นักวิเคราะห์กล่าวว่การประชุมครั้งนี้เป็นมากกว่า เรื่องการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพราะจีนน่าจะต้องการใช้เวทีดังกล่าว แสดงถึงอิทธิพลของจีนในระดับนานาประเทศ
ซัวราบห์ กุปตา แห่งสถาบัน Institute for China-America Studies ที่กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า “การจัดกระประชุม BRI เป็นโชว์พลังทางการเมืองของจีน”
เขากล่าวว่าบทบาทนี้ของจีนเป็นบทสหรัฐฯ เคยเล่น ในฐานะ ผู้นำโครงการพัฒนาต่างๆ ทั่วโลก แต่ปัจจุบันอเมริกาไม่ได้สนใจเรื่องนี้เท่าในอดีต
ทางการจีนปฏิเสธเสมอมาว่า BRI ไม่ได้มีจุดประสงค์ด้านการเมืองมาเกี่ยวข้อง
รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน หวาง ยี่ กล่าวว่า โครงการหนึ่งถนนหนึ่งวงแหวนได้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่เป็นการสร้างพื้นที่ให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ
การประชุมครั้งนี้ที่เริ่มวันพฤหัสบดี น่าจะมีการเน้นย้ำถึงความร่วมมือระดับพหุภาคี และอาจมีการติงเรื่องกระแสปกป้องอุตสาหกรรมภายในของประเทศ ซึ่งถูกมองว่าเป็นความพยายามของจีนในการสร้างวาระระหว่างประเทศและสะท้อนความคิดเห็น ในทางตรงข้ามกับสหรัฐฯ
อาจารย์จี้ชุน จู จากมหาวิทยาลัย Bucknell University ที่รัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐฯ กล่าวว่า ในเมื่อสหรัฐฯกำลังสนใจนโยบาย America First ที่เน้นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่ง จีนผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำการบริหารจัดการโครงการต่างๆ ทั่วโลก และเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกด้วย
โครงการหลายแห่งภายใต้กรอบความร่วมมือ BRI ของจีนประสบความสำเร็จดี แต่ฏ็มีหลายประเทศที่ชะลอแผนงานไป เช่นใน เซียรา ลีโอน มาเลเซีย และเมียนมา เพราะเกิดปัญหาขึ้น
โจนาธาน ฮิลล์แมน ผู้อำนวยการโครงการ Reconnecting จากหน่วยงาน Center for Strategic and International Studies ที่กรุงวอชิงตันกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ที่ประเทศจีน น่าจะเกิดความพยายามกอบกู้ชื่อเสียงของ BRI หละงจากเผชิญกับปัญหาในช่วงสองปีที่ผ่านมา
สหรัฐฯ ประกาศว่าจะไม่ส่งตัวแทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุม BRI
ซัวราบห์ กุปตา จาก Institute for China-America Studies กล่าวว่าที่ผ่านมารัฐมนตรี ไมค์ พอมเพโอของสหรัฐฯ ตำหนิการปล่อยกู้ของจีนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เมื่อเขามีโอกาสเดินทางไปพบปะผู้คนทั่วโลก
รัฐมนตรีหวาง ยี่ของจีน กล่าวตอบโต้ว่า ไม่มีประเทศใดในโลกที่มีสิทธิ์ที่จะห้ามประเทศอื่นเข้าร่วมประชุมโครงการหนึ่งถนนหนึ่งวงแหวน
อาจารย์จี้ชุน จู จากมหาวิทยาลัย Bucknell ของสหรัฐฯ กล่าวว่า แทนที่รัฐบาลกรุงวอชิงตันจะทุ่มเทความพยายามสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับโครงการ BRI อเมริกาควรร่วมมือกับจีนให้โครงการนี้มีความโปร่งใสและเคารพกฎกติกามากขึ้น
ประเทศขนาดใหญ่ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่นและออสเตรเลียส่งตัวแทนระดับกลางๆ เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ที่จีน โดยไม่ส่งผู้แทนระดับสูง โดยยังคงมีความไม่สบายใจถึงความโปร่งใสของ BRI รวมถึงความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการเปิดอาสอย่างเท่าเทียมทางธุรกิจต่อประเทศภายใต้ความร่วมมือกับจีน
ซัวราบห์ กุปตา กล่าวว่ายุโรปต้องการให้จีนแสดงบทบาทหุนส่วนที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งหมายถึงการทำตามมาตรฐานสากลด้านการค้า การลงทุนและการพัฒนา
และดูเหมือนว่า อินเดียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของจีน จะไม่พยายามข้องเกี่ยวกับจีนในโครงการนี้ โดยกล่าวว่า โครงการ BRI ละเมิดอำนาจอธิปไตยของอินเดีย เพราะใช้เพื่อที่ ที่อินเดียอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกับปากีสถาน