ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หิมาลัยระอุ! 'อินเดีย' โวย 'จีน' สร้างสะพานบนทะเลสาบเขตพิพาทชายแดน


FILE - This photograph provided by the Indian Army, according to them shows Chinese troops dismantling their bunkers at Pangong Tso region, in Ladakh along the India-China border on Monday, Feb.15, 2021.
FILE - This photograph provided by the Indian Army, according to them shows Chinese troops dismantling their bunkers at Pangong Tso region, in Ladakh along the India-China border on Monday, Feb.15, 2021.

การก่อสร้างสะพานของจีน เหนือทะเลสาบบนเทือกเขาหิมาลัย บริเวณแนวชายแดนระหว่างจีนและอินเดีย ได้สร้างความกังวลให้กับอินเดียมากขึ้น โดยเฉพาะการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางทหารของจีน ในพื้นที่ซึ่งยังมีข้อพิพาทตลอดแนวชายแดนของสองประเทศ

India China Border Bridge
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:03 0:00


การสร้างสะพานของจีนที่กำลังดำเนินอยู่ในพื้นที่ทะเลสาบปันกอง (Pangong) หรือ ทะเลสาบผางกง บนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทที่ทางการจีนและอินเดียต่างอ้างกรรมสิทธิ์ กำลังจะกลายเป็นประเด็นครั้งใหม่ของสองประเทศที่เคยกระทบกระทั่งและเผชิญหน้ากันมายาวนานในพื้นที่ชายแดนบนหลังคาโลก

นักวิเคราะห์มองว่าสะพานดังกล่าวจะช่วยให้จีนสามาระดมกำลังพลเข้าสู่พื้นที่พิพาทได้รวดเร็วมากขึ้น

หลังการเปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงการก่อสร้างสะพานของจีนเพียงไม่กี่วัน อินเดียได้แถลงจุดยืนในการจับตาอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการก่อสร้างที่เกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าว

อารินดัม บักชี (Arindam Bagchi) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย กล่าวในการแถลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า สะพานดังกล่าว กำลังก่อสร้างในพื้นที่ซึ่งจีนกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์อย่างไม่ถูกต้องในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา

"เป็นทราบกันดีว่า อินเดียไม่เคยยอมรับการอ้างกรรมสิทธิ์ที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย กล่าว

shows tourists taking selfies as cows gaze in front of the Pangong Lake in Leh
shows tourists taking selfies as cows gaze in front of the Pangong Lake in Leh

ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของจีนกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 7 ม.ค.) ว่าการก่อสร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐานพื้นที่ดังกล่าวนั้น มุ่งในการปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงในอาณาเขตของจีน รวมไปถึง สันติภาพและเสถียรภาพ ตามแนวชายแดนจีน-อินเดีย แต่ทางการจีนไม่ได้ระบุถึงการก่อสร้าง ‘สะพาน’ แห่งนี้โดยตรง

มาโนจ โจชิ (Manoj Joshi) นักวิชาการจากมูลนิธิ Observer Research Foundation ในกรุงนิวเดลี กล่าวว่า สะพานดังกล่าวจะช่วยให้กองกำลังของจีนจากฐานทัพในทิเบต เข้าถึงพื้นที่ฝั่งตอนเหนือของทะเลสาบปันกองซึ่งเป็นพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเข้าถึงทางหลวงสายสำคัญของทิเบตอีกด้วย

รายงานข่าวแจ้งว่า พื้นที่กว่า 2 ใน 3 ของทะเลสาบน้ำแข็งซึ่งตั้งอยู่สูงกว่า 4,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลบนเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้อยู่ในเขตทิเบต ส่วนที่เหลือขยายไปถึงเขตลาดักห์ ของอินเดีย ซึ่งบริเวณดังกล่าวเคยเป็นพื้นที่จุดชนวนข้อพิพาทจากทหารทั้ง 2 ประเทศมาแล้วเมื่อปีพุทธศักราช 2563 ซึ่งอินเดียกล่าวหาว่าทหารจีนรุกล้ำอาณาเขต จนเกิดการปะทะเสียชีวิตหลายสิบนายทั้งสองฝ่าย

A combination photo shows closer view of an area known as Finger 6 with deployments in place (top) and deployments removed at Pangong Tso, in this handout satellite image provided by Maxar dated January 30, 2021 and February 16, 2021 respectively.
A combination photo shows closer view of an area known as Finger 6 with deployments in place (top) and deployments removed at Pangong Tso, in this handout satellite image provided by Maxar dated January 30, 2021 and February 16, 2021 respectively.

แม้ว่าอินเดียและจีนจะถอนกำลังออกจากพื้นที่พิพาทในเขตทะเลสาบปันกองแล้วเมื่อปีก่อน แต่ก็ยังเผชิญหน้ากันอย่างใกล้ชิดตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายยังคงเสริมกำลังทหารเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องราว 50,000 นาย ขณะเดียวกันยังเกิดกรณีพิพาทตามจุดยุทธศาสตร์อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

นักวิชาการจากมูลนิธิ Observer Research Foundation กล่าวด้วยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้เริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการทหาร เช่น ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ลานบิน และถนนตลอดแนวพรมแดนที่ติดกับอินเดีย รวมทั้งทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อการพัฒนาในทิเบต และต้องการความมั่นใจในการป้องกันตลอดพรมแดนด้านนี้

ขณะที่ อินเดีย ก็พยายามเร่งโครงการสร้างถนนและสะพานเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายกำลังทหารและปืนใหญ่ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เพื่อมุ่งรับมือและเผชิญหน้ากับยุทธศาสตร์ใหม่ของปักกิ่งที่ก้าวร้าวมากขึ้น รวมไปถึงการเสริมกำลังทหารตามแนวพรมแดน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย ราชนาถ ซิงห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของอินเดีย ได้เปิดโครงการสร้างถนนและสะพานไปแล้ว 27 โครงการ ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกองกำลังทหารตามแนวชายแดนอินโด-ทิเบต ซึ่งลักษณะภูมิประเทศเป็นถนนที่ตัดผ่านพื้นที่สูง กว่า 5,800 เมตรในภาคตะวันออกของเขตลาดักห์ โดยทางการอินเดียระบุด้วยว่ายังได้เพิ่มงบประมาณด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐานทุ่มลงไปตามแนวชายแดน ด้วยการสร้างถนนและสะพานอีกจำนวนมาก

India China Standoff
India China Standoff

ทางด้าน โคลด อาร์ปี (Claude Arpi) นักวิชาการอิสระด้านทิเบต และผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์อินเดียและจีน ชี้ว่า หากเทียบกับจีนแล้ว โครงการสร้างสาธารณูปโภคของอินเดียนั้นไม่สามารถเทียบได้กับจีนได้เลย แม้ว่าจะมีความพยายามอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ตาม

เขาบอกด้วยว่า นอกจากอินเดียจะเริ่มต้นได้ช้ามากแล้ว ยังมีอุปสรรคด้านภูมิประเทศในฝั่งอินเดียที่เป็นภูเขามากกว่าดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะสร้างถนนและสะพานได้รวดเร็ว ขณะที่ในเขตทิเบตนั้นส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง

การประกาศการสร้างสะพานในเขตทะเลสาบเทือกเขาหิมาลัยนี้ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนการประชุมในระดับผู้บัญชาการทหาร ซึ่งทั้งสองประเทศนัดเจรจาเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งที่เมืองลาดักห์ ในวันที่ 12 มกราคม นี้ ขณะที่จะมีการเจรจารอบสุดท้ายอีกครั้งใน อีก 3 เดือนข้างหน้า

XS
SM
MD
LG