ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์ลักษณะผู้นำ ‘ปูติน’ ‘เซเลนสกี’ ‘ไบเดน’ ในวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน


(From left to right) Russian President Vladimir Putin, Ukrainian President Volodymyr Zelenskyy and U.S. President Joe Biden.
(From left to right) Russian President Vladimir Putin, Ukrainian President Volodymyr Zelenskyy and U.S. President Joe Biden.

สามผู้นำสำคัญในวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนซึ่งได้แก่ ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี และประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ได้แสดงลักษณะการใช้กลยุทธ์และความเป็นผู้นำที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนในเหตุการณ์นี้

แซมมูเอล ฮันเตอร์ อาจารย์ด้านจิตวิทยาแห่ง University of Nebraska ที่เมืองโอมาฮา อธิบายว่า ปกติแล้วความขัดแย้งมักจะเกิดขึ้นระหว่างผู้นำประเทศที่มีสไตล์การบริหารประเทศคล้ายคลึงกัน แต่ในกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั่วโลกสามารถเห็นลักษณะความเป็นผู้นำทั้งสามสไตล์ของสามบุคคลสำคัญได้อย่างชัดเจน

ปูติน: ผู้นำหัวอุดมการณ์

จิตแพทย์และนักวิเคราะห์อาวุโสที่สถานบัน George H. W. Bush Foundation เคนเนธ เดเคลวา ซึ่งเคยศึกษาอดีตผู้แทนคนของหน่วยสืบราชการลับของสหภาพโซเวียต (KGB) ชี้ว่า ปธน.ปูตินเป็นผู้นำหัวอุดมการณ์

เคนเนธ เดเคลวา กล่าวว่า “ปูตินเป็นผู้นำที่โหดเหี้ยมและเผด็จการที่ใช้ความรุนแรงมานานกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งก่อนจะเกิดการบุกรุนยูเครนขึ้น หลายคนมองว่าปูตินนั้นฉลาดและมีกลยุทธ์ดี”

FILE -- In this Sept. 2010 file photo released Oct. 30, 2010, Russian President Vladimir Putin (then the prime minister) carries a hunting rifle in Russia's Siberian Tyva region.
FILE -- In this Sept. 2010 file photo released Oct. 30, 2010, Russian President Vladimir Putin (then the prime minister) carries a hunting rifle in Russia's Siberian Tyva region.

โดยผู้นำรัสเซียได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ว่าเขามีร่างกายที่แข็งแรงและมีความเป็นชายสูง ถ่ายรูปตนเองทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ขี่ม้าโดยไม่สวมเสื้อ ตกปลา ถือปืนไรเฟิล หรือกระทั่งทุ่มร่างของศัตรูในศึกประลองศิลปะป้องกันตัว

ไมเคิล เบลก อาจารย์ด้านจิตวิทยาและนโยบายภาครัฐแห่ง University of Washington ชี้ว่า รูปแบบความเป็นผู้นำของ ปธน. รัสเซียสะท้อนให้เห็นถึงการปกครองแบบเก่าที่ผู้คนคุ้ยเคย ซึ่งปูตินจะแสดงความกำยำราวกับได้รับเลือกมาจากเบื้องบ้นเพื่อปกครอง การทำเช่นนี้นั้นเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์และยังเกี่ยวข้องกับลัทธิฟาสซิสต์อีกด้วย แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะหากพิจารณาผู้ฝักใฝ่ฟาสซิสต์คนอื่นๆ”

เซเลนสกี: ผู้นำบุคลิกน่าดึงดูด

ทางด้านประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ซึ่งกลายเป็นขวัญใจผู้คนจำนวนมากนั้น เป็นคนที่มีมาดผู้นำสูงและมีบุคลิกน่าดึงดูดความสนใจ
เขาเคยเป็นนักแสดงและดาราตลกมาก่อนได้สร้างความประหลาดใจต่อคนจำนวนมาก หลังเขาแสดงความกล้าหาญและมุ่งมั่นที่จะปกป้องประเทศตนเองเมื่อถูกรัสเซียบุกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

อาจารย์จิตวิทยาแห่ง University of Nebraska แซมมวล ฮันเตอร์ กล่าวว่าลักษณะผู้นำของเซเลนสกี “เปี่ยมไปด้วยความหวัง ความรู้สึกที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงและอนาคตที่สดใสขึ้น และพวกเขาจะทำสิ่งต่างๆเพื่อให้เป้าหมายเหล่านั้นลุล่วง ซึ่งปธน. เซเลนสกีสามารถสะกดผู้คนด้วยสารที่เขาสื่อและบุคคลิกข้างต้น”

