sciences.
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Steve Baragona /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท