ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ภาคธุรกิจสหรัฐฯ เริ่มกระสับกระส่าย หลังไม่เห็นสัญญาณรื้อฟื้นการเจรจาการค้าอเมริกัน-จีน


US-China trade
US-China trade
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:45 0:00


หลังรัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ประกาศแต่งตั้ง แคทเธอรีน ไท ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เมื่อหลายเดือนก่อน ภาคธุรกิจของสหรัฐฯ แสดงความยินดีกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น ที่ถูกมองว่าเป็นสัญญาณความพร้อมของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ทางการค้าที่ร้าวฉานกับจีน แต่มาจนถึงวันนี้ หลายคนเริ่มกระสับกระส่ายและหมดความอดทนที่จะรอให้ภาครัฐลงมือทำการใดๆ แล้ว

FILE PHOTO: U.S. Senate Finance Committee conducts hearing on nomination of Katherine Tai to be U.S. Trade Representative.
FILE PHOTO: U.S. Senate Finance Committee conducts hearing on nomination of Katherine Tai to be U.S. Trade Representative.

เจค คอลวิน รองประธานด้านกิจการการค้าโลก จากสภาการค้าต่างประเทศแห่งชาติ (National Foreign Trade Council) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจในสหรัฐฯ เริ่มหงุดหงิดที่รัฐบาลยังไม่ทำการใดๆ ให้ความสัมพันธ์ด้านการค้ากับจีนกลับมาอยู่ในระดับที่ทรงตัวและปกติขึ้นเสียทีแล้ว และ “ความอดทนเชิงกลยุทธ์” ที่หลายคนพยายามทำตามหลังรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ารับหน้าที่ เพื่อรอทำเนียบขาวและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันลงมือดำเนินยุทธศาสตร์เข้าหาจีน กำลังกลายมาเป็น “ภาวะฉุนเฉียวกระฟัดกระเฟียด” เพราะไม่รู้ว่ารัฐบาลกำลังทำอะไรอยู่

คอลวิน ชี้ว่า สาเหตุที่ภาคธุรกิจเริ่มไม่พอใจรัฐบาลปธน.ไบเดนนั้น หลักๆ เป็นเพราะไม่มีใครได้เห็นโรดแมป (Roadmap) ที่จะมาช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และจีน เสียที

FILE - The YM Bamboo, a container ship operated by the China Ocean Shipping Company, is docked at the Port of Oakland in Oakland, Calif., Jan. 14, 2011.
FILE - The YM Bamboo, a container ship operated by the China Ocean Shipping Company, is docked at the Port of Oakland in Oakland, Calif., Jan. 14, 2011.

ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-จีน เฟส 1

เมื่อมองย้อนกลับไป จะเห็นว่า รัฐบาลปธน.ไบเดนนั้นเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศ หลังรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในข้อตกลงการค้าเฟส 1 กับจีนเมื่อ 1 ปีก่อน ที่ทุกฝ่ายเชื่อว่าจะช่วยลดความตึงเครียดระหว่างคู่ค้าทั้งสองได้ หลังต่างฝ่ายต่างประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าหลายรายการที่มีการซื้อขายระหว่างกัน

ภายใต้ข้อตกลงการค้าเฟส 1 นั้น ทั้งสองประเทศตกลงที่จะดำเนินการหลายๆ เกี่ยวกับการค้า ซึ่งรวมถึง การที่จีนสัญญาจะเพิ่มมูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐฯ อีก 200,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งยังไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้เกิดการล็อกดาวน์ประเทศตลอดปีที่ผ่านมา และภาวะการค้าโลกที่สะดุดหนักมาจนถึงปีนี้ ซึ่งล้วนทำให้การประเมินว่า จีนได้ทำตามสัญญาหรือไม่เป็นไปได้ค่อนข้างยาก

นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว จีนยังสัญญาที่จะยกระดับการบังคับใช้กฎหมายปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ และยกเลิกนโยบายการบังคับให้บริษัทต่างชาติต้องยอมโอนถ่ายความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับหุ้นส่วนจีนเมื่อมีการมาลงทุนในประเทศของตน รวมทั้ง การยกเลิกนโยบายกีดกันทางการค้าที่ปิดกันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและบริการทางการเงินของสหรัฐฯ ให้เข้าไปแข่งขันในตลาดจีนด้วย

โดยทั่วไปแล้ว ภาคธุรกิจสหรัฐฯ จะค่อนข้างพอใจกับเนื้อหาในข้อตกลงเฟส 1 ในฐานะจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่จะปรับจีนให้ยอมทำตามหลักปฏิบัติด้านการค้าของประเทศซีกโลกตะวันตก

