ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์นานาชาติพบ การกลายพันธุ์ของจีน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการสโตรคมากขึ้น


คณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติคณะหนึ่ง ค้นพบว่าการกลายพันธุ์ของจีน หรือเชื้อพันธุ์ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการสโตรคหรือโรคลมปัจจุบันมากกว่าเดิม 30 เปอร์เซ็นต์

อาการ สโตรคนี้เกิดจากการที่เส้นเลือดอุดตัน หรือการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำให้เป็นอัมพาต และการเสียชีวิต

นักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่าปัจจัยเสี่ยง อย่างเช่น การสูบบุหรี่และการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากๆ มีส่วนทำให้เกิดอาการสโตรค แต่เพิ่งมาทราบตอนนี้เองว่าจีน หรือเชื้อพันธุ์ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการสโตรคได้

นักวิจัย แอริค บอร์วิงเคิ้ลกล่าวว่า ผู้ที่มีจีนที่กลายพันธุ์มิได้หมายถึงว่า เป็นผู้ที่คาดล่วงหน้าได้เลยว่าจะเป็นสโตรค

คุณแอริค บอร์วิงเคิ้ลเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส ในนครฮิวสตัน และเป็นผู้ร่วมเขียนรายงานการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารการแพทย์ นิวอิงก์แลนด์ เจอร์เนิ้ล ออฟ เมดดิซีนในสัปดาห์นี้ เขากล่าวเน้นว่าปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อย่างเช่นความดันโลหิตสูง และการสะสมของไขมันในเลือด ซึ่งสามารถอุดตันทำให้ขาดโลหิตหล่อเลี้ยง ซึ่งไปทำให้เนื้อเยื่อของสมองตายไปนั้นก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเป็นสโตรคได้เช่นกัน

นักวิจัยแอริค บอร์วิงเคิ้ลกล่าวเสริมไว้ตอนนี้ว่า " ผลการวิจัยและเอกสารทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า มีจีนหลายตัวที่มีส่วนทำให้เสี่ยงต่อการเป็น สโตรค เมื่อพบจีนเหล่านี้ และนำมาตรวจร่วมกัน แล้วคนคนนั้น จะใช้ผลของการตรวจเป็นเครื่องชี้นำในการเลือกวิธีดำรงชีวิตของตนเองได้

แต่ศาสตราจารย์เดวิด โกลสไตน์ ผู้สอนวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุลที่มหาวิทยาลัยดุ๊ก รัฐนอร์ธแคโรไลนากล่าวว่าการตรวจจีนด้วยเครื่องมือทันสมัย อาจเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ท่านอาจารย์เขียนบทบรรณาธิการลงในวารสารการแพทย์ นิวอิงก์แลนด์ เจอร์เนิ้ล ออฟ เมดดิซีน ซึ่งชวนให้คิดว่า การศึกษาวิจัยในหมู่ประชาชนจำนวนมาก อย่างในรายของนักวิจัยแอริค บอร์วิงเคิ้ล ซึ่งเน้นเรื่องตำแหน่งแห่งที่และการกระจายของจีนที่ผิดปรกติ มิได้ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสาเหตุของโรค หรือวิธีรักษาโรคนั้นให้หายได้มากนัก

ท่านอาจารย์กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ข้อเท็จจริงทางพันธุศาสตร์ที่พบนั้น ส่วนมากมีผลกระทบน้อยเหลือเกิน และการพิจารณาจากเรื่องอย่างเช่นประวัติของครอบครัว ก็น่าจะเพียงพอแล้ว"

แต่อาจารย์เดวิด โกลสไตน์กล่าวว่า การศึกษาวิจัยในหมู่ประชากร อย่างเช่นการศึกษาวิจัยที่บ่งชี้ถึงการกลายพันธุ์ของจีนนั้น อาจเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยมากกว่าผู้ป่วย เนื่องจากว่าการศึกษาวิจัยที่ว่านั้นชี้ไปที่ส่วนของจีโนมของคน ซึ่งช่วยจำกัดวงสำหรับการค้นหาจีนที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเป็นสโตรคนั้นให้แคบลง


XS
SM
MD
LG