ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หลายชาติในทวีปแอฟริกาเจอภัยแล้งรุนแรง


People queue to collect water from a spring in the Newlands suburb as fears over the city's water crisis grow in Cape Town, South Africa, Jan. 25, 2018.
People queue to collect water from a spring in the Newlands suburb as fears over the city's water crisis grow in Cape Town, South Africa, Jan. 25, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:37 0:00

โจนาธาน ฟาร์ (Jonathan Farr) หัวหน้าทีมศึกษาความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำแห่ง วอเตอร์ เอด (Water Aid) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อจัดหาน้ำสะอาดแก่ประชาชนในชุมชนที่ยากจนที่สุดในโลก รวมทั้งแอฟริกาทางใต้

เขากล่าวว่า มีคนทั่วโลกแล้ว 844 ล้านคนที่ขาดแคลนน้ำสะอาดซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งของชีวิต เเละมากกว่า 8 ล้านคนของคนเหล่านี้ทั้งหมดอาศัยในทางใต้ของทวีปแอฟริกา

ฟาร์ กล่าวว่า ปรากฏการณ์ทางสภาพภูมิอากาศเอลนีลโญ่เป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤติน้ำทั่วทางใต้ของทวีปแอฟริกาตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2558 ทำให้เกิดภาวะเเห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดของภูมิภาคนี้ในรอบ 35 ปี

เขากล่าวว่า เมื่อตอนต้นปีที่เเล้ว ภัยเเล้งนี้ได้กระทบต่อคนราว 41 ล้านคนในประเทศต่างๆ รวมทั้ง โมซัมบิก มาดากัสก้า มาลาวี เเซมเบีย เเละแอฟริกาใต้ เเละหลายประเทศเหล่านี้เจอกับภัยเเล้งรุนแรงกว่าเมืองเคปทาวน์ในแอฟริกาใต้

ฟาร์กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลของมาดากัสก้าได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในทางใต้ของประเทศหลังจากประชาชนเกือบล้านคนประสบกับความอดอยากในระดับรุนแรงจนน่าเป็นห่วง

เเละในเดือนเมษายนปีที่แล้ว ประธานาธิบดีของมาลาวียังได้ประกาศภาวะวิกฤติระดับประเทศ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเจอกับการขาดแคลนอาหารรุนแรงเนื่องมาจากภัยเเล้ง

และในเดือนกุมภาพันธ์ โมซัมบิกได้ลดปริมาณน้ำที่เเจกจ่ายแก่ประชาชนในกรุงมาพูโต ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง และได้กลับไปเเจกจ่ายน้ำปริมาณปกติในเดือนเมษายนต่อมา

แต่ปัญหาความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำกำลังถูกคุกคามทั่วทั้งแอฟริกา เเละสภาพอากาศที่ร้อนเเละแห้งแล้งขึ้นไม่ได้เป็นเพียงสาเหตุเดียวเท่านั้นของปัญหานี้

ฟาร์ กล่าวว่า มีคนจำนวนมากกำลังย้ายจากชุมชนชนบทเข้าไปอยู่ในเมืองเเละเมืองต่างๆ ยังไม่พร้อมที่จะรองรับการย้ายถิ่นของคนจำนวนมาก เเละความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว สร้างเเรงกดดันเเก่ลุ่มน้ำบางแห่งเเละทางการของประเทศต่างๆ เหล่านี้กำลังพยายามรับมือกับปัญหาภัยเเล้งที่รุนแรงนี้อยู่

ในหลายประเทศในแอฟริกาตอนใต้ มีการสูญเสียน้ำผ่านระบบสาธารณูปโภคที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดแคลนการทำนุบำรุงเเละผู้ใช้น้ำอย่างผิดกฏหมาย

ฟาร์ กล่าวว่า รัฐบาลในหลายประเทศแอฟริกาเหล่านี้ไร้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ทำให้ขาดเงินในการทำนุบำรุงเเละขยายระบบน้ำประปา

หน่วยงานพัฒนา วอเตอร์ เอด ที่ฟาร์ทำงานอยู่ได้ร่วมมือกับรัฐบาลประเทศต่างๆ วิศวกรเเละสถาปนิก ในการศึกษาภัยคุกคามต่อเเหล่งน้ำ ตั้งเเต่ท่อส่งน้ำรั่วไปจนถึงการปรับปรุงคุณภาพน้ำ

แม้ว่าหลายชาติในแอฟริกาตอนใต้จะเจอกับภัยเเล้งที่รุนแรงกว่าเมืองเคปทาวน์ของแอฟริกาใต้ แต่กลับไม่ตกเป็นข่าว ฟาร์กล่าวว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเมืองเคปทาวน์ได้กำหนดเส้นตายที่เรียกว่า Day Zero ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน

Day Zero เป็นวันที่ทางการจะหยุดจ่ายน้ำประปาแก่ครัวเรือนเกือบทั้งหมดในเมือง หากระดับน้ำในเขื่อนต่างๆ ของเมืองลดลงไปเหลือแค่ 13.5 เปอร์เซ็นต์ โดยประชาชนจะต้องไปเข้าแถวรอรับน้ำตามปริมาณที่ได้รับอนุญาตต่อวัน

ในตอนต้นปีนี้ เจ้าหน้าที่เมืองเคปทาวน์เตือนว่า วัน Day Zero อาจจะเกิดขึ้นในเดือนนี้หรือไม่ก็เดือนกรกฏาคม

ฟาร์กล่าวว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการหยุดจ่ายน้ำในเมืองเคปทาวน์จะใหญ่หลวงมากเเละนี่กลายเป็นตัวอย่างแก่เมืองอื่นๆ ทั่วโลกที่ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำของตนเอง เพราะปัญหาเดียวกันนี้อาจจะเกิดขึ้นกับตนในอนาคตอันใกล้ได้เช่นกัน

(เรียบรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG