ขณะนี้ในอินเดียกำลังมีพายุทางการเมือง ในเรื่องโครงการสร้างคลองเดินเรือในภาคใต้ของอินเดีย นักรณรงค์ชาวฮินดูบอกว่า คลองที่ว่านั้นจะทำลายสะพานที่ชาวฮินดูเชื่อว่า “พระราม” เทพของชาว ฮินดูกับกองทัพวานรของพระองค์สร้างไว้
โครงการทดลองซึ่งเรียกกันว่าคลองสุเอสของอินเดียนั้น จะเป็นการขุดลอกช่องทางการเดินเรือในช่อง แคบระหว่างอินเดีย กับศรีลังกาให้ลึกพอที่จะให้เรือสินค้าใหญ่ๆ แล่นอ้อมแหลมปลายสุดของอินเดียได้รวดเร็วขึ้น แต่บรรดานักรณรงค์ของชาวฮินดูบอกว่า ไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ และว่าคลองนั้น จะยังความเสียหายแก่แนวสันดอน ซึ่งเป็นหินปูนใต้น้ำยาว 50 กม. ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าสร้างขึ้นโดย กองทัพวานร ที่ช่วยพระรามซึ่งชาวฮินดูซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในการข้ามไปยังเกาะลังกา เพื่อช่วย พระชายาคือนางสีดาที่ถูกลักพาตัวไป
กลุ่มชาวฮินดูหลายกลุ่มยื่นคำร้องเรียนต่อศาลสูงสุด เพื่อที่จะอนุรักษ์แนวหินซึ่งเรียกกันว่า “สะพาน พระราม” นั้นไว้ รัฐบาลอินเดียตอบสนองเรื่องนี้โดยการออกคำแถลงของศาลเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจเป็นการตอบสนองที่ไม่สู้ดีนักในอินเดีย ซึ่งมีพลเมืองนับถือศาสนาฮินดูราว 900 ล้านคน คำแถลงของศาลดังกล่าวระบุว่า ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดๆ ที่พิสูจน์ได้ว่า พระรามคือตัวละคอนใดๆ ในมหากาพย์ “รามายะนะ” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวฮินดู ว่ามีตัวตนจริงๆ ตำแถลงของศาลระบุว่า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า แนวสันดอนหินปูนนั้น เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
คำแถลงของศาลเช่นนั้น ฟังไม่ขึ้นสำหรับชาวฮินดูแนวเคร่งอย่าง อัศวะ ฮินดู ปาริชาติ หรือสภาฮินดูโลก เลขาธิการของกลุ่มดังกล่าว กล่าวว่ารัฐบาลเคลือบแคลงใจในความเชื่อถือศรัทธาของชาวฮินดู
ประวีน โทกาเดีย เลขาธิการสภาฮินดูโลกกล่าวว่า ทุกแห่งในโลก ความเชื่อถือศรัทธา ควรได้รับการ ยอมรับนับถือ แต่นี่รัฐบาลตั้งข้อสงสัยในความเชื่อถือศรัทธาของชาวฮินดูหลายล้านคน เขากล่าวว่า การมีประกาศเช่นนั้นเท่ากับเป็นการดูหมิ่นสังคมชาวฮินดู เรื่องนี้มีแง่มุมด้านการเมืองเข้ามาเกี่ยว ข้องด้วย เพราะเป็นเรื่องที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อพรรคฝ่ายค้านสำคัญ คือ พรรค ภาราติยะ ชะนาตะซึ่งเคยขึ้นมามีอำนาจในช่วงทศวรรษ 1990 โดยอาศัยแนวอุดมการณ์ฮินดู
นักวิเคราะห์ทางการเมืองกล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญ ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ว่า อินเดียอาจต้องมีการ เลือกตั้งทั่วไปห่อนกำหนดก็เป็นได้ ส่วนรัฐบาลอินเดียซึ่งนำโดยพรรค Congress กำลังพยายามควบ คุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากคำประกาศของศาลเรื่องสะพานพระราม โดยการสั่งพักงานเจ้าหน้าที่
หน่วยงานสำรวจทางโบราณคดีของอินเดีย 2 คน ผู้ร่างคำประกาศของศาลดังกล่าว และรัฐมนตรี หลายคนพยายามสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่า รัฐบาลไม่มีข้อสงสัยใดๆ ในความเชื่อถือศรัทธาของชาวฮินดู แต่นักรณรงค์ชาวฮินดูบอกว่า มีแผนการจะเดินขบวนทั้งในประเทศในปลายเดือนนี้ ในการพยายามไม่ให้มีการขุดลอกช่องแคบระหว่างอินเดียกับศรีลังกา เพื่อนุรักษ์แนวสันดอนหินปูนที่เรียกกันว่าสะพานพระรามนั้นไว้ รัฐบาลอินเดียกล่าวว่า จะปรึกษาหารือพรรคการเมืองต่างๆ ทุกพรรคก่อนจะตัดสินใจเรื่องโครงการนี้