ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การผ่าตัดเสริมเลนส์สัมผัส หรือใส่คอนแทคเลนส์ไว้ในตา


มีคนจำนวนหลายล้านคนที่ใช้แว่นตา ในการแก้ไขปัญหาด้านสายตาของตน แต่ก็มีบางส่วนที่หันไปเข้ารับการผ่าตัด ที่เรียกว่า การทำ LASIK ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปทรงของกระจกตา หรื Cornea อย่างถาวร แต่ในปัจจุบัน มีทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น

ทอมมี่ ฮาร์เดอแมน นักศึกษาวิทยาลัยวัย 20 ปี ซึ่งเคยเข้ารับการรักษาด้วยการทำ LASIK แต่ไม่ได้ผลดีนัก เขาจึงเข้ารับการผ่าตัดเสริมเลนส์สัมผัสไว้ในตาของเขา

ทอมมีบอกว่า เขามองเห็นได้ชัดเจนมาก หลังการผ่าตัด แต่ยังไม่ค่อยเคยชินนัก กับการที่ไม่ได้สวมแว่นตา หรือว่าไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์

การผ่าตัดเสริมเลนส์สัมผัส หรือว่าการผ่าตัดเพื่อใส่คอนแทคเลนส์ไว้ในตานั้น มักจะใช้กับผู้ที่มีปัญหาด้านสายตาที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ และผู้ที่มีสายตาไม่ดี แบบที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นๆ

การผ่าตัดเสริมเลนส์สัมผัส เป็นการผ่าตัดเล็ก แพทย์จะกรีดตาให้เป็นช่องเล็กๆ ที่แผลติดหายเองได้ แล้วสอดใส่เลนส์พลาสติกลงไปครอบเลนส์ธรรมชาติไว้ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา และการผ่าตัดตา จะใช้เวลาข้างละ 10 นาที

การผ่าตัดที่ว่านี้ คล้ายๆ กับการผ่าตัดต้อกระจก เว้นแต่ว่า เลนส์ธรรมชาติของผู้ป่วยจะยังคงอยู่อย่างเดิม และการผ่าตัดนี้ ต่างกับการทำ LASIK ตรงที่ การผ่าตัดนี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปทรงของกระจกตา หรือ Cornea อย่างถาวร

นายแพทย์ Jeffrey Whitman จักษุศัลยแพทย์ กล่าวว่า เลนส์ที่ใส่ให้ผู้ป่วยนั้น สามารถถอดออกได้ ในกรณีที่ หากมีเทคโนโลยีใหม่ออกมา ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และว่าการผ่าตัดนี้ไม่มีผลกระทบต่อโครงส้รางใดๆ ของตาทั้งสิ้น

ทอมมี่ ฮาร์เดอแมนบอกว่า การผ่าตัดแบบนี้ ให้ทางเลือกแก่เขามากกว่าการทำ LASIK เพราะหากสายตามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในอนาคต ก็ยังสามารถแก้ไขได้

สถาบันการจักษุวิทยาแห่งอเมริกัน กล่าวว่า เนื่องจากบรรดาจักษุแพทย์คุ้นเคยกับวิธีการผ่าตัดแบบนี้ กันมากขึ้น จะทำให้การผ่าตัดแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา และทำกันแพร่หลายมากขึ้น ในบางประเทศมีการผ่าตัดใส่คอนแทคเลนส์แบบนี้มากว่า 20 ปีแล้ว

องค์การอาหารและยาของสหรัฐ อนุมัติให้มีการผ่าตัดเสริมเลนส์สัมผัสในสหรัฐเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และปัจจุบันก็กำลังคิดค้นพัฒนาเลนส์แบบใหม่ ซึ่งคาดว่าจะต้องดีกว่าที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


XS
SM
MD
LG