พลเมืองญี่ปุ่นหกคน จะเป็นผู้ตัดสินชตากรรมของผู้ที่ต้องหาว่า ประกอบอาชญากรรมร้ายแรงแทนผู้พิพากษามืออาชีพที่เคยทำหน้าที่ดังกล่าวแต่พวกเดียว นับว่าเป็นการแก้ไขปรับปรุงระบบกฎหมายของญี่ปุ่นครั้งใหญ่ครั้งแรกในระยะหกสิบกว่าปีมานี้
เมื่อมีการพิจารณาคดี ซึ่งนาย คัตสุโยชิ ฟูจิอิ วัย 72 ปีตกเป็นจำเลยในข้อหาว่าเป็นฆาตกรในเดือนหน้า จุดที่มหาชนในญี่ปุ่นสนใจอาจไม่ใช่ตัวจำเลย แต่อาจเป็นคณะลูกขุนที่จะตัดสินชะตากรรมของเขาก็เป็นได้ จะมีการเรียกตัวลูกขุน 6 คนมาฟังคำให้การในคดีดังกล่าว ในตอนท้าย ลูกขุนทั้ง 6 คนจะเป็นพลเมืองญี่ปุ่นกลุ่มแรก ที่ตัดสินคดีในญี่ปุ่นนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
เสียง ทนายฝ่ายต่อสู้คดี ซาโตรู ชิโนมิยา หนึ่งในบรรดาทนายความผู้จะจับตาดูคดีนี้อย่างใกล้ชิดกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "จุดมุ่งหมายของการปฏิรูประบบตุลาการก็คือ เพื่อทำให้สังคมญี่ปุ่นเสรี ยุติธรรมและรับผิดชอบมากขึ้น" เขาสนับสนุน และผลักดันให้นำระบบที่เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ไซบาน-อิน "หรือระบบที่ให้พลเมืองเป็นผู้ตัดสินคดีนั้นมานานเป็นปีๆ แล้ว และยังเรียกร้องให้กระบวนการตุลาการมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น
ทนายความ ซาโตรู ชิโนมิยากล่าวไว้ตอนนี้ว่า "คนเขาพูดกันว่าผมเป็นทนายความผู้มองการณ์ในทางดีมากที่สุดในเนติบัณฑิตยสภา แต่ทว่าผมเชื่อมั่นในคน"
ญี่ปุ่นเลิกระบบลูกขุนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้พิพากษามืออาชีพคณะหนึ่งทำหน้าที่ตัดสินคดี
ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้อำนาจแก่อัยการอย่างกว้างขวาง ชนิดที่บรรดาทนายจำเลยร้องโวยว่าให้อำนาจล้นฟ้า อัยการมีอำนาจที่จะควบคุม และซักปากคำผู้ต้องสงสัยได้นาน 23 วัน โดยไม่ต้องมีทนายจำเลยมาร่วม และบังคับให้ผู้ต้องสงสัยเขียนถ้อยแถลง และคำสารภาพเป็นลายลักษณ์อักษร คำฟ้องที่ยื่นต่อผู้พิพากษานั้น ยังผลให้จำเลยโดนพิพากษาลงโทษเกือบร้อยทั้งร้อย
นายกของเนติบัณฑิตยสมาคม มาโกะโตะ มิยาซากิกล่าวว่าคดีเหล่านั้น เป็นเสมือนการพิจารณาคดีตัวประกัน คือผู้ต้องสงสัยจะโดนควบคุมตัวไว้จนยอมรับสารภาพ
เสียง เขากล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ใครที่ได้มาดูการพิจารณาคดีในญี่ปุ่น จะทราบว่านั่นไม่ใช่การพิจารณาคดีที่อัยการ และทนายความยกข้อเท็จจริงขึ้นมาหักล้างกัน แต่เป็นที่สำหรับอัยการจะนำเอกสารมามอบให้ผู้พิพากษาแค่นั้นเอง"