ท่าทีข้างต้นทำให้หลายคนรู้สึกว่าประเมินผู้นำคนนี้ต่ำไปเพียงเพราะเขาไม่มีประสบการณ์การเมืองพอ เนื่องจากเคยเพียงแค่ทำอาชีพนักแสดงมาก่อนหน้า

นอกจากนี้ ไมเคิล เบลก อาจารย์ด้านจิตวิทยาและนโยบายภาครัฐ กล่าวเสริมว่า ผู้นำยูเครนได้แสดงวิถึความเป็นผู้นำในรูปแบบใหม่ โดยปธน. เซเลนสกี ไม่ได้พยายามสร้างภาพว่าเขาไม่หวาดหวั่นกับสิ่งใด แต่กลับใช้การแสดงออกความเป็นตนเองที่บางครั้งรู้สึกกลัวหรือถูกถาโถมด้วยเรื่องยากๆ โดยเฉพาะเมื่อตอนที่สหรัฐฯยื่นมือเข้าไปช่วยและอาสาจะอพยพผู้นำยูเครน

Ukrainian President Volodymyr Zelensky
Ukrainian President Volodymyr Zelensky

ปธน. เซเลนสกีได้แสดงจุดยืนที่ทำให้หลายคนจดจำเขาได้ซึ่งเข ากล่าวว่า “การต่อสู้อยู่ที่ประเทศยูเครน ผมต้องการอาวุธ ไม่ใช่ทางหนี”

ไบเดน: ผู้นำปฏิบัตินิยม

ส่วนประธานาธิบดีไบเดนของสหรัฐฯนั้น นักวิเคราะห์จาก University of Nebraska จัดว่า ไบเดนเป็นผู้นำสาย “ปฏิบัตินิยม” ซึ่งหมายถึงการเน้นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ในการรับมือกับวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เพราะผู้ลักษณะนี้ส่วนใหญ่ต่างแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและมักมีการใช้ข้อมูลและตัวเลข ซึ่งในหลายๆครั้ง ผู้นำเหล่านี้ค่อนข้างเป็นมีบุคลิกที่ “น่าเบื่อ”

ปธน.ไบเดน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนได้ส่วนเสียของสหรัฐฯในสงครามข้างต้นมากและพยายามไม่ให้สหรัฐฯได้รับความเสียหายใดๆจากความขัดแย้ง เขาจึงใช้การเจรจาและร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างเครือข่ายที่มั่นคงและใช้มาตรทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษรัสเซีย ต่างจากการใช้กำลังทหารอเมริกันอย่างชัดเจน

Russia Ukraine War Biden
Russia Ukraine War Biden

ทั้งนี้ ปธน. ไบเดนเป็นนักการเมืองมายาวนานตั้งแต่ปี 1972 โดยเริ่มจากการเป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ และได้รับเลือกในตำแหน่งเดิมถึง 6 ครั้ง จากนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯภายใต้รัฐบาลชุด ปธน.บารัค โอบามาถึง 8 ปี เขาจึงสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่เคยเกิดขึ้นมาตลอด และแม้ ปธน.ไบเดน จะมีคุณสมบัติคล้ายกับผู้นำยูเครน แต่เขามักมีโอกาสน้อยกว่าที่จะแสดงสิ่งนี้ออกมา

ทั้งนี้ ผลลัพธ์และทางออกของสงครามนั้นมักจะขึ้นอยู่กับภาวะและลักษณะความเป็นผู้นำของแต่ละคนซึ่งในกรณีของปธน. ปูติน ที่กำลังจะถูกต้อนให้จนมุม จิตแพทย์และนักวิเคราะห์อาวุโสที่สถานบัน George H. W. Bush Foundation เคนเนธ เดเคลวา แนะว่า ควรหาทางลดความขัดแย้งของสงคราม ด้วยการแสดงความเห็นใจแบบหวังผลเชิงยุทธวิธี หรือ tactical empathy

นักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าวว่า วิธีดังกล่าว อาจทำให้ผู้นำรัสเซียรู้สึกว่าเขาประสบความสำเร็จในการทำสงครามทางใดทางหนึ่ง และไม่เสียหน้า จนในที่สุดยอมถอยทัพกลับไปประเทศของตน

XS
SM
MD
LG