ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เกษตรกรในอินเดียชุมนุมประท้วงบริษัทผลิตรถยนต์ Tata Motor


เวลานี้เกษตรกรจำนวนมากที่รัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียกำลัง ประท้วงโครงการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ราคาถูกที่สุดในโลกของบริษัท tata Motors อยู่ ซึ่งก็ส่งผลให้ทางบริษัทต้องระงับโครงการดังกล่าวชั่วคราว

อย่างไรก็ตาม การประท้วงที่เกิดขึ้นนับเป็นการสะท้อนปัญหาอย่างหนึ่งที่กำลังลุกลามไปทั่วอินเดีย นั่นคือ ทำอย่างไรบรรดาเกษตรกรจึงจะยอมย้ายออกจากที่ดินของตนเอง เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่

รถยนต์นาโนของบริษัท tata Motors ที่ได้ชื่อว่าเป็นรถยนต์ราคาถูกที่สุดในโลก มีกำหนดการออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคมนี้ โดยในช่วงแรกที่บริษัท tata กำลังมองหาพื้นที่สร้างโรงงานผลิตรถยนต์รุ่นนี้ รัฐบาลของรัฐเบงกอลตะวันตก พยายามอย่างยิ่งที่จะจูงใจบริษัท tata ด้วยการเวนคืนที่ดินราว 1 พันเอเคอร์หรือ ประมาณ 4 ตาราง กม.จากชาวนาใน Singur เพื่อเป็นที่ตั้งโรงงาน อย่างไรก็ตาม ที่ดินดังกล่าวกลายเป็นประเด็นความขัดแย้ง เมื่อเกษตรกรบางคนร่วมกับนักการเมือง ฝ่ายค้านของอินเดียเรียกร้องขอที่ดินคืน นำไปสู่การประท้วงใหญ่เมื่อเดือนที่แล้ว ที่กลุ่มผู้ประท้วงพากันปิดถนนและกีดกันไม่ให้คนงานไปทำงาน จนในที่สุดบริษัท tata Motors ต้องยอมปิดโรงงานดังกล่าวชั่วคราว เวลานี้ทางจนท.รัฐเบงกอล ตะวันตกได้พยายามเจรจากับกลุ่มผู้ประท้วงแล้ว เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้เกิดความ มั่นใจในหมู่นักลงทุน ในขณะที่คุณ Mamata Banerjee ผู้นำพรรคการเมืองที่สนับ สนุนการประท้วงครั้งนี้ ก็ต้องการให้มีการประนีประนอมเพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย

ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าการประท้วงที่ Singur สะท้อน ให้เห็นถึงปัญหาที่หยั่งรากลึกลงไปกว่านั้น กล่าวคือปัจจุบันเศรษฐกิจอินเดียกำลัง เจริญเติบโต อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการขยายโรงงาน ในขณะที่รัฐบาลส่วนท้องถิ่น ต่างก็ต้องการให้มีโรงงานมาตั้งในเขตของตน แต่ปัญหาก็คือทำอย่างไรเกษตรกร จึงจะยอมย้ายออกจากที่ดินของตนเองเพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่

คุณ Anjan Roy จนท.อาวุโสแห่งสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมต้องการพื้นที่ในการสร้างโรงงาน และว่าปัจจุบันที่ดิน ทั้งหมดในอินเดียราว 63% เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ซึ่งในจำนวนนี้ยังมี อีกมากเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่ยังไม่มีใครเข้าไปทำการเกษตร นอกจากนี้ ทั้งจนท.และนักธุรกิจยังให้เหตุผลว่า โรงงานที่เข้าไปตั้งในเขตชนบทจะช่วยสร้าง งานในพื้นที่ห่างไกลที่ประชาชนหลายล้านคนไม่มีงานทำด้วย

โรงงานผลิตรถยนต์นาโนไม่ใช่โรงงานเดียวที่ต้องเผชิญกับกลุ่มผู้ประท้วง เรียกร้องขอที่ดินคืน เพราะที่รัฐ Orissa ชาวบ้านนับพันๆคนก็เดินขบวนต่อต้าน แผนการสร้างโรงงานเหล็กกล้าของบริษัท Posco จากเกาหลีใต้เช่นกัน โดยทาง ชาวบ้านร้องเรียนว่า การเข้ามาของโรงงานอุตสาหกรรมทำให้พวกตนต้องย้ายออก จากที่ดินของตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในหลายๆพื้นที่ของอินเดีย

ในขณะเดียวกัน นักสังคมวิทยาหลายคนมองว่า การประท้วงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในอินเดียที่ซึ่งประชากรราว 2 ใน 3 ยังต้องเลี้ยงชีพด้วยการ ทำการเกษตร นอกจากนี้ การที่รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืนที่ดินอย่างไม่เหมาะสม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้ง

คุณ Sunita Narain แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์และการพัฒนาในกรุงนิวเดลลี ให้ความเห็นว่ากฎหมายที่ดินของอินเดียนั้นเก่าแก่ล้าสมัย และไม่มีการระบุอย่าง ชัดเจนถึงเงินชดเชยค่าเวนคืนที่ดินในชนบท รวมถึงสิทธิ์ในทรัพยากรธรรมชาติ ที่อยู่ในที่ดินนั้นด้วย สิ่งที่ระบุไว้มีเพียงว่าคนจนในอินเดียอาศัยอยู่บนทรัพยากรของ ชาติและต้องนำผลประโยชน์ที่ได้มาแบ่งปันหรือให้มีการพัฒนาผืนดินนั้นในด้านอื่นๆ

สุดท้ายนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาต่างเตือนว่า การเผชิญหน้าระหว่าง ภาคธุรกิจกับเกษตรกรในอินเดียจะยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากอินเดียยังคง มุ่งหน้าเปลี่ยนแปลงจากประเทศเกษตรกรรมไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมอยู่ต่อไป

XS
SM
MD
LG