ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ลำแม่น้ำโขงช่วงจากลาวถึงเวียดนามมีปลาบึก หรือปลาโลมาน้ำจืดอาศัยอยู่หลายพันตัว ก่อนที่การสู้รบและการจับปลามากเกินไปเป็นเวลานานกว่าสามสิบปีเกือบจะทำให้ปลาบึก หมดสิ้นไป
หลายปีที่ผ่านมา มีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยคุ้มครองปลาบึก การศึกษาวิจัยของกองทุนสัตว์ป่าโลกเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีปลาบึกเหลืออยู่เพียง 71 ตัวในช่วงสั้น ๆ ของแม่น้ำโขงจากภาคใต้ของลาวถึงภาคเหนือของกัมพูชาทื่จัดเป็นเขตท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่วิตกกันว่า โครงการนี้จะช่วยอนุรักษ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่นี้ไว้ได้หรือไม่
ที่หมู่บ้านซัมบอร์ ริมฝั่งแม่น้ำโขงทางภาคเหนือของกัมพูชา ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่เป็นแหล่งผสมพันธุ์ปลาบึกแห่งสำคัญแห่งหนึ่ง มีนักท่องเที่ยวอาสาไปอยู่และทำงานอยู่เสมอ นักท่องเที่ยวอาสาเหล่านั้นพยายามที่จะช่วยคุ้มครองแหล่งที่อยู่อาศัยของโดยธรรมชาติ ของปลาบึกหรือปลาโลมาน้ำจืดที่รู้จักกันในประเทศตะวันตกในชื่อ ปลาโลมาอิรวดีแม่น้ำโขง (Mekong Irrawaddy Dolphin) ขณะเดียวกันก็พยายามที่จะปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ยากจนมากในบริเวณนั้นด้วย
กลุ่มพัฒนาชนบทของกัมพูชากำลังทำงานพัฒนาการเกษตรในบริเวณนั้น รวมทั้งการเพาะปลูกและทำฟาร์มสัตว์น้ำ และปรับปรุงระบบสุขาภิบาล นักท่องเที่ยวอาสาก็ช่วยในโครงกาพัฒนาชุมชน อย่าง ขุดบ่อน้ำ สร้างห้องน้ำห้องส้วม และที่สำคัญคือการอนุรักษ์ปลาบึกที่เกรงว่าจะสูญพันธุ์ โดยจัดหาทางเลือกอื่นให้แกชาวบ้านชาวประมงท้องถิ่นในการทำมาหาเลี้ยงชีพจากการท่องเที่ยว และมีการห้ามการจับปลาโดยการใช้แหอวนและการระเบิด และให้ความรู้แก่ชาวบ้านให้เห็นคุณค่าของปลาบึกในฐานะที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญที่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนปลาบึกจะเพิ่มขึ้นบ้างในหลายเดือนหลังจากเริ่มโครงการ แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าโครงการนี้จะมีผลยั่งยืนมากน้อยแค่ไหนเพียงใดในการอนุรักษ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เหลืออยู่นี้
นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า มีโรคลึกลับอย่างหนึ่งที่ทำให้ลูกปลาบึกตายไป และเป็นผลเสียหายต่อโครงการต่างๆ ที่กำลังได้ผลดี บางคนโทษว่าเป็นเพราะสารเคมีจากเหมืองทองในบริเวณใกล้ ๆ และเกรงว่าโรคประหลาดนี้อาจจะทำให้ปลาหมึกสูญพันธุ์ในอีกไม่ช้า
แต่อย่างน้อยโครงการเหล่านี้ ก็ยังเป็นประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านยากจน และทำให้นักท่องเที่ยวที่อาสามาช่วยงานได้มาเห็นและเรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านและได้ประสบการณ์ที่ต่างออกไป