มีเสียงวิพากษ์ตำหนิระบบที่ใช้อยู่นี้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ชายวัย 62 ปีคนหนึ่งผู้ต้องคำพิพากษาลงโทษแบบผิดพลาดได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกเมื่อเดือนที่แล้ว นาย โตชิกาซู ซูกายาติดคุกอยู่ 17 ปีในข้อหาว่าฆ่าเด็กสาวรายหนึ่ง เขาเล่าว่าอัยการบังคับให้เขารับสารภาพทั้งๆ ที่เขามิได้ประกอบอาชญากรรมดังกล่าว เขาได้รับอิสรภาพหลังจากการตรวจ ดีเอ็นเอของเขาพบว่าไม่ใช่ดีเอ็นเอที่พบที่ศพของเด็กสาวผู้นั้น
ทนายความ ซาโตรู ชิโนมิยา กล่าวว่าถ้าใช้ระบบ "ไซบาน-อิน" แล้ว อย่างน้อยที่สุดพวกเขาจะต้องฟังข้อโต้เถียงอย่างจริงจังและระมัดระวัง
ขณะนี้ คณะลูกขุน 6 คนจะตัดสินคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ ผู้พิพากษามืออาชีพ 3 คนจะคอยแนะนำคณะลูกขุน เกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมาย การเลือกตัวคณะลูกขุนจะทำโดยการสุ่มตัวอย่างในหมู่ผู้ที่ลงทะเบียนเลือกตั้ง แต่นักการเมือง ผู้ประกอบอาชีพด้านกฎหมาย ผู้สูงอายุและนักเรียนอยู่ในข่ายยกเว้นจากการทำหน้าที่เป็นลูกขุน
เป็นที่หวังกันว่ากระบวนการใหม่นี้ จะทำให้คนญี่ปุ่นเข้าใจระบบตุลาการของญี่ปุ่นดีขึ้น เป็นการถ่วงดุลย์กับอัยการ และส่งเสริมให้พลเมืองมีความรับผิดชอบ
อดีตตุลาการศาลฎีกา คูนิโอะ ฮามาดากล่าวว่าเรื่องนั้น บังคับให้ชาวญี่ปุ่นคิดอย่างเป็นอิสระ
แต่ผู้ที่มีวิสัยว่าจะต้องเป็นลูกขุนนั้น ไม่ค่อยออกความคิดเห็นอย่างกระตือรือร้นเท่าไหร่นัก ผลของการสำรวจความคิดเห็นเมื่อเดือนเมษายน ระบุว่าประชาชนญี่ปุ่นราวร้อยละ 50 ไม่อยากเป็นลูกขุน อดีตตุลาการศาลฎีกา คูนิโอะ ฮามาดากล่าวว่า นั่นไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรสำหรับสังคมที่ไม่ส่งเสริมความคิดอิสระ และชาวญี่ปุ่นมักกังวลใจ เกี่ยวกับความคิดเห็นของสาธารณชนและไม่อยากทำตัวแยกออกไปจากหมู่นั่นเอง
ตอนนี้มีผู้ต้องสงสัยที่จะโดนพิจารณาคดีภายใต้ระบบใหม่อยู่ 130 กว่าคน แต่ผู้สนับสนุนระบบใหม่ต้องการให้การซักปากคำของตำรวจ มีการบันทึกลงวิดีโอเทปและมีการ
ตรวจสอบเพื่อให้วางใจได้ว่า ผู้พิพากษาจะไม่โน้มน้าวคณะลูกขุนในห้องวินิจฉัย ตัดสินใจตลอดจนต้องการให้คณะลูกขุนตัดสินใจอย่างเป็นเอกฉันท์ด้วย ระบบ "ไซบาน-อิน" กำหนดให้ถือเสียงข้างมากของคณะลูกขุน เป็นเกณฑ์รวมทั้งในคดีที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตด้วย