แต่เมื่อต้นเดือนสิงหาคมนี้เอง สภาธุรกิจสหรัฐฯ-จีน ได้ส่งจดหมายซึ่งรวบรวมมาจากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งในประเทศ เช่น หอการค้าสหรัฐฯ องค์กร Business Roundtable และสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกแห่งชาติ (National Retail Federation) ที่มีเนื้อหาเรียกร้องให้รัฐบาลปธน.ไบเดน เร่งพยายามบังคับให้จีนทำตามเงื่อนไขในข้อตกลงการค้าเฟส 1 และผลักดันให้มีการเจรจารอบถัดไปเพื่อถกหลากประเด็นที่ยังค้างคาอยู่ เช่น การอุดหนุนจากภาครัฐ การจัดซื้อจัดจ้างโดยหน่วยงานรัฐและองค์กรรัฐวิสาหกิจ ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้าในยุคดิจิทัล และปัญหาเกี่ยวกับภาคบริการ เป็นต้น

จดหมายฉบับดังกล่าว ยังขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ กลับมาบังคับใช้มาตรการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีนำเข้าที่รัฐบาลของอดีตปธน.ทรัมป์ ประกาศใช้แต่ปล่อยให้หมดอายุไปเมื่อปีที่แล้ว เพราะบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ หลายแห่งร้องเรียนว่า อัตราภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการนำเข้าอุปกรณ์และวัสดุหลักๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจของตน ทำให้ต้นทุนสูงกว่าของคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ มาก โดยเฉพาะเมื่อส่วนประกอบสำคัญหลายชิ้นมีแค่จีนที่ผลิตได้เท่านั้น

นโยบาย กับ การเมืองในประเทศ

เดเร็ก ซิสเซอร์ส นักวิชาการอาวุโสจากสถาบัน American Enterprise Institute บอกกับ วีโอเอ ว่า แม้สหรัฐฯ น่าจะวุ่นกับสถานการณ์ในอัฟกานิสถานไปอีกสักพัก รัฐบาลของปธน.ไบเดน ควรจะเร่งวางแผนการเจรจารอบใหม่กับจีน พร้อมวางกรอบเนื้อหาและเงื่อนไขเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีนโดยเร็ว มิฉะนั้น อาจจะต้องเผชิญกับแรงกดดันจากภาคธุรกิจที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

ขณะเดียวกัน แกรี ฮัฟเบาเออร์ นักวิชาการอาวุโส จากสถาบัน Peterson Institute for International Economics ให้ความเห็นกับ วีโอเอ ด้วยว่า ตนเชื่อว่า ปัญหาการเมืองภายในของทั้งสหรัฐฯ และจีน คืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้การกลับสู่โต๊ะเจรจานั้นของทั้งสองประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย

ฮัฟเบาเออร์ กล่าวว่า “หากปธน.ไบเดน ตัดสินใจรื้อฟื้นการเจรจา(กับจีน) สมาชิกพรรครีพับลิกันที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามในสภาคองเกรสก็จะออกมากล่าวหาว่า รัฐบาลกำลังจะเอาใจจีน ซึ่งถ้าพิจารณาถึงการเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพฤศจิกายนของปีหน้า ปธน.ไบเดน ไม่น่าจะต้องการเอาประเด็นการเมืองนี้มาอุ้มไว้ให้หนักอก”

FILE PHOTO: Chinese President Xi Jinping attends a welcoming ceremony for Greek President Prokopis Pavlopoulos in Beijing
FILE PHOTO: Chinese President Xi Jinping attends a welcoming ceremony for Greek President Prokopis Pavlopoulos in Beijing

ส่วนทางจีนนั้น ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เพิ่งออกมาย้ำถึงความจำเป็นที่จะบรรลุเป้า “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ซึ่งเป็นนิยามที่หลายฝ่ายเข้าใจว่า เป็นแผนกระจายรายได้ให้เท่าเทียมกันในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจหมายถึง การลดลงของความต้องการสินค้านำเข้าฟุ่มเฟือย หลังชาวจีนที่มีฐานะดีขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มระวังการโอ้อวดความร่ำรวยกันบ้างแล้ว

นอกจากนั้น รัฐบาลจีนยังส่งสัญญาณออกมาว่า เริ่มไม่สนใจที่จะถูกดึงเข้าไปสู่กระบวนการทำธุรกิจแบบโลกตะวันตกแล้ว โดยดูได้จากกรณีที่หน่วยงานกำกับดูแลกิจการจีนเพิ่งสั่งสอบสวนธุรกิจจีนที่มีแผนนำหุ้นออกเสนอขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ในประเทศตะวันออกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึง การทำธุรกิจให้โปร่งใสมากกว่าที่รัฐบาลกรุงปักกิ่งจะยอมให้บริษัทที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตนเปิดเผยข้อมูลออกมาด้วย

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG