อาจารย์ณรงค์ เล่าว่าตอนนี้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Community Music and Dance Academy ที่ University of Missouri at Kansas City แล้วก็เป็นนักประพันธ์เพลงซึ่งเคยได้รับรางวัลระดับนานาชาติเช่น Toru Takemitsu Award, American Composers Competition, Alexander Zemlinsky Award, แล้วก็ตอนนี้เป็น finalist ของ Annapolis Charter 300 Competition
อาจารย์ณรงค์เริ่มสนใจดนตรีมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อมาเรียนต่อชั้นมัธยมที่กรุงเทพฯ ได้เข้าร่วมวงโยธวาธิตของโรงเรียน และรู้สึกว่า ดนตรี เป็นเรื่องสนุกและได้ผ่อนคลาย
พอหลังจากที่ จบโรงเรียนมัธยม อาจารย์ณรงค์ ไปเรียนต่อ เป็นดนตรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ พอจบก็เริ่มสนใจด้านการประพันธ์เพลง เพราะว่า เมื่อก่อนอยากเป็นนักเปียโน แต่นักเปียโนต้องซ้อมเยอะมาก ก็เลยรู้สึกเบื่อและอยากทำกิจกรรมอย่างอื่น แล้วอาจารย์ Kit Young เป็นผู้ชี้นำว่า ให้ลองเรียน การประพันธ์เพลง จากอาจารย์ดร. ณรงค์ฤทธิ์ พอเรียนจบจากอาจารย์ดร. ณรงค์ฤทธิ์ เรียนได้ประมาณสองปี ก็ได้ทุนให้มาเรียนต่อปริญญาโทที่ Illinois State University พอจบโทก็ได้ทุนอีก ให้มาเรียนปริญญาเอกที่ University of Missouri at Kansas City ตอนนี้ อาจารย์ที่เป็นอาจารย์ที่สำคัญที่สุดในการเรียนการประพันธ์เพลง คือ อาจารย์ Dr. Chen Yi ซึ่งเป็นคนจีน
คีตกวีที่เป็นแรงบันดาลใจของอาจารย์ณรงค์ มีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่า อย่างเช่น Beethoven, Stravinsky หรือว่า รุ่นใหม่ เช่น John Corigliano แต่ว่า บุคคลที่ให้แรงบันดาลใจ และช่วยเหลือทางด้านดนตรี มีอยู่ไม่กี่ท่าน ท่านแรกคือ คือ คุณแม่บุญธรรม ดร. วิภา คงคากุล อาจารย์ Kit Young และอาจารย์ Bennett Lerner ซึ่งเป็นผู้ช่วยชี้นำเรื่องดนตรีสมัยใหม่ และท่านสุดท้ายคือ ดร. ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ซึ่งเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์เพลงคนแรก
ในขณะที่กำลังทำปริญญาเอกอยู่นี้ อาจารย์ณรงค์ ยังเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนที่คณะด้วย ระหว่างที่ทั้งเรียนทั้งสอนอยู่นี้ อาจารย์ณรงค์ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนักศึกษาไทยและต่างชาติว่า การเรียนการสอน มีทั้งส่วนเหมือนและส่วนต่าง คือเด็กๆ ยังไงก็ยังเป็นเด็กอยู่ดี เพราะฉะนั้น ในด้านความตั้งใจเรียน เด็กไทยบางครั้งจะมากกว่าด้วยซ้ำ แต่เด็กไทยอาจจะขาดในด้านการกล้าแสดงออก หรือการกล้าถามคำถาม เพราะฉะนั้น เวลาที่เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน composition เป็นเรื่องของอะไรที่อยู่ข้างในตัวของเราเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเขาไม่กล้าคืด ไม่กล้าแสดงออก หรือถามคำถาม ลองผิดลองถูก อาจจะทำให้การศึกษาทางด้านการประพันธ์เพลง เป็นไปได้ช้าลง
สำหรับโครงการที่อาจารย์ณรงค์กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน อาจารย์ณรงค์บอกว่า ตอนนี้กำลังแต่งเพลงให้กับ Annapolis Symphony แต่งเพลงโดยใช้ เครื่องดนตรีเชลโล่ แล้วก็ กลองของไทย คือเป็นโทนรำมะนา ให้กับนักเชลโล่ที่นิวยอร์ค ชื่อ Madeleine Shapiro และพยายามช่วยเหลือเรื่องการศึกษาการประพันธ์เพลงในประเทศไทย โดยทำ Composition Festival ที่เมืองไทย ปีนี้เป็นปีที่สามแล้วที่เราทำ จัดทุกปีที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ จะจัดทุกสัปดาห์ที่สามของเดือนกรกฏาคม ปีหน้าจะตรงกับวันที่ 16-17-18 เดือนกรกฏาคม จะเชิญ composers และวงดนตรีจากที่อเมริกา และต่างประเทศ เพื่อจะให้เด็กไทยได้เจอกับนักประพันธ์เพลง และมีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนะ ปีหน้าเราจะได้นักประพันธ์เพลงจากอเมริกา และได้ New York New Music Ensemble ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบของวง New Music Ensemble ที่ดีที่สุดในโลก จะไปแสดงคอนเสิร์ทให้เด็กไทยได้ดู
