ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีถือเป็นการสิ้นสุดฤดูกาลพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ของทุกปี เพราะพื้นที่ดังกล่าวจะเริ่มมีอากาศหนาวเย็นชัดและลมกระโชกแรงระดับเฮอร์ริเคน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อภารกิจพิชิตยอดเขาที่สูงสุดในโลก
ปีนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในการปีนเขาเอเวอร์เรสต์ในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ตั้งแต่เหตุการณ์จราจรบนยอดเขาติดขัดจากนักท่องเที่ยวแออัดทะลักล้น ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตของนักปีนเขามากเป็นประวัติการณ์ VOA Thai จึงรวบรวม 10 เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวิกฤตเทือกเขาเอเวอร์เรสต์ในปีนี้มาฝากกัน
8,850 คือ ระดับความสูง (เมตร) จากระดับน้ำทะเลของยอดเขาเอเวอร์เรสต์
5,000 คือ จำนวนผู้คนที่ได้มาปีนเทือกเขาเอเวอร์เรสต์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 จนถึงปัจจุบัน
511 คือ จำนวนนักปีนเขาที่ได้รับอนุญาติให้ปีนไปถึงยอดเขาในปีนี้
มากกว่า 800 คือ จำนวนนักปีนเขาที่ไปถึงยอดเขาเอเวอร์เรสต์ในปีนี้
2 เดือน คือ เวลาเฉลี่ยในการปีนเขาเอเวอร์เรสต์
น้อยกว่า 1 เดือน คือ กรอบเวลาที่สำหรับการพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสในแต่ละปี ปกติแล้วอาจเริ่มตั้งแต่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสลมไม่รุนแรงและอากาศอบอุ่น
น้อยกว่า 1 วัน คือ ระยะเวลาที่นักปีนเขาจะขึ้นไปในช่วงสุดท้ายเพื่อไปถึงยอดเขา ซึ่งเรียกว่า Death Zone บนพื้นที่ความสูง 8,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีผลให้ปอดและสมองของนักปีนเขาขาดออกซิเจนและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น
30,000-100,000 คือ ค่าใช้จ่าย (ดอลลาร์) ในภารกิจปีนเขาเอเวอร์เรสต์ โดย 11,000 ดอลลาร์เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการออกใบอนุญาตในการปีนเขา ส่วนที่เหลือจะเป็นค่าอาหาร ค่าเชอร์ปา คนท้องถิ่นที่เป็นทั้งมัคกุเทศน์และคนช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในการปีนเขาเอเวอร์เรสต์
300 ล้าน คือ รายได้ (ดอลลาร์) ที่เนปาลได้รับจากการเปิดให้ปีนเขาเอเวอร์เรสต์
5 คือ จำนวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยต่อปีในการปีนเขาเอเวอร์เรสต์
11 คือ จำนวนผู้เสียชีวิตในปีนี้จากการปีนเขาเอเวอร์เรสต์ โดย 9 คนเสียชีวิตในฝั่งประเทศเนปาล ส่วนอีก 2 คนเสียชีวิตบนเทือกเขาฝั่งธิเบต และ 4 คนในนั้นเสียชีวิตในพื้นที่ Death Zone
11 คือ ปริมาณขยะ (ตัน) ที่ทางการต้องกำจัดจากเทือกเขาเอเวอร์เรสต์