พระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งผู้พัวพันกับการประท้วงเมื่อเดือนกันยายนเรียกร้องให้ประชาคมโลกหยุดสนับสนุน เลิกรับรองและยุติการขายอาวุธให้รัฐบาลทหารพม่า
พระภิกษุอู ออบาตะหลบหนีจากพม่าเข้ามาอยู่ในเมืองไทยเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากหลบซ่อนตัวอยู่เกือบสองเดือนหลังจากรัฐบาลทหารพม่ากำหราบปราบปรามการประท้วงโดยสงบตามท้องถนนซึ่งพระภิกษุสงฆ์ด้วยกันเป็นแกนนำ
พระภิกษุ อู ออบาตะกล่าวผ่านล่ามว่า ประชาคมโลกต้องไม่สนับสนุนพม่าเลยและควรสนับสนุนเรื่องการห้ามจำหน่ายอาวุธให้รัฐบาลทหารพม่า
พระภิกษุอู ออบาตะกล่าวผ่านล่ามว่า ท่านคงเห็นแล้วว่าพวกนายพลพม่าใช้ปืนยิงสังหารและบดขยี้ประชาชนพม่า และท่านขอวิงวอนให้ประชาคมระหว่างประเทศที่มาร่วมการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษย์ชนอยู่ ณ ที่นี้ให้ร่วมงานกันและเร่งเร้าประเทศที่ขายอาวุธให้พม่าเลิกทำเช่นนั้น
เมื่อเดือนกันยายน พระภิกษุสงฆ์พม่าเป็นแกนนำในการเดินขบวนอย่างสงบในกรุงย่างกุ้งเพื่อประท้วงการที่น้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้นอย่างมากมาย ต่อมาการเดินขบวนขยายวงออกไปกลายเป็นการประท้วงรัฐบาลทหารพม่าครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นกันมาในช่วงเกือบ 20ปี ด่อมาทหารเข้าปราบผู้เดินขบวนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 31 รายทั้งนี้ตามรายงานของสหประชาชาติ มีผู้โดนส่งตัวเข้าคุกหลายพันคนเนื่องจากการเพียรพยายามหยุดยั้งการเดินขบวนดังกล่าว
พระภิกษุอู ออบาตะกล่าวผ่านล่ามว่าท่านจะไม่ลืมภาพที่ท่านมองเห็นทางฟากตะวันออกของพระเจดีย์ชเวดากองอันเป็นย่านที่พระภิกษุสงฆ์โดนทหารพม่ายิง และเมื่อท่านหล่านั้นล้มลงก็โดนทหารกระทืบด้วยรองเท้าบู๊ตที่ตรงศีรษะและเอากระบองหวดซ้ำด้วย
หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐและสหภาพยุโรปลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่าอย่างรุนแรง แต่หลายฝ่ายที่เข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับพม่าต้องการให้10ภาคีของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พิจารณาเรื่องการลง โทษพม่าแทนที่จะยึดมั่นอยู่กับหลักการไม่ก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในของภาคีด้วยกัน
คุณเดบบี้ สต็อดฮาร์ด ผู้ประสานงานของ Altsean กลุ่มที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชน ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครกล่าวว่ากลุ่มของเธอต้องให้หาทางมาแก้ปัญหาทางการเมืองโดยสันติเพื่อเห็นแก่ชาวพม่า แต่ทว่าเพื่อเห็นแก่ประชาชนทั่วทั้งภูมิภาคนี้ เราต้องการเจตนารมณ์ทางการเมืองที่เข้มแข็งและว่าเราต้องการให้สมาคมอาเซียนและอินโดนีเซียพิสูจน์ให็นว่ามีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่เข้มแข็ง ซึ่งหมายความว่าสมาคมอาเซียนและอินโดนีเซียจะต้องพิจารณาเรื่องการลงโทษพม่าอย่างจริงจัง
ในวัพฤหัสบดี ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านพม่า อิบราฮิม กัมบารีเดินทางไปถึงพม่าเพื่อปฏิบัติภารกิจของเขาใหม่เพื่อพยายามทำให้รัฐบาลทหารพม่ายอมเริ่มการเจรจากับฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูปทางการเมือง เขาเดินทางถึงพม่าหลังจากรัฐบาลทหารพม่าประกาศให้ทราบแผนการที่จะให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนพฤษภาคมและต่อมาจะให้มีการเลือกตั้งในปีพุทธศักราช 2553 นายกัมบารีกล่าวว่าเรื่องเหล่านั้นเป็นสัญญาณที่ดี