สำหรับโครงการในอนาคตนั้น อาจรย์ณรงค์บอกว่า กำลังคุยกับกระทรวงวัฒนธรรม และมูลนิธิบางกอกซิมโฟนี่ออร์เคสตร้า ว่าเราควรจะจัด เป็นโครงการนำเพลงของเด็กมาเล่นด้วยวงออร์เคสตร้า ให้มีประสบการณ์ในการบรรเลงกับวงออร์เคสตร้า ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นครงการที่จะพยายามรีบทำภายในปีหน้า
อาจารย์ณรงค์เริ่มสนใจดนตรีมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อมาเรียนต่อชั้นมัธยมที่กรุงเทพฯ ได้เข้าร่วมวงโยธวาธิตของโรงเรียน และรู้สึกว่า ดนตรี เป็นเรื่องสนุกและได้ผ่อนคลาย
พอหลังจากที่ จบโรงเรียนมัธยม อาจารย์ณรงค์ ไปเรียนต่อ เป็นดนตรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ พอจบก็เริ่มสนใจด้านการประพันธ์เพลง เพราะว่า เมื่อก่อนอยากเป็นนักเปียโน แต่นักเปียโนต้องซ้อมเยอะมาก ก็เลยรู้สึกเบื่อและอยากทำกิจกรรมอย่างอื่น แล้วอาจารย์ Kit Young เป็นผู้ชี้นำว่า ให้ลองเรียน การประพันธ์เพลง จากอาจารย์ดร. ณรงค์ฤทธิ์ พอเรียนจบจากอาจารย์ดร. ณรงค์ฤทธิ์ เรียนได้ประมาณสองปี ก็ได้ทุนให้มาเรียนต่อปริญญาโทที่ Illinois State University พอจบโทก็ได้ทุนอีก ให้มาเรียนปริญญาเอกที่ University of Missouri at Kansas City ตอนนี้ อาจารย์ที่เป็นอาจารย์ที่สำคัญที่สุดในการเรียนการประพันธ์เพลง คือ อาจารย์ Dr. Chen Yi ซึ่งเป็นคนจีน
คีตกวีที่เป็นแรงบันดาลใจของอาจารย์ณรงค์ มีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่า อย่างเช่น Beethoven, Stravinsky หรือว่า รุ่นใหม่ เช่น John Corigliano แต่ว่า บุคคลที่ให้แรงบันดาลใจ และช่วยเหลือทางด้านดนตรี มีอยู่ไม่กี่ท่าน ท่านแรกคือ คือ คุณแม่บุญธรรม ดร. วิภา คงคากุล อาจารย์ Kit Young และอาจารย์ Bennett Lerner ซึ่งเป็นผู้ช่วยชี้นำเรื่องดนตรีสมัยใหม่ และท่านสุดท้ายคือ ดร. ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ซึ่งเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์เพลงคนแรก
ในขณะที่กำลังทำปริญญาเอกอยู่นี้ อาจารย์ณรงค์ ยังเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนที่คณะด้วย ระหว่างที่ทั้งเรียนทั้งสอนอยู่นี้ อาจารย์ณรงค์ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนักศึกษาไทยและต่างชาติว่า การเรียนการสอน มีทั้งส่วนเหมือนและส่วนต่าง คือเด็กๆ ยังไงก็ยังเป็นเด็กอยู่ดี เพราะฉะนั้น ในด้านความตั้งใจเรียน เด็กไทยบางครั้งจะมากกว่าด้วยซ้ำ แต่เด็กไทยอาจจะขาดในด้านการกล้าแสดงออก หรือการกล้าถามคำถาม เพราะฉะนั้น เวลาที่เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน composition เป็นเรื่องของอะไรที่อยู่ข้างในตัวของเราเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเขาไม่กล้าคืด ไม่กล้าแสดงออก หรือถามคำถาม ลองผิดลองถูก อาจจะทำให้การศึกษาทางด้านการประพันธ์เพลง เป็นไปได้ช้าลง
สำหรับโครงการที่อาจารย์ณรงค์กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน อาจารย์ณรงค์บอกว่า ตอนนี้กำลังแต่งเพลงให้กับ Annapolis Symphony แต่งเพลงโดยใช้ เครื่องดนตรีเชลโล่ แล้วก็ กลองของไทย คือเป็นโทนรำมะนา ให้กับนักเชลโล่ที่นิวยอร์ค ชื่อ Madeleine Shapiro และพยายามช่วยเหลือเรื่องการศึกษาการประพันธ์เพลงในประเทศไทย โดยทำ Composition Festival ที่เมืองไทย ปีนี้เป็นปีที่สามแล้วที่เราทำ จัดทุกปีที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ จะจัดทุกสัปดาห์ที่สามของเดือนกรกฏาคม ปีหน้าจะตรงกับวันที่ 16-17-18 เดือนกรกฏาคม จะเชิญ composers และวงดนตรีจากที่อเมริกา และต่างประเทศ เพื่อจะให้เด็กไทยได้เจอกับนักประพันธ์เพลง และมีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนะ ปีหน้าเราจะได้นักประพันธ์เพลงจากอเมริกา และได้ New York New Music Ensemble ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบของวง New Music Ensemble ที่ดีที่สุดในโลก จะไปแสดงคอนเสิร์ทให้เด็กไทยได้ดู
สำหรับโครงการในอนาคตนั้น อาจรย์ณรงค์บอกว่า กำลังคุยกับกระทรวงวัฒนธรรม และมูลนิธิบางกอกซิมโฟนี่ออร์เคสตร้า ว่าเราควรจะจัด เป็นโครงการนำเพลงของเด็กมาเล่นด้วยวงออร์เคสตร้า ให้มีประสบการณ์ในการบรรเลงกับวงออร์เคสตร้า ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นครงการที่จะพยายามรีบทำภายในปีหน้า