เมื่อวันจันทร์ องค์กร USA for Innovation เผยข้อความในจดหมายเปิดผนึกที่เร่งเร้าให้ผู้แทนการค้าสหรัฐ และ รมต.กพ. ของสหรัฐปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ ในบริบทของคำขู่ของประเทศไทยที่จะใช้สิทธิตามกฏขององค์การการค้าโลกในการผลิตหรืออนุญาตให้มีการนำเข้ายาต้านเอดส์ที่สิทธิบัตรยังไม่หมดอายุ
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ บริษัทยาเภสัชกรรม Abbot Laboratories รัฐอิลลินอยล์ไม่ยอมขายยาขนานใหม่ 7 ขนานในประเทศไทย แต่การทำเช่นนั้นดูเหมือนจะก่อให้เกิดผลในทางลบ เพราะไปกระตุ้นให้ผู้บริโภคในประเทศไทยคว่ำบาตรผลิตภัณฑ์ของ Abbot Laboratories ทำให้ผู้สนับสนุนสิทธิมนุษยชนพากันออกมาสนับสนุนนโยบายของประเทศไทย และเป็นชนวนให้ผู้ถือหุ้นบางส่วนของบริษัทเภสัชกรรมแห่งนั้นประท้วงการกระทำของบริษัท โดยพวกเขามีความคิดเห็นว่าบริษัทเภสัชกรรมแห่งนั้นควรขายยารุ่นใหม่ล่าสุดในประเทศไทย
มาตอนนี้ ประธานฝ่ายบริหารของบริษัทเภสัชกรรม Abbot Laboratories ไมลส์ ดีไวท์ กล่าวว่าทางบริษัทกำลังเสนอขายยาต้านเอดส์รุ่นใหม่ คาเลตร้าในประเทศไทย โดยจะมีการลดราคายาดังกล่าวให้ ความเคลื่อนไหวที่ว่านี้เป็นการกลับการตัดสินใจของบริษัทเภสัชกรรม Abbot Laboratories ที่จะไม่ขายยาคาเลตร้ารุ่นใหม่ในประเทศไทย หลังจากรัฐบาลไทยประกาศว่าจะอนุญาตให้ขายยาซึ่งไม่มีชื่อทางการค้า และยายี่ห้ออื่นๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมงคล ณ สงขลากล่าวในวันจันทร์ว่า ประเทศไทยกำลังพิจารณาข้อเสนอของบริษัทเภสัชกรรม Abbot Laboratories แต่ท่าน รมต. ไม่ยอมบอกว่าประเทศไทยจะให้คำรับรองบริษัทเภสัชกรรม Abbot Laboratories ว่าจะไม่ออกใบอนุญาตเชิงบังคับซึ่งจะอนุญาตให้มีการซื้อ หรือการผลิตยาแบบที่ไม่มีชื่อทางการค้าเลียนแบบยาคาเลตร้า อย่างที่บรัษัทเภสัชกรรมดังกล่าวต้องการหรือไม่ ทาน รมต. กล่าวว่าจะต้องคอยไปก่อนจนกว่าการเจรจาต่อรองจะเสร็จเรียบร้อย
สำหรับประเทศไทยนั้น บริษัทเภสัชกรรม Abbot Laboratories มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ยาปีละประมาณ 30 ล้านดอลล่าห์ บริษัทเภสัชกรรมใหญ่ๆ กำลังส่งเสริมการขยายผลิตภัณฑ์ยาของตนในตลาดอย่างเช่น ประเทศไทย เพราะเหตุผลหลายประการ รวมถึงการเกิดปฏิกิริยาต่อต้านยายี่ห้อใหม่ที่มีราคาแพงในตลาดสหรัฐ และตลาดของประเทศตะวันตกอื่นๆ
บริษัทเภสัชกรรมเมิร์กคาดว่ารายได้จากตลาดที่กำลังเติบโตต่างๆ จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวภายในปี พศ. 2553 โดยจะมีวงเงินสูงกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
สำหรับยอดรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในตลาดต่างประเทศของบริษัทเภสัชกรรม Abbot Laboratories นั้นมีจำนวน 1,680 ล้านดอลล่าห์ สำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งสูงเกือบจะเท่าๆ กับปริมาณการขายของบริษัทในสหรัฐซึ่งมีวงเงิน 1,690 ล้านดอลล่าห์ ยอดขายของบริษัทเภสัชกรรม Abbot Laboratories ในสหรัฐสำหรับปีที่แล้วมีจำนวน 11,500 ล้านดอลล่าห์ ซึ่งนับว่าลดลงไป 7.5 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ยอดขายในต่างประเทศมีจำนวน 10,900 ล้านดอลล่าห์ ซึ่งสูงขึ้นกว่าเดิมเกือบ 11 เปอร์เซนต์
คุณพอล คอร์น แห่งองค์การแพทย์ไร้พรมแดนเตือนว่า กล่าวโดยพื้นฐานแล้วบริษัทเภสัชกรรม Abbot Laboratories ยังคงเอาผู้ป่วยเป็นเสมือนตัวประกันในการบังคับรัฐบาลไทยให้ถอยฉาก จากการออกใบอนุญาตแบบบังคับ และว่าบราซิลเคยรับข้อเสนอแบบนั้น และพบว่าตัวต้องจ่ายค่ายาในราคาที่แพงกว่าที่ประเทศอื่นๆ เพราะบราซิลต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทยาเหล่านั้น