ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยเดนมาร์กพัฒนา 'ชุดวิเคราะห์พิษงู' ช่วยบำบัดเหยื่องูกัดได้ทันที


Venom is extracted from a Velvet Killer (Bothrops asper) at Clodomiro Picado Institute in Coronado, Friday June 6, 2003. This particular venom will be transformed into antidote against this snake's deadly bite. The Velvet Killer also known in North Americ
Venom is extracted from a Velvet Killer (Bothrops asper) at Clodomiro Picado Institute in Coronado, Friday June 6, 2003. This particular venom will be transformed into antidote against this snake's deadly bite. The Velvet Killer also known in North Americ
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:56 0:00

ทีมนักวิจัยจากเทคนิคคอล ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เดนมาร์ก (Technical University of Denmark) ได้ออกแบบชุดทดสอบพิษงูอย่างง่าย เพื่อใช้ในงานในภาคสนาม

อีฟวาน ดู๊ดคา (Ivan Doudka) นักวิจัยกล่าวว่า การตรวจใช้ตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยที่ถูกงูกัด เเละอุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงเเค่เครื่องหมุนเหวี่ยงที่ใช้แรงมือเพื่อช่วยแยกตัวอย่างเลือดกับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเท่านั้น

ดู๊ดคา กล่าวว่า เครื่องหมุนเหวี่ยงด้วยแรงมือจะช่วยแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงออกจากตัวอย่างเลือด แล้วบรรจุไว้ในหลอดทดลอง เพื่อใส่เข้าไปในช่องอบนาน 30 นาที ก่อนจะนำไปบรรจุลงในภาชนะใส่สารเพื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งวัดดูการดูดกลืนแสงของสาร และเครื่องนี้ทำงานร่วมกับมือถือสมาร์ทโฟนและแอพในการวิเคราะห์ผลตรวจพิษงูในเลือดผู้ถูกงูกัด

งูพิษทุกชนิดมีพิษที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน เเละมีส่วนประกอบของโปรตีนที่เเตกต่างกันไป

แคทรีน ลาร์สเซ็น (Cathrine Larsen) นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากสามารถระบุลักษณะองค์ประกอบของโปรตีนในพิษงูได้ คุณจะสามารถระบุได้ว่างูพิษที่กัดเป็นงูอะไร

ลาร์สเซ็น กล่าวว่า ทีมนักวิจัยได้ทดสอบโปรตีนจำนวนมากกับพิษของงูหลายชนิด เเละพบว่าพิษงูเเต่ละชนิดมีลักษณะการเกาะตัวของโปรตีนที่แตกต่างกัน เเละข้อมูลนี้ช่วยให้ทีมงานระบุได้ว่าผู้ป่วยถูกงูอะไรกัด

หลังจากนั้นผู้ตรวจจะใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพพิษงูในระยะใกล้ แอพโทรศัพท์มือถือที่ใช้นี้จะช่วยระบุชนิดของงูได้เเละจะเเนะนำให้บำบัดผู้ป่วยด้วยเซรุ่มต้านพิษงูที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

อันเดรส เลาสเท่น (Andreas Lausten) นักวิจัย กล่าวว่า ผลการตรวจนี้จะช่วยแพทย์ตัดสินใจได้เร็วขึ้น เเละช่วยป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ถูกงูกัดได้ เขากล่าวว่าไม่ว่าคุณจะเลือกใช้เซรุ่มต้านพิษงูเเบบใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้กับพิษของงูบางชนิด หรือจะเลือกใช้เซรุ่มชนิดที่ต้านพิษงูได้หลายชนิด หลายสายพันธุ์

คาดว่าผลงานของทีมนักวิจัยในเดนมาร์กนี้จะสามารถช่วยชีวิตคนที่ถูกงูกัดได้ โดยทุกปีมีคนถูกงูกัดราว 5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเละแอฟริกา

มีคนเสียชีวิตจากการถูกงูกัดถึงปีละอย่างน้อยหนึ่งเเสน คน เเละราวสี่เเสนคนถูกตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้

นักวิจัยกล่าวว่า ทีมงานกำลังทำงานเพื่อผลิตเซรุ่มงูเพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เขากล่าวว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมา ทีมงานได้เน้นพัฒนาเซรุ่มงูชนิดใช้ทดแทนของจริงที่ทำจากแอนติบอดี้ของคนที่สามารถต้านพิษงูได้หลายชนิด เเละผลดีของการใช้เซรุ่มทดแทนนี้ คือช่วยป้องกันผลข้างเคียงทางลบต่อร่างกายผู้ป่วยจากเซรุ่มที่ได้จากงู

ขณะนี้มีองค์การนานาชาติหลายหน่วยงาน อาทิ องค์การอนามัยโลกและหน่วยงานเเพทย์ไร้พรมแดน (Doctors without Borders) ที่แสดงความสนใจต่อชุดตรวจพิษงูภาคสนามที่ทีมนักวิจัยในเดนมาร์กพัฒนาขึ้นนี้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG