นักวิจัยศึกษาการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจของมดไฟพันธ์หนึ่งในบราซิลที่ปรับตัวให้อยู่รอดได้ตามสภาพแวดล้อมด้วยการเกาะตัวเป็นแพเพื่อหนีน้ำท่วม โดยมดตัวใหญ่กว่าจะอยู่ที่ตรงกลางเพื่อให้มดตัวเล็กใช้ขาเข้าเกาะเกี่ยวกลายเป็นแพขนาดความกว้าง 20 เซ็นติเมตรเพื่อหนีน้ำท่วมได้
ส่วนอีกด้านหนึ่งนักวิจัยของมหาวิทยาลัย North Carolina State University ศึกษากระบวนการเลือกนางพญามดเมื่อพญามดตัวเก่าตายไป โดยมดงานซึ่งล้วนแต่เป็นตัวเมียจะต่อสู้กัน และมดที่ตัวใหญ่และแข็งแรงกว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโดเพมีนในสมอง ซึ่งกระตุ้นการทำงานของรังไข่และการขยายพันธ์
ในที่สุดแล้วนางพญามดตัวใหม่จะมีความสูงมากกว่า และมีอายุยืนยาวกว่ามดอื่นราวสามเท่าด้วย