ทีมนักวิจัยในสหรัฐชี้ว่าระดับไขมันบางชนิดในกระแสเลือดที่ต่ำกว่าปกติสามารถช่วยระบุได้ว่าคุณจะเป็นโรคอัลไซม์เม่อร์สในอนาคตหรือไม่
ในปัจจุบัน วงการแพทย์ยังไม่มีการรักษาโรคอัลไซม์เมอร์สที่ได้ผลและการตรวจวินิจฉัยว่าใครจะเป็นโรคนี้ยังมีวิธีเดียวคือการแสกนสมองแบบ MRI ที่เสียค่าใช้จ่ายสูง การตรวจเลือดที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนานี้จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคอัลไซม์เมอร์สง่ายมากขึ้น
ทีมนักวิจัยอเมริกันได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดจากอาสาสมัคร 525 คน อายุ 70 ปีขึ้นไป อาสาสมัครบางคนไม่แสดงอาการว่ามีความบกพร่องทางด้านความคิดและบางคนมีปัญหาหลงลืมแต่ไม่มีผลการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการที่ชี้ว่าเป็นโรคอัลไซม์เมอร์ส
ทีมนักวิจัยทำการวัดระดับไขมันมากกว่า 140 ชนิดในตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครและพบว่ามีไขมันอยู่ 10 ชนิดที่มีปริมาณน้อยกว่าปกติและตรวจพบในอาสาสมัครที่กลายเป็นโรคอัลไซม์เมอร์สในช่วงห้าปีต่อมา
Dr. Mark Mapstone ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัย University of Rochester ใน New York เป็นหนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยที่นำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย Georgetown University ในกรุงวอชิงตัน Dr. Mapstone กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมวิจัยพบว่าอาสาสมัครที่เป็นโรคอัลไซม์เมอร์สในเวลาต่อมามีปริมาณไขมันทั้ง 10 ชนิดในกระแสเลือดในระดับที่ต่ำกว่าปกติ นี่ช่วยให้ทีมวิจัยคาดเดาได้ว่าอาสาสมัครคนใดจะเป็นโรคสมองเสื่อมนี้บ้าง
Dr. Mapstone กล่าวว่าระดับไขมันนี้ช่วยทีมวิจัยพยากรณ์ได้แม่นยำถึง 90 เปอร์เซ็นต์ว่าใครจะเป็นโรคอัลไซม์เมอร์สบ้างแต่เขาคิดว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าไขมันในกระแสเลือดเหล่านี้บางตัวอาจเปลี่ยนแปลงในกรณีของการเกิดโรคชนิดอื่นๆ และทีมนักวิจัยยังไม่ได้ศึกษาในประเด็นนี้ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องวิเคราะห์กันต่อไป
นักวิจัยยกตัวอย่างว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในผู้สูงวัยและผลการวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่ผ่านมาชี้ว่าความผิดปกติในระบบเผาผลาญพลังงานมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความจำเสื่อมในผู้สูงวัย
Dr. Mapstone กล่าวว่าการตรวจเลือดหาโรคอัลไซม์เม่อร์สนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและยังไม่พร้อมนำออกมาใช้ได้ทั่วไปในขณะนี้ เขากล่าวว่าทีมนักวิจัยต้องการค้นหาความเกี่ยวโยงระหว่างระดับไขมันชนิดต่างๆ ในเลือดกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมองของผู้ป่วยอัลไซม์เมอร์ส
อย่างไรก็ดีนักวิจัยกล่าวว่าการตรวจเลือดหาโรคอัลไซม์เมอร์สจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ผู้ป่วยเตรียมวางผนทางการเงินและเพื่อเตรียมแผนการรักษาพยาบาลเอาไว้ล่วงหน้าหากผลการตรวจเลือดชี้ว่าจะเป็นโรคนี้
Dr. Mapstone กล่าวว่าข้อมูลที่ได้จากผลการตรวจเลือดนี้ยังไม่มีประโยชน์มากนักเพราะวงการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซม์เมอร์ส เขากล่าวว่าหากค้นพบวิธีบำบัดโรคเมื่อไหร่ การตรวจเลือดนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยคัดกรองโรคและนำไปสู่การรักษาแต่เนิ่นๆ
Dr. Mapstone กล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมนักวิจัยมุ่งพัฒนาการตรวจเลือดหาโรคอัลไซมม์เมอร์สเพราะหวังว่าจะช่วยนำไปสู่การพัฒนายาตัวใหม่ๆออกมารักษาผู้ป่วยโรคอัลไซม์เมอร์สได้ในอนาคต
ในปัจจุบัน วงการแพทย์ยังไม่มีการรักษาโรคอัลไซม์เมอร์สที่ได้ผลและการตรวจวินิจฉัยว่าใครจะเป็นโรคนี้ยังมีวิธีเดียวคือการแสกนสมองแบบ MRI ที่เสียค่าใช้จ่ายสูง การตรวจเลือดที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนานี้จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคอัลไซม์เมอร์สง่ายมากขึ้น
ทีมนักวิจัยอเมริกันได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดจากอาสาสมัคร 525 คน อายุ 70 ปีขึ้นไป อาสาสมัครบางคนไม่แสดงอาการว่ามีความบกพร่องทางด้านความคิดและบางคนมีปัญหาหลงลืมแต่ไม่มีผลการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการที่ชี้ว่าเป็นโรคอัลไซม์เมอร์ส
ทีมนักวิจัยทำการวัดระดับไขมันมากกว่า 140 ชนิดในตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครและพบว่ามีไขมันอยู่ 10 ชนิดที่มีปริมาณน้อยกว่าปกติและตรวจพบในอาสาสมัครที่กลายเป็นโรคอัลไซม์เมอร์สในช่วงห้าปีต่อมา
Dr. Mark Mapstone ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัย University of Rochester ใน New York เป็นหนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยที่นำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย Georgetown University ในกรุงวอชิงตัน Dr. Mapstone กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมวิจัยพบว่าอาสาสมัครที่เป็นโรคอัลไซม์เมอร์สในเวลาต่อมามีปริมาณไขมันทั้ง 10 ชนิดในกระแสเลือดในระดับที่ต่ำกว่าปกติ นี่ช่วยให้ทีมวิจัยคาดเดาได้ว่าอาสาสมัครคนใดจะเป็นโรคสมองเสื่อมนี้บ้าง
Dr. Mapstone กล่าวว่าระดับไขมันนี้ช่วยทีมวิจัยพยากรณ์ได้แม่นยำถึง 90 เปอร์เซ็นต์ว่าใครจะเป็นโรคอัลไซม์เมอร์สบ้างแต่เขาคิดว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าไขมันในกระแสเลือดเหล่านี้บางตัวอาจเปลี่ยนแปลงในกรณีของการเกิดโรคชนิดอื่นๆ และทีมนักวิจัยยังไม่ได้ศึกษาในประเด็นนี้ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องวิเคราะห์กันต่อไป
นักวิจัยยกตัวอย่างว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในผู้สูงวัยและผลการวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่ผ่านมาชี้ว่าความผิดปกติในระบบเผาผลาญพลังงานมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความจำเสื่อมในผู้สูงวัย
Dr. Mapstone กล่าวว่าการตรวจเลือดหาโรคอัลไซม์เม่อร์สนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและยังไม่พร้อมนำออกมาใช้ได้ทั่วไปในขณะนี้ เขากล่าวว่าทีมนักวิจัยต้องการค้นหาความเกี่ยวโยงระหว่างระดับไขมันชนิดต่างๆ ในเลือดกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมองของผู้ป่วยอัลไซม์เมอร์ส
อย่างไรก็ดีนักวิจัยกล่าวว่าการตรวจเลือดหาโรคอัลไซม์เมอร์สจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ผู้ป่วยเตรียมวางผนทางการเงินและเพื่อเตรียมแผนการรักษาพยาบาลเอาไว้ล่วงหน้าหากผลการตรวจเลือดชี้ว่าจะเป็นโรคนี้
Dr. Mapstone กล่าวว่าข้อมูลที่ได้จากผลการตรวจเลือดนี้ยังไม่มีประโยชน์มากนักเพราะวงการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซม์เมอร์ส เขากล่าวว่าหากค้นพบวิธีบำบัดโรคเมื่อไหร่ การตรวจเลือดนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยคัดกรองโรคและนำไปสู่การรักษาแต่เนิ่นๆ
Dr. Mapstone กล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมนักวิจัยมุ่งพัฒนาการตรวจเลือดหาโรคอัลไซมม์เมอร์สเพราะหวังว่าจะช่วยนำไปสู่การพัฒนายาตัวใหม่ๆออกมารักษาผู้ป่วยโรคอัลไซม์เมอร์สได้ในอนาคต