ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รายงานการศึกษาเตือนเรื่องการลดลงของความหลากหลายทางนิเวศวิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


IUCN เปิดเผยการศึกษาล่าสุดด้านความหลายหลายทางนิเวศวิทยาในพันธุ์พืชและสัตว์น้ำจืดในเอเชียตอ.เฉียงใต้ที่เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ และการพัฒนาเป็นตัวคุกคามความอยู่รอดของปลาและความหลากหลายของพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ

การศึกษาชิ้นนี้ยาวนาน 4 ปี เปิดเผยว่าอย่างน้อย 13 เปอร์เซ็นต์ของพันธุ์สัตว์น้ำจืดในเขตที่เรียกว่า อินโดเบอร์ม่ากำลังตกอยู่ในสภาวะใกล้จะสูญพันธุ์

พื้นที่เขตอินโดเบอร์ม่า ในเอเชียตัวนออกเฉียงใต้ หมายรวมถึง ประเทศไทย พื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศพม่า ประเทศลาว กัมพูชาและเวียดนาม

บรรดานักวิทยาศาสตร์ของหน่วยงานอนุรักษ์ IUCN ถือว่า พื้นที่อินโดเบอร์ม่า เป็นพื้นที่เขตสีแดงเนื่องจากเป็นแหล่งอาศัยพันธุ์สัตว์ที่หาไม่ได้ในเขตอื่นๆของโลกและกำลังถูกคุกคาม

ทาง IUCN หน่วยงานที่ศึกษาเรื่องนี้ชี้ว่าพันธุ์สัตว์น้ำจืดในพื้นที่กำลังประสบกับการคุกคามหนักกว่าเดิมจากปริมาณน้ำในเเม่น้ำโขงที่ลดลง คุณภาพน้ำแย่ลงและเกิดมลพิษในแม่น้ำ ตลอดจนการใช้ประโชน์จากแม่น้ำมากเกินพอดี การสร้างเขื่้อนกั้นแม่น้ำ การควบคุมการปล่อยน้ำจากเขื่อนสู่พื้นที่ใต้เขื่อน ภาวะโลกร้อนและการรุกรานของพันธุ์พืชน้ำจากต่างถิ่น

โรเบิร์ต เมเธอร์ หัวหน้าสำนักงาน IUCN แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่าผลการศึกษานี้สร้างความกังวลต่อความอยู่รอดของปลาน้ำจืด หอยชนิดต่างๆ และปู ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนท้องถิ่นหลายล้านคน

คุณเมเธอร์ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอที่กรุงเทพว่าเมื่อศึกษาพันธุ์ปลา 1,200 พันธุ์แล้วฺ ทีมงานพบว่าอย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์เสี่ยงจะสูญพันธุ์ เกือบ 16 เปอร์เซ็นต์ของพันธุ์หอยทั้งหมดกำลังจะสูญพันธุ์ื์และเกือบ 34 เปอร์เซ็นต์ของปูน้ำจืดทุกสายพันธุ์รวมกันกำลังถูกคุกคาม

ในกัมพูชา ทีมสำรวจพบว่า แม้ชาวบ้านจะจับสัตว์น้ำและปลาจากทะเลสาปแห่งใหญ่ของกัมพูชาหรือ Ton Le Sap ได้เพิ่มขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัวในรอบห้าสิบปี โดยคำนวณตามน้ำหนัก จำนวนประชากรในพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น 3เท่าตัวแต่ทรัพยากรปลาในน้ำเริ่มส่อว่ากำลังลดลง

ทางหน่วยงาน IUCN ยังได้ศึกษาพื้นที่ริมแม่น้ำโขงในลาว ระยะทาง 450 กิโลเมตรด้วย และทีมงานสำรวจพบเห็นพันธุ์พืชลาว 23 ชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อนในพื้นที่

ราฟาเอล กลีเม้นท์ ตัวแทนของ IUCN ในลาว กล่าวว่า ทั้งความหลายหลายทางนิเวศวิทยาและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งอาศัยได้ลดลงอย่างมากเทียบกับผลการศึกษาที่จัดทำเมื่อ 12 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ จำนวนประชากรนกลดลง นกบางชนิดสาปสูญไปจากบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำโขงในลาว
คุณกลีเม้นท์ บอกว่า นกเป็นตัวชี้ที่ดีถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก

สำนักงาน IUCN ในลาวชี้ว่ามีความกังวลต่อแผนก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำหลายโครงการบนแม่น้ำโขงตอนล่าง เมื่อปลายปีที่แล้ว รัฐบาลลาวได้ตกลงระงับการก่อสร้างเขื่อนสายบุรี มูลค่าการก่อสร้าง 3,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อให้ืำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม แต่รายงานล่าสุดหลายชิ้นชี้ว่าการก่อสร้างเดินหน้าต่อ ลาวต้องการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายแก่ไทย

โรเบิร์ต เมเธอร์ หัวหน้าสำนักงาน IUCN แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่าหากมีการเดินหน้าสร้างเขื่อนจำนวนสิบแห่งบนแม่น้ำโขงตอนล่างตามที่วางแผนไว้ จะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อความหลากหลายทางนิเวศวิทยาและความมั่นคงของแหล่งอาหาร

ทาง IUCN เตือนว่าจำนวนพันธุ์ปลาจะถูกคุกคามจากการสร้างเขื่อนที่ลาวจะสร้าง จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจากสิบเก้าเปอร์เซ็นต์เป็นเกือบหนึ่งในสาม ทางกลุ่มอนุรักษฺ์สิ่งแวดล้อมหลายกลุ่มได้เรียกร้องให้ลาวยืนหยัดต่อคำเรียกร้องเดิมที่ให้ชลอการก่อสร้างเขื่อนสายบุรีออกไปอีก 10 ปีเพื่อให้มีการศึกษาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเสียก่อน
XS
SM
MD
LG