อินโดนีเซียกำลังเจรจากับจีนในข้อตกลงผลิตจรวดขีปนาวุธต่อต้านเรือรบรุ่น C-705 บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย ซึ่งความร่วมมือทางทหารระหว่างอินโดนีเซียกับจีนครั้งนี้มีขึ้นขณะที่ยังคงมีข้อพิพาทระหว่างจีนกับหลายประเทศในสมาคมอาเซียนเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้
แนวคิดสร้างจรวดขีปนาวุธร่วมกันระหว่างจีนกับอินโดนีเซียนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฏาคม และเริ่มมีการเจรจาอย่างเป็นรูปเป็นร่างเมื่อคราวรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน Yang Jiechi เยือนกรุงจาการ์ต้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โฆษกกระทรวง ตปท. อินโดนีเซีย Michael Tene กล่าวว่าความร่วมมือทางทหารครั้งนี้คือส่วนหนึ่งของเป้าหมายการขยายศักยภาพทางทหารของอินโดนีเซีย
ประเด็นที่น่าสนใจคือความร่วมมือครั้งนี้มีขึ้นขณะที่จีนกำลังมีความขัดแย้งกับหลายประเทศในอาเซียนในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ และดูเหมือนอาเซียนอาจกำลังแตกคอกันหลังไม่สามารถร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ระหว่างการประชุมที่กรุงพนมเปญเมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่าเวลานี้จีนกำลังอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในการผลักดันให้เกิดการเจรจาเป็นรายประเทศ แทนที่จะต้องเผชิญหน้ากับสมาคมอาเซียนทั้งกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ออกมาปฏิเสธว่า แผนการสร้างจรวดขีปนาวุธร่วมกับจีนนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
อาจารย์ Yohanes Sulaiman นักวิเคราะห์ด้านการทหารแห่ง University of Indonesia ให้ความเห็นว่า ท่าทีล่าสุดของอินโดนีเซียน่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือกทางทหารของอินโดนีเซีย เพื่อลดการพึ่งพากองทัพสหรัฐมากกว่า นักวิเคราะห์ผู้นี้ชี้ว่าหากเกิดปัญหาที่จังหวัดปาปัวอีกครั้ง สหรัฐอาจใช้มาตรการคว่ำบาตรทางทหารต่ออินโดนีเซียเหมือนที่เคยทำมาแล้วเมื่อ 13 ปีก่อนเนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน อินโดนีเซียจึงต้องพยายามเพิ่มทางเลือกด้านการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับจีน แต่สิ่งที่น่ากังวลคืออินโดนีเซียยังไม่มียุทธศาสตร์ในการตอบสนองต่อการชิงดีชิงเด่นระหว่างจีนกับสหรัฐเพื่อขยายอำนาจทางทหารในเอเชีย
ทางด้านศาสตราจารย์ Mely Caballero Anthony แห่งภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ S. Rajaratnam School of International Studies ในสิงคโปร์ระบุว่า อินโดนีเซียก็เหมือนประเทศอื่นๆในอาเซียนที่ต่างไม่ต้องการให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงอำนาจระหว่างจีนกันสหรัฐในภูมิภาคนี้ ศาสตราจารย์ Mely กล่าวว่านโยบายต่างประเทศของสมาชิกสมาคมอาเซียนนั้นคล้ายคลึงกันคือเน้นความเป็นอิสระ เป็นกลาง และไม่เลือกเข้าข้างฝ่ายใดว่าจะเป็นสหรัฐหรือจีน
อินโดนีเซียจัดสรรงบประมาณด้านการทหารเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 16,000 ล้านดอลล่าร์ระหว่างปี พ.ศ 2553 – 2557 เพื่อปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัย และได้สั่งซื้ออาวุธจากหลายประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้ รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ รวมทั้งสหรัฐ จนมาถึงล่าสุดคือการจัดทำข้อตกลงสร้างจรวดขีปนาวุธร่วมกับจีนบนเกาะชวา
แนวคิดสร้างจรวดขีปนาวุธร่วมกันระหว่างจีนกับอินโดนีเซียนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฏาคม และเริ่มมีการเจรจาอย่างเป็นรูปเป็นร่างเมื่อคราวรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน Yang Jiechi เยือนกรุงจาการ์ต้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โฆษกกระทรวง ตปท. อินโดนีเซีย Michael Tene กล่าวว่าความร่วมมือทางทหารครั้งนี้คือส่วนหนึ่งของเป้าหมายการขยายศักยภาพทางทหารของอินโดนีเซีย
ประเด็นที่น่าสนใจคือความร่วมมือครั้งนี้มีขึ้นขณะที่จีนกำลังมีความขัดแย้งกับหลายประเทศในอาเซียนในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ และดูเหมือนอาเซียนอาจกำลังแตกคอกันหลังไม่สามารถร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ระหว่างการประชุมที่กรุงพนมเปญเมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่าเวลานี้จีนกำลังอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในการผลักดันให้เกิดการเจรจาเป็นรายประเทศ แทนที่จะต้องเผชิญหน้ากับสมาคมอาเซียนทั้งกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ออกมาปฏิเสธว่า แผนการสร้างจรวดขีปนาวุธร่วมกับจีนนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
อาจารย์ Yohanes Sulaiman นักวิเคราะห์ด้านการทหารแห่ง University of Indonesia ให้ความเห็นว่า ท่าทีล่าสุดของอินโดนีเซียน่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือกทางทหารของอินโดนีเซีย เพื่อลดการพึ่งพากองทัพสหรัฐมากกว่า นักวิเคราะห์ผู้นี้ชี้ว่าหากเกิดปัญหาที่จังหวัดปาปัวอีกครั้ง สหรัฐอาจใช้มาตรการคว่ำบาตรทางทหารต่ออินโดนีเซียเหมือนที่เคยทำมาแล้วเมื่อ 13 ปีก่อนเนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน อินโดนีเซียจึงต้องพยายามเพิ่มทางเลือกด้านการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับจีน แต่สิ่งที่น่ากังวลคืออินโดนีเซียยังไม่มียุทธศาสตร์ในการตอบสนองต่อการชิงดีชิงเด่นระหว่างจีนกับสหรัฐเพื่อขยายอำนาจทางทหารในเอเชีย
ทางด้านศาสตราจารย์ Mely Caballero Anthony แห่งภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ S. Rajaratnam School of International Studies ในสิงคโปร์ระบุว่า อินโดนีเซียก็เหมือนประเทศอื่นๆในอาเซียนที่ต่างไม่ต้องการให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงอำนาจระหว่างจีนกันสหรัฐในภูมิภาคนี้ ศาสตราจารย์ Mely กล่าวว่านโยบายต่างประเทศของสมาชิกสมาคมอาเซียนนั้นคล้ายคลึงกันคือเน้นความเป็นอิสระ เป็นกลาง และไม่เลือกเข้าข้างฝ่ายใดว่าจะเป็นสหรัฐหรือจีน
อินโดนีเซียจัดสรรงบประมาณด้านการทหารเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 16,000 ล้านดอลล่าร์ระหว่างปี พ.ศ 2553 – 2557 เพื่อปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัย และได้สั่งซื้ออาวุธจากหลายประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้ รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ รวมทั้งสหรัฐ จนมาถึงล่าสุดคือการจัดทำข้อตกลงสร้างจรวดขีปนาวุธร่วมกับจีนบนเกาะชวา