ดัชนีชี้วัดความสามารถทางเชาน์ปัญญาและการบรรลุผลทางการศึกษาซึ่งจัดทำโดย สถาบัน Pearson และ The Economist Intelligence Unit หรือ EIU ระบุว่าฟินแลนด์และเกาหลีใต้คือประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลกในอันดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ โดยใช้วิธีวัดผลจากปัจจัยหลายอย่าง เช่นผลการทำข้อสอบ ระดับการอ่านออกเขียนได้ และอัตราการจบการศึกษาของประชาชนแต่ละประเทศ
Sir Michael Barber หัวหน้าที่ปรึกษาด้านการศึกษาของ Pearson ชี้ว่า ฟินแลนด์และเกาหลีใต้มีระบบการศึกษาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยนักเรียนในฟินแลนด์นั้นมีชั่วโมงเรียนสั้นในแต่ละวัน การบ้านน้อย แต่ให้ความสำคัญกับความเข้าใจของเด็ก และเน้นให้เด็กรู้จักปรับใช้ความรู้ที่มีอยู่มากกว่า ขณะที่เกาหลีใต้เน้นการทำข้อสอบ การท่องจำ มีระเบียบวินัย ชั่วโมงเรียนยาวนาน และอาจมีการเรียนพิเศษเพิ่มเติม
รายงานไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าระบบการเรียนแบบไหนดีกว่ากัน แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือประเทศที่อยู่ในอันดับต้นๆนั้น ดูเหมือนคุณครูจะมีฐานะทางสังคมดีกว่า และค่อนข้างให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมทางการศึกษาอย่างชัดเจนโดยเฉพาะประเทศทางเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับ 3-4-5 ตามลำดับ
เป้าหมายของการจัดอันดับในรายงานชิ้นนี้คือการช่วยให้ผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาได้รับรู้ถึงปัจจัยสำคัญต่างๆที่มีผลต่อคุณภาพและความสำเร็จทางการศึกษา โดยรายงานได้พบประเด็นสำคัญต่อการศึกษา 5 ประการด้วยกัน
สำหรับอันดับประเทศที่น่าสนใจจากการจัดอันดับของ Pearson และ EIU ครั้งนี้ นอกจาก 5 อันดับแรกที่กล่าวมาแล้ว อีก 5 ประเทศใน Top Ten คือ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และแคนาดา ส่วนออสเตรเลียอยู่อันดับ 13 เยอรมนี 14 สหรัฐอยู่อันดับ 17 รัสเซีย 20 จีนและอินเดียอยู่ที่อันดับ 25 เท่ากัน ส่วนไทยอยู่ที่อันดับ 37 สูงกว่าบราซิลและอินโดนีเซียซึ่งอยู่ที่ 39 และ 40 จากการจัดอันดับการศึกษาของ 40 ประเทศทั่วโลก
Sir Michael Barber หัวหน้าที่ปรึกษาด้านการศึกษาของ Pearson ชี้ว่า ฟินแลนด์และเกาหลีใต้มีระบบการศึกษาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยนักเรียนในฟินแลนด์นั้นมีชั่วโมงเรียนสั้นในแต่ละวัน การบ้านน้อย แต่ให้ความสำคัญกับความเข้าใจของเด็ก และเน้นให้เด็กรู้จักปรับใช้ความรู้ที่มีอยู่มากกว่า ขณะที่เกาหลีใต้เน้นการทำข้อสอบ การท่องจำ มีระเบียบวินัย ชั่วโมงเรียนยาวนาน และอาจมีการเรียนพิเศษเพิ่มเติม
รายงานไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าระบบการเรียนแบบไหนดีกว่ากัน แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือประเทศที่อยู่ในอันดับต้นๆนั้น ดูเหมือนคุณครูจะมีฐานะทางสังคมดีกว่า และค่อนข้างให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมทางการศึกษาอย่างชัดเจนโดยเฉพาะประเทศทางเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับ 3-4-5 ตามลำดับ
เป้าหมายของการจัดอันดับในรายงานชิ้นนี้คือการช่วยให้ผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาได้รับรู้ถึงปัจจัยสำคัญต่างๆที่มีผลต่อคุณภาพและความสำเร็จทางการศึกษา โดยรายงานได้พบประเด็นสำคัญต่อการศึกษา 5 ประการด้วยกัน
- เงินทุนไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดของการมีระบบการศึกษาที่ดี และการที่ครูอาจารย์มีเงินเดือนสูงก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสามารถทางการสอนสูงตามไปด้วย
- ครูต้องได้รับการปฏิบัติในสังคมในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพระดับสูง ไม่ใช่แค่ส่วนหนึ่งของเครื่องจักรทางการศึกษา
- การสร้างวัฒนธรรมที่ดีด้วยการให้คุณค่ากับการศึกษา
- ผู้ปกครองควรเข้ามามีส่วนร่วมกับระบบการศึกษาในทุกระดับให้มากที่สุด
- การวางรากฐานการศึกษานั้นต้องคิดเผื่ออนาคต ไม่ใช่ทำเพื่อแค่ในปัจจุบัน เช่นวิชาความรู้ด้านไหนที่จำเป็นต่อเด็กในอนาคตมากกว่ากัน
สำหรับอันดับประเทศที่น่าสนใจจากการจัดอันดับของ Pearson และ EIU ครั้งนี้ นอกจาก 5 อันดับแรกที่กล่าวมาแล้ว อีก 5 ประเทศใน Top Ten คือ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และแคนาดา ส่วนออสเตรเลียอยู่อันดับ 13 เยอรมนี 14 สหรัฐอยู่อันดับ 17 รัสเซีย 20 จีนและอินเดียอยู่ที่อันดับ 25 เท่ากัน ส่วนไทยอยู่ที่อันดับ 37 สูงกว่าบราซิลและอินโดนีเซียซึ่งอยู่ที่ 39 และ 40 จากการจัดอันดับการศึกษาของ 40 ประเทศทั่วโลก