ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กลุ่มยาชนิดใหม่อาจช่วยชะลอการเสื่อมถอยและฟื้นคืนความจำของสมองจาก 'โรคอัลไซเมอร์'


Judith Chase Gilbert, of Arlington, Va., is loaded into PET scan machine by Nuclear Medicine Technologist J.R. Aguilar as part of a study on Allheimer's disease at Georgetown University Hospital, on Tuesday, May 19, 2015.
Judith Chase Gilbert, of Arlington, Va., is loaded into PET scan machine by Nuclear Medicine Technologist J.R. Aguilar as part of a study on Allheimer's disease at Georgetown University Hospital, on Tuesday, May 19, 2015.
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:38 0:00

สมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอัลไซเมอร์ Alzheimer’s Association ประเมินว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 47 ล้านคน ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ

เป็นที่ทราบกันว่าอาการหลักของโรคอัลไซเมอร์คือการสูญเสียความทรงจำ และในที่สุดนำไปสู่การเสียชีวิต

ความพยายามหาทางรักษาและบรรเทาอาการของโรคดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสองแห่งในสหราชอาณาจักร คือ University of Leicester และ University of Glasgow พบยากลุ่มใหม่ที่ไม่ใช่เพียงแต่ชะลออาการของโรค แต่อาจสามารถฟื้นฟูความทรงจำ ทั้งยังอาจรวมถึงยืดอายุผู้ป่วยโรคนี้ได้ หลังวิเคราะห์ผลการทดลองกับหนู

ยากลุ่มที่ว่านี้คือ Allosteric ligands ซึ่งมีประสิทธิภาพต่อโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ

การเสื่อมถอยของการทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เกิดขึ้นเมื่อโปรตีนในสมองส่วน hippocampus มีประสิทธิภาพอ่อนลง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทดลองใช้ยาขนานใหม่ที่ว่า นักวิจัยพบว่าโปรตีนชนิดดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า M1 miscarinic receptor ถูกกระตุ้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการทดลอง นักวิจัยเกิดความหวังที่ว่าการกระตุ้นการทำงานของโปรตีนนี้อาจช่วยชะลออัตราการเสื่อมของสมองและฟื้นฟูความจำได้ด้วย

อาจารย์ Andrew Tobin จากมหาวิทยาลัย Glasgow พบว่ายาที่ใช้สามารถยืดอายุของหนูในการทดลองด้วย

การค้นพบนี้เป็นเครื่องต่อยอดความรู้เรื่องการรักษาและบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ เพราะองค์ความรู้ที่มีมามุ่งเน้นไปที่การรักษาอาการ แต่การวิจัยของนักวิทยาศาสตร์อังกฤษในครั้งนี้เป็นการรักษาโรคโดยตรง

อย่างไรก็ตามอาจารย์ Andrew Tobin กล่าวว่าน่าจะใช้เวลาอีกราว 5 ถึง 10 ปี กว่าที่การศึกษาในห้องทดลองกับหนูจะสามารถทำให้เกิดยารักษาอัลไซเมอร์ที่ใช้กับมนุษย์ได้

(รายงานโดย Jessica Berman